วิทยาศาสตร์น่ารู้: เสือและสิงโตข้ามสายพันธุ์

วิทยาศาสตร์น่ารู้: เสือและสิงโตข้ามสายพันธุ์

วิทยาศาสตร์น่ารู้: เสือและสิงโตข้ามสายพันธุ์

ในขณะที่ประชากรเสือและสิงโตในธรรมชาติลดลง จำนวนของพวกมันในกรงเลี้ยงกลับเพิ่มขึ้น

สวนสัตว์หลายแห่งพยายามอย่างมากที่จะสร้างบรรยากาศในกรงเลี้ยงให้เสือและสิงโตรู้สึกเป็นธรรมชาติมากที่สุด บางครั้งผู้เลี้ยงเสือและสิงโตก็ทดลองผสมข้ามชนิดพันธุ์ในแบบที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติผลที่ได้ก็คือ ลูกผสมที่ไม่มีในธรรมชาติจริงๆ

เสือลูกผสมที่รู้จักกันดีคือ ลูกที่เกิดจากเสือโคร่งและสิงโต ในธรรมชาติ เสือโคร่งและสิงโตจะไม่จับคู่ผสมพันธุ์กัน ยีนที่เข้ากันไม่ได้ของลูกผสมมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น หูหนวก ตาบอด และปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมนักวิทยาศาสตร์จึงคิดว่า การจับคู่ข้ามสายพันธุ์ไม่ใช่ความคิดที่ดี

 

ไลเกอร์ (สิงโตตัวผู้ กับ เสือโคร่งตัวเมีย)

ทายาทขนาดใหญ่ยักษ์ตัวนี้ได้ลายมาจากแม่ ได้แผงขนหนาๆ มาจากพ่อ และมีแนวโน้มจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่เกิน ไลเกอร์ตัวเดียวอาจมีน้ำหนักได้มากพอๆ กับสิงโตและเสือโคร่งรวมกัน สถิติโลกของไลเกร์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นของไลเกอร์ที่มีชื่อว่า เฮอคิวลีส มันมีความยาวถึง 3.6 เมตร และหนักถึง 408 กิโลกรัม แมวขนาดมหึมานี้ดูน่าอัศจรรย์ แต่ขนาดใหญ่โตของมันก็มาพร้อมกับปัญหาสุขภาพ และมักจะอายุสั้น

ไทกอน (สือโคร่งเพศผู้ กับ สิงโตเพศเมีย)

การข้ามสายพันธุ์แบบนี้ให้ลูกที่มีขนาดตามเกณฑ์เฉลี่ย มีลาย และเพศผู้มีแผงขนสั้นๆ โดยปกติไทกอนมีขนาดพ่อๆ กับพ่อแม่ของมัน การผสมลักษณนี้พบไม่บ่อยเท่าไลเกอร์ (อาจเป็นเพราะมันไม่สามารถเจริญได้จนเต็มวัย) และโชคร้ายที่ไทกอนมีปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกับที่พบในไลเกอร์

ข้ามสายพันธุ์

ส่งสัญญาณ

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เสือโคร่งและสิงโตในธรรมไม่ผสมพันธุ์กัน เพราะมันมีสัญญาณการจับคู่ที่ต่างกัน เสือโคร่งชอบปลีกวิเวก ใช้เวลาเกือบทั้งหมดหลีกเลี่ยงที่จะพบกับตัวอื่นๆ และอยู่แต่ในถิ่นของตัวเอง มันจะส่งสัญญาณบอกว่าพร้อมผสมพันธุ์ด้วยการพ่นปัสสาวะไปทั่วอาณาเขตของมัน ส่วนสิงโตนั้นต่างออกไป พวกมันเป็นพวกชอบสังคมในโลกของแมว สิงโตเพศเมียอาจจะใช้อุ้งตีนเขี่ขากรรไกรของเพศผู้ที่หมายตา หรือถูหัวของมันกับหัวของอีกฝ่าย

ดูหน้าตาของไลเกอร์และไทกอนแบบชัดๆ ได้ ที่นี่

 

อ่านเพิ่มเติม

วิทยาศาสตร์น่ารู้: เสือในตระกูลแมวใหญ่

Recommend