ธรรมชาติกลางความขัดแย้งของสองเกาหลี

ธรรมชาติกลางความขัดแย้งของสองเกาหลี

ธรรมชาติกลาง ความขัดแย้งของเกาหลี

ข้อตกลงสงบศึกสงครามในปี 1953 ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้หาได้ยุติความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ทุกวันนี้แม้ทั้งสองประเทศจะไม่ได้ยิงสู้รบกัน แต่พลทหารจากทั้งสองกองทัพยังคงเผชิญหน้าตรึงกำลังกันอยู่ในเขตปลอดทหาร หรือดีเอ็มซี ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดเส้นสมมุติที่แบ่งอาณาเขตของทั้งสองประเทศขึ้นตรงกลางระหว่างเขตกันชน และใครก็ตามที่ข้ามเขตนี้ไปโดยไม่ได้รับอนุญาตสามารถถูกยิงได้ทุกเมื่อ

ระยะเวลากว่า 60 ปีของความขัดแย้งได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ทุกวันนี้ผืนป่าขนาด 2,500 กิโลเมตรได้รับการอนุรักษ์ไว้บนประเทศหนึ่งที่มีการตั้งถิ่นฐานหนาแน่นที่สุด พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่นี้ยังคงห้ามคนทั่วไปเข้า แต่หากนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมความงดงามของธรรมชาติสามารถทำเรื่องขอนุญาตเข้าชมได้

มาชมภาพของธรรมชาติที่ได้รับการปกป้องอย่างไม่ตั้งใจจากความขัดแย้งของมนุษย์กัน

ภาพถ่ายโดย Jong Woo Park

ความขัดแย้ง
Jong Woo Park เริ่มต้นบันทึกสารคดีเกี่ยวกับเขตดีเอ็มซีตั้งแต่ปี 2009 โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานจากกระทรวงกลาโหมเกาหลี ตัวเขาเป็นบุคคลทั่วไปคนแรกที่มีโอกาสได้เข้าไปยังเขตดีเอ็มซี นับตั้งแต่เกิดข้อตกลงในปี 1953
ความขัดแย้ง
ฝูงนกกระเรียนมงกุฎแดงบินผ่านไร่นาในจังหวัดคังวอน ทางตอนใต้ของเขตดีเอ็มซี ภายในเขตควบคุมพลเรือนหรือ CCZ เขตกันขนของฝั่งเกาหลีใต้ซึ่งกำหนดกิจกรรมที่พลเรือนทำได้ต่อปีเช่น การทำนาข้าวเป็นต้น รายงานจากมูลนิธินกกระเรียนสากลทุกวันนี้ภายในป่าเหลือนกกระเรียนสายพันธุ์ดังกล่าวไม่ถึง 2,000 ตัว
ความขัดแย้ง
นกกระเต็นหัวดำ (Halcyon pileata) เกาะอยู่บนรั้วลวดหนามทางตอนใต้ของเขตดีเอ็มซี
ความขัดแย้ง
บรรยากาศของเขตดีเอ็มซีฝั่งเกาหลีใต้ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งปกติแล้วหิมะจะตกลงมาหนามากกว่า 1 เมตรในทุกๆ ปี
ความขัดแย้ง
ในพื้นที่ของเขตดีเอ็มซีฝั่งเกาหลีใต้ยังคงพบทุ่นระเบิดถูกฝังอยู่ สถานที่แห่งนี้เป็นที่พำนักของนกกระเรียนมงกุฎแดงที่อพยพหนีความหนาวจากไซบีเรียมาทุกเดือนพฤศจิกายน
ความขัดแย้ง
แนวธรรมชาติยาว 210 เมตรในภาพนี้คือพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งแรกของเกาหลีที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการโดย Ramsar Convention of Wetlands
ความขัดแย้ง
กวางผาเหล่านี้อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นทิวเขา ตั้งแต่ภาคตะวันออกของรัสเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ไปจนถึงเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ พวกมันเป็นสัตว์ที่มีสถานะเสี่ยงสูญพันธุ์ จากการจัดอันดับโดย IUCN
ความขัดแย้ง
แร้งดำหิมาลัยบินมาจากมองโกเลียในช่วงฤดูหนาว เพื่อพำนักในบริเวณคาบสมุทรเกาหลี บรรดาร้านอาหาร, ร้านขายเนื้อและฟาร์มปศุสัตว์ในเมืองที่ใกล้กับเขตดีเอ็มซีรู้ดีว่าพวกเขาต้องทิ้งซากสัตว์เอาไว้ให้นกเหล่านี้ ปัจจุบันพวกมันมีสถานะถูกคุกคาม ประมาณกันว่าในทวีปยุโรปและเอเชียมีแร้งดำหิมาลัยตามถิ่นอาศัยธรรมชาติราว 10,000 คู่
ความขัดแย้ง
ฝนในฤดูร้อนส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในเขตดีเอ็มซี น้ำเหล่านี้จะระบายลงสู่แม่น้ำ Bukhan และไปสู่ทะเลเหลืองในที่สุด
ความขัดแย้ง
บรรยากาศยามค่ำคืนของพรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ แสงไฟสว่างตลอดแนวรั้วความยาว 248 กิโลเมตร จากตะวันตกของเขตดีเอ็มซีไปจนสุดตะวันออก

 

อ่านเพิ่มเติม

10 เรื่องน่ารู้ความสัมพันธ์เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้

Recommend