วิทยาศาสตร์น่ารู้: วัฏจักรน้ำ

วิทยาศาสตร์น่ารู้: วัฏจักรน้ำ

วิทยาศาสตร์น่ารู้: วัฏจักรน้ำ

วัฏจักรน้ำ (Water Cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพการดำรงอยู่ของน้ำตามสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยน ทั้งในสิ่งมีชีวิต อากาศ ดิน และหิน จากระบบหนึ่งไปสู่ระบบหนึ่งหมุนเวียนเป็นวัฏจักร ประกอบด้วย

  1. การระเหย (evaporation)

เมื่อได้รับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์น้ำในแหล่งน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร รวมถึงการคายน้ำของพืช จะกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ไอน้ำที่อยู่ในชั้นบรรยากาศเรียกว่า  Atmospheric moisture

  1. การควบแน่น (condensation)

คือการรวมตัวของไอน้ำในชั้นบรรยากาศ และเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวในรูปของ “เมฆ” เมื่อได้รับความเย็น

  1. การเกิดฝนตก (precipitation)

เมื่อไอน้ำในบรรยากาศสะสมรวมตัวกันมากขึ้นจนถึง “จุดอิ่มตัว” จะเกิดการ “กลั่นตัว” และ”ควบแน่น” เป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลกในหลายรูปแบบ ได้แก่ น้ำฝน น้ำค้าง ลูกเห็บ และหิมะ

  1. การรวมตัวของน้ำ (collection)

หมายถึง การที่ปริมาณน้ำไหลรวมกันสู่แหล่งน้ำต่างๆ  เช่น แม่น้ำ ทะเล หรือมหาสมุทร และแหล่งอุปโภคและบริโภคของสิ่งมีชีวิต น้ำฝนที่ตกลงมาจากชั้นบรรยากาศ ส่วนมากจะไหลรวมกันเป็นแหล่งน้ำผิวดิน และไหลลงสู่แม่น้ำไปสิ้นสุดที่มหาสมุทร ซึ่งเรียกน้ำที่ไหลบนผิวดินนี้ว่า “น้ำท่า” แต่บางส่วนจะถูกกักเก็บไว้ในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ บ่อดิน เพื่อการอุปโภค-บริโภค บางส่วนจะถูกพืชดูดซึมไว้ในลำต้นเพื่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ น้ำฝนที่ตกลงสู่ผิวโลกบางส่วน จะซึมลงสู่พื้นดินกลายเป็นน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ก่อนไหลซึมผ่านชั้นดินและหิน แล้วไหลกลับลงสู่แม่น้ำ

 

ที่มา: หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยายาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพ, 2560

 

อ่านเพิ่มเติม

http://www.ngthai.com/science/6846/water-density/

Recommend