ประเทศต่างๆ อยู่ตรงไหนบน ทวีปแพนเจีย ?

ประเทศต่างๆ อยู่ตรงไหนบน ทวีปแพนเจีย ?

ประเทศต่างๆ อยู่ตรงไหนบน ทวีปแพนเจีย ?

ดูเหมือนว่าการเดินทางในโลกเมื่อ 300 ล้านปีก่อนอาจจะทำได้ง่ายดายกว่าปัจจุบันเนื่องจากแผ่นดินทั้งหมดเชื่อมต่อกันเป็นผืนเดียว และไม่มีมหาสมุทรขวางกั้น เราเรียกผืนทวีปขนาดมหึมานี้ว่า “มหาทวีปแพนเจีย” (Pangaea) เกิดขึ้นเมื่อราว 335 ล้านปีที่แล้วก่อนที่จะเริ่มแยกตัวออกจากกันเป็นทวีปต่างๆ

คำว่าแพนเจียนี้ถูกตั้งขึ้นโดย อัลเฟรด เวเจเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมนีผู้ค้นพบทฤษฎีการเคลื่อนไหวของแผ่นทวีปที่ระบุว่าในอดีตนั้นทวีปต่างๆ ที่เราเห็นในปัจจุบันเคยเชื่อมต่อกันเป็นแผ่นทวีปก่อนจะแตกกระจายตามการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกและกลายมาเป็นหน้าตาของทวีปดังที่เราคุ้นเคยกัน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และใช้เวลาหลายร้อยล้านปี ทฤษฎีของเขาได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานอื่นๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นซากฟอสซิลของสัตว์โบราณชนิดเดียวกันที่พบทั้งในแคนาดาและในออสเตรเลีย รวมไปถึงแอนตาร์กติกาและอินเดียซึ่งอยู่ห่างกันคนละมุมโลก

แผนที่ของประเทศต่างๆ บนทวีปแพนเจียนี้ถูกสร้างขึ้นโดย Massimo Pietrobon นักเขียนแผนที่มือสมัครเล่น โดยเขาตั้งชื่อผลงานชิ้นนี้ว่า “Pangea Politico” เพื่อแสดงให้เห็นว่าโลกของเราจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร หากมหาทวีปแพนเจียไม่ได้แยกตัวออกจากกัน แม้ว่าขนาดของประเทศต่างๆ จะไม่ตรงตามสัดส่วนของแผนที่ในปัจจุบันก็ตาม แต่ผลงานชิ้นนี้นับว่าน่าสนใจและให้ความรู้สึกแปลกใหม่อย่างมากเมื่อเขตแดนที่เราคุ้นเคยเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

ทวีปแพนเจีย
“Pangea Politico” ผลงานโดย Massimo Pietrobon นักเขียนแผนที่มือสมัครเล่นที่ทดลองนำเอาประเทศต่างๆ ในปัจจุบันมาวางลงบนมหาทวีปแพนเจีย

“สหรัฐอเมริกาหันหน้าเข้าหากลุ่มประเทศอาหรับ ในขณะที่ตอนใต้ติดกับคิวบาและโคลอมเบีย แม้ยุโรปจะไม่เปลี่ยนมากนักแต่ก็ใกล้ชิดแอฟริกามากๆ จนแทบจะปั่นจักรยานไปได้ เช่นเดียวกับชาวแอฟริกาที่แทบจะนั่งรถบัสเข้าอเมริกาได้เลย เกาหลีใต้อยู่จุดหนาวสุด ส่วนอินเดียกับแอนตาร์กติกามีสภาพอากาศเหมือนกัน” Pietrobon กล่าวถึงผลงานของเขา ซึ่งสะท้อนความจริงที่ว่าเขตแดนนั้นไม่เคยมีอยู่จริง

(ชม “Pangea Politico” แบบ interactive ได้ ที่นี่ )

เราได้เห็นอดีตของโลกกันไปแล้ว ทว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร? ทุกวันนี้แผ่นเปลือกโลกเองก็กำลังเคลื่อนที่อย่างช้าๆ ซึ่งทวีปแอฟริกาและยุโรปเองกำลังเคลื่อนเข้าหากันเรื่อยๆ ออสเตรเลียเองก็เช่นกัน ในอีกร้อยล้านปีมันจะชนเข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมกันเป็นเนื้อเดียว และนี่คือทฤษฎีที่บรรดานักวิทยาศาสตร์คาดการณ์หน้าตาของแผ่นทวีปบนโลกในอีก 250 ล้านปีเอาไว้ ดูเหมือนว่าความหวังของ Pietrobon เองจะได้ผล เพราะทวีปทั้งหลายกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ในแบบมหาทวีปแพนเจีย

 

อ่านเพิ่มเติม

ภาวะโลกร้อน จะเปลี่ยนโฉมหน้าโลกเราไปอย่างไร?

 

 

แหล่งข้อมูล

Map of Pangea reveals which countries shared borders 300 million years ago

Map Showing Where Today’s Countries Would Be Located on Pangea

Interactive Pangaea Map With Modern International Borders

WATCH: HOW EARTH WILL LOOK IN 250 MILLION YEARS

Recommend