ฤๅดาวเคราะห์น้อยจะเป็นจุดกำเนิดของชีวิต?

ฤๅดาวเคราะห์น้อยจะเป็นจุดกำเนิดของชีวิต?

ฤๅ ดาวเคราะห์น้อย จะเป็นจุดกำเนิดของชีวิต?

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2017 โลกได้เป็นประจักษ์พยานของการเคลื่อนผ่านของก้อนหินที่ระบุข้อมูลสำคัญของกาแลกซี่นี่เอาไว้ มันคือ ดาวเคราะห์น้อย ที่มีชื่อว่า “โอมูอามูอา” (Oumuamua) มาจากภาษาฮาวายที่แปลได้ว่า “ผู้ส่งสารจากแดนไกลที่มาถึงเป็นคนแรก”

ก้อนหินดังกล่าวมีรูปร่างโดดเด่น แต่ในระบบดาวของเราไม่แปลกที่จะพบ ดาวเคราะห์น้อย ถ้าเช่นนั้นแล้วอะไรกันที่ทำให้โอมูอามูอาเป็นเรื่องสำคัญนัก และเราจะได้อะไรจากการศึกษามัน?

 

จุดเริ่มต้นของก้อนหิน

ทุกวันนี้ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี เราเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่าแถบดาวเคราะห์น้อย พวกมันเป็นเศษหินที่หลงเหลือจากเมฆ ก๊าซ และฝุ่นละอองของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ, ดวงอาทิตย์ ไปจนถึงดวงจันทร์ มีหลากหลายขนาดด้วยกัน และดาวเคราะห์น้อยบางดวงก็มีขนาดใหญ่มากจนดึงดูดก้อนหินอื่นๆ เข้ามา เกิดดวงจันทร์เป็นของตัวเอง

บางครั้งบางคราวเส้นทางการโคจรของดาวเคราะห์น้อยรอบๆ ดวงอาทิตย์ก็ดันตัดผ่านโลก ในช่วงแรกของการกำเนิดระบบสุริยะ ก่อนที่โลกของเราจะมีทุกปัจจัยเพียบพร้อมสำหรับการกำเนิดชีวิต ดาวเคราะห์น้อยมากมายพุ่งเข้าชนโลกอย่างไม่ปราณี

อย่างไรก็ดีในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งกระแทกโลกด้วยความรุนแรง ดูเหมือนว่าก้อนหินเหล่านี้ก็มีส่วนในการช่วยสร้างชีวิตให้เกิดขึ้นบนโลก ในขณะเดียวกันการชนของมันก็ไม่ได้เลวร้ายพอที่จะทำลายชีวิตที่เกิดขึ้น

“มีความเป็นไปได้ว่าการที่ดาวเคราะห์น้อยทิ้งระเบิดลงมายังโลก ในช่วงแรกๆ นั้นได้ก่อให้เกิดคาร์บอนและน้ำขึ้นบนผิวโลก” Joseph Masiero นักดาราศาสตร์จากนาซ่ากล่าว อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ยังคงอยู่ระหว่างการค้นคว้าวิจัย

หรือบางทีดาวเคราะห์น้อยอาจไม่ได้สร้างชีวิต แต่มีชีวิตโดยสารมากับมันอยู่แล้ว อีกหนึ่งทฤษฎีที่มีชื่อว่า “แพนสเปอร์เมีย” (Panspermia) ชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งชนโลกเมื่อสี่พันล้านปีก่อน ได้พาเอาโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตจากดาวเคราะห์ดวงอื่นมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น บนดาวอังคารก็อาจมีชีวิตต้นกำเนิดเดียวกันกับบนโลก

(13 สิ่งที่ก่อให้เกิดชีวิตขึ้นบนโลก)

 

เราเรียนรู้อะไรจากโอมูอามูอา

เมื่อโอมูอามูอาเคลื่อนผ่านระบบสุริยะของเรา ในเดือนตุลาคม ปี 2017  มันเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่โคจรเช่นนั้นนักวิทยาศาสตร์ศึกษารูปทรงของมันและการสะท้อนแสงในแถบความยาวคลื่น ในที่สุดพวกเขาก็สามารถอนุมานได้ว่าดาวเคราะห์น้อยประหลาดดวงนี้มาจากที่ใด

“สีและแถบสเปกตรัมของมัน บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ” Masiero กล่าว อย่างไรก็ตามมีเรื่องน่าประหลาดใจ ตัวเขาเสริมว่าเมื่อดาวเคราะห์น้อยเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อยๆ กลับไม่มีการพ่นแก๊สหรือฝุ่นออกมาเช่นดาวดวงอื่น ดังนั้นจึงเชื่อว่าเปลือกของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้น่าจะทำมาจากคาร์บอนหนาเพื่อปกป้องมันจากความร้อน และภายในน่าจะยังมีน้ำแข็งอยู่

Masiero กล่าวเพิ่มเติมว่า โอมูอามูอามีลักษณะเหมือนวัตถุทั่วไปที่พบได้นอกระบบสุริยะของเราฉะนั้นแล้วการศึกษามันอาจหาคำตอบได้ว่า ดาวเคราะห์น้อบนอกระบบสุริยะมีจุดกำเนิดอย่างไร ไปจนถึงชีวิตนอกระบบสุริยะเองมีจริงหรือไม่

“ทั้งยังช่วยให้คำตอบว่าเราพิเศษขนาดไหนครับ” เขากล่าว “เพราะการถือกำเนิดขึ้นของชีวิตคิดความพิเศษที่แท้จริง”

เรื่อง ซาร่าห์ กิบเบ็นส์

 

อ่านเพิ่มเติม

มรดกภารกิจ แคสซีนี-ไฮเกนส์

Recommend