เมืองไทยในอดีต: “ดินแดนเสรีชนแห่งเอเชีย”

เมืองไทยในอดีต: “ดินแดนเสรีชนแห่งเอเชีย”

เมืองไทยในอดีต
เลือดนักสู้แดนสยาม: เส้นเชือกที่ทำจากฝ้ายใช้รัดมือและต้นแขนทำหน้าที่คล้ายนวม ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้กำปั้น ศอก และเท้า โจมตีส่วนต่างๆ ของร่างกายคู่ต่อสู้ ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น พิธีไหว้ครูนับว่าน่าดูชม ทว่าการแข่งขันชกมวยส่วนใหญ่ในตอนนี้ประยุกต์ใช้กฎเกณฑ์แบบทางตะวันตก

“ในฐานะเมืองหลวง กรุงเทพฯ ไม่ใช่เมืองเก่า หากมีอายุมากกว่ากรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพียงไม่กี่ปี สะพานพระรามหนึ่ง [สะพานพุทธยอดฟ้า] ที่เพิ่งสร้างใหม่ทอดยาวตัดกับฉากหลังที่เป็นวัดวาอารามสีสันสดใสและร้านรวง ริมแม่น้ำ สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำ และเฉลิมฉลองการสถาปนาเมืองหลวงแห่งนี้ครบ 150 ปี…. ตลอดระยะเวลาดังกล่าว กรุงเทพฯ ผ่านร้อนผ่านหนาวและความเปลี่ยนแปลงมากมาย ปัจจุบันมีประชากรราว 550,000 อาศัยอยู่ที่นี่”

เมืองไทยในอดีต
พระยาแรกนากับข้าบริพาร: “ชาวสยามเฉลิมฉลองฤดูปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวด้วยพิธีกรรมอันเก่าแก่ ซึ่งกษัตริย์มักเสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธี เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอย่างที่เห็นในภาพ คนตรงกลางคือพระยาแรกนา”

“จีนเต็มบ้าน แขกเต็มเมือง: “ผมรู้สึกทึ่งที่เห็นร้านรวงของชาวจีนอยู่ทั่วไป และชาวจีนก็พบเห็นได้ทั่วทุกหนแห่งในกรุงเทพฯ ผมไปเยือนย่านไชน่าทาวน์ และถิ่นฐานของชาวอินเดียที่แวดล้อมไปด้วยร้านรวงขายสินค้าจำพวกผ้า อัญมณี และของที่ระลึก…. หลังจากรู้จักคุ้นเคยกับสยามนานพอ  ผมก็พอรู้เหตุผลของการที่พบเห็นคนต่างชาติเหล่านี้ ตลอดหลายร้อยปี ชาวสยามไม่ค่อยสนใจทำมาค้าขาย และปล่อยให้กิจการเหล่านี้อยู่ในมือของคนต่างชาติ ชาวสยามมากกว่าร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร และส่วนใหญ่ของที่เหลือก็มักเกี่ยวข้องไม่ทางตรงก็ทางอ้อมกับงานราชการ มีเพียงร้อยละสองที่ทำงานในแวดวงอุตสาหกรรม”

เมืองไทยในอดีต
แผงขายผลไม้ในกรุงเทพฯ กับผลไม้แปลกตา: “ทุเรียนผลใหญ่มีหนามแหลม รสชาติหวานมัน แต่กลิ่นฉุน ชาวสยามขนานนามให้ว่า ‘ราชาแห่งผลไม้’ ส่วนมังคุดหรือ ‘ราชินีแห่งผลไม้’ มีเปลือกสีม่วงและเนื้อในสีขาวรสชาติหวานอร่อย ส่วนผลไม้สีแดงมีขนนั้นคือเงาะ ส่วนที่อยู่ข้างๆคือสละ ด้านบนทางขวาคือหมาก”

 


เมืองไทยในอดีต : ไพร่ฟ้าสามัญชน


 

เมืองไทยในอดีต
แม่หญิงลาวระหว่างทางไปกาดเช้าที่เชียงราย: “ขณะที่พวกผู้ชายทำงานในท้องไร่ท้องนา ผู้หญิงชาวสยามดูแลงานบ้านและจับจ่ายข้าวของ ผู้ชายกลุ่มเดียวที่มักพบเห็นตามตลาดคือ พ่อค้าชาวจีนขายผักปลาและพ่อค้าอินเดียขายผ้า ผู้หญิงชาวบ้านมากมายเดินเท้าวันละหลายกิโลจากหมู่บ้านเพื่อหาบของไปขายที่ตลาด”

 

Recommend