วิวัฒนาการกระดูกมนุษย์อาจเกี่ยวข้องกับอาการปวดข้อเข่า

วิวัฒนาการกระดูกมนุษย์อาจเกี่ยวข้องกับอาการปวดข้อเข่า

วิวัฒนาการกระดูกมนุษย์ อาจเกี่ยวข้องกับอาการปวดข้อเข่า

ผลวิจัยระบุ วิวัฒนาการกระดูกมนุษย์ ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบันอาจเกี่ยวกับปัญหาข้อต่อหรือปวดข้อเข่า ข้อมูลการวิจัยเปิดเผยว่า กระดูกมีการเปลี่ยนรูปร่างจากลักษณะของบรรพบุรุษที่แต่เดิมเคยรองรับน้ำหนักแบบเดินสี่ขามาเป็นลักษณะที่รองรับการเดินตัวตรงด้วยสองขา โดยผลวิจัยนี้ได้มีการเปิดเผยโดยคณะนักวิจัยด้านแพทยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด

ในการวิจัย นักวิทยาศาสตร์นำกระดูกของสัตว์ 300 ชนิดพันธุ์ อายุราว 400 ล้านปีก่อน จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงลอนดอนและสถาบันสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตันมาตรวจสอบผ่านเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเปรียบเทียบถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวกระดูกแต่ละชิ้นในระยะเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา

(ยีนจากนีแอนเดอร์ทัลส่งผลถึงสุขภาพเรา )

(เทคโนโลยี 3D สแกนและพิมพ์สามมิติสร้างกล้ามเนื้อบนใบหน้าขึ้นมาจากรูปทรงของกระโหลกศีรษะของชาวบรรพบุรุษชาวอังกฤษ)

มากไปกว่านั้น พวกเขานำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับกระดูกของมนุษย์ พบว่าการเปลี่ยนแปลงมีความคล้ายคลึงกัน และยังพบว่าลักษณะของกระดูกมีแนวโน้มว่าจะส่งผลให้มีปัญหาปวดข้อต่อหรือเป็นโรคข้ออักเสบ และอาจก่อให้เกิดปัญหาที่ใกล้เคียง เช่น อาการปวดไหล่หรือปวดที่ข้อเข่าด้านหน้า และสะโพก นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างที่ถูกยกขึ้นมาโดยหัวหน้าทีมวิจัย ดร. พอล มังค์ ระบุว่าความเปลี่ยนแปลงของกระดูกต้นขามนุษย์ส่วนที่เรียกว่า “คอกระดูก” จะหนาตัวขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ในยุคบรรพบุรุษ นั่นเป็นเพราะว่า วิวัฒนาการของมนุษย์ยุคใหม่จะเริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ โดยที่มีการเหยียดตัวขึ้นตั้งตรงและเดินสองขา

(มนุษย์จะเป็นอย่างไรในอนาคต)

ซึ่งกระดูกส่วนนี้จำเป็นต้องวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักของร่างกายช่วงบนให้ได้มากขึ้น แต่ทว่าสิ่งที่ตามมาหลังการวิวัฒนาการกระดูกให้มีขนาดใหญ่ขึ้นนั้น อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้ออักเสบมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ นอกจากคอกระดูกแล้วยังมีอีกหนึ่งตัวอย่าง คือการที่ช่องว่างในกระดูกหัวไหล่ของคนเรามีวิวัฒนาการตีบแคบลง จึงส่งผลให้เส้นเอ็นและเส้นเลือดในบริเวณช่องว่างดังกล่าวเกิดการกดทับขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่ทำให้ต้องยกแขนขึ้นสูงเพื่อเอื้อมหยิบของ อาจส่งผลให้เกิดอาการป่วยข้ออักเสบเพิ่มมากขึ้นได้ในอีกหลายปีข้างหน้า

วิวัฒนาการกระดูกมนุษย์
(ภาพซ้าย) ฟอสซิลกระดูกเท้าอายุ 3.32 ล้านปี ของโฮมินินสายพันธุ์ออสตาโลพิเทคัส อาฟฟาเรนซีส แสดงให้เห็นถึงลักษณะของข้อต่อกระดูกเท้าที่โดดเด่นในวัยเด็ก ส่วนภาพขวาคือการเปรียบเทียบฟอสซิลกระดูกเท้าระหว่างออสตาโลพิเทคัส อาฟฟาเรนซีสวัยเด็ก และวัยผู้ใหญ่
ภาพถ่ายโดย Jeremy Desilva และ Cody Prang

(กระดูกนิ้วเท้า และกระดูกท่อนแขนบ่งบอกว่าบรรพบุรุษมนุษย์เป็นนักปีนป่ายที่แข็งแรง)

แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางแก้ปัญหา หรือลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ผู้วิจัยชี้ว่าการทำกายภาพบำบัด หรือการรักษาท่าทางในอิริยาบถต่างๆ ให้ถูกต้องจะสามารถช่วยลดปัญหานี้ได้

 

 

อ่านเพิ่มเติม

ชาวบาจาววิวัฒน์ร่างกายให้มีม้ามใหญ่ ช่วยดำน้ำนานขึ้น

Recommend