เมืองไทยในอดีต : สารคดีเกี่ยวกับเมืองไทยเรื่องแรกในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก

เมืองไทยในอดีต : สารคดีเกี่ยวกับเมืองไทยเรื่องแรกในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก

เมืองไทยในอดีต : สารคดีเกี่ยวกับเมืองไทยเรื่องแรกในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก

นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1888 จะมีอายุครบ 130 ปีในปีนี้  เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก   ตีพิมพ์สารคดีและภาพถ่ายเกี่ยวกับเมืองไทยเป็นครั้งแรกในฉบับเดือนธันวาคม ปี 1906 (พ.ศ. 2449) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สารคดีเรื่องนั้นมีชื่อว่า “The Greatest Hunt in the World” ซึ่งเราขออนุญาตแปลเป็นไทยว่า “การคล้องช้างอันยิ่งใหญ่” ถ่ายทอดเรื่องราวน่าสนใจและภาพถ่ายหาดูยากเกี่ยวกับการคล้องช้างครั้งสำคัญในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เหตุการณ์เกิดขึ้น ณ เพนียดหลวง พระนครศรีอยุธยา ผลงานชิ้นนี้เป็นฝีมือของนักเขียนและช่างภาพหญิงในตำนานนามว่า เอไลซา ซิดมอร์ (Eliza Scidmore)

ไปชมภาพถ่ายประวัติศาสตร์ “เมืองไทยในอดีต” เมื่อ 112 ปีก่อนกันได้เลย

เมืองไทยในอดีต
หน้าปกนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนธันวาคม ปี 1906
เมืองไทยในอดีต
ช้างต่อต้อนโขลงช้างข้ามน้ำไปยังเพนียดหลวง ที่เห็นอยู่ลิบๆ ในภาพ คือชาวบ้านที่ลอยเรือดูช้าง
เมืองไทยในอดีต
โขลงช้างป่าขณะเดินเข้าสู่เพนียดหลวง
เมืองไทยในอดีต
ลูกช้างป่าเดินผ่านเสาโตงเตงเข้าเพนียด
เมืองไทยในอดีต
ช้างต่อเข้าช่วยพยุงช้างป่าที่เบียดเสียดกันจนล้มลง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งระหว่างการคล้องช้างในเพนียด

Recommend