เราเดินไปยังไร่ชาลุกซัน รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ราวกับเดินเข้าไปในสวนกวาง
พุ่มใบชาแผ่กิ่งก้านราวกับได้รับการตัดแต่งเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร พืชซึ่งมีความทนทานนี้ถูกปลูกขึ้นตามแนวดูเป็นระเบียบเรียบร้อย เรียกว่า เมลัส (Melas) คือการปลูกต้นไม้ ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ที่กระจายตัว
อินเดียคือผู้ผลิตชารายใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน โดยมีชาขึ้นชื่อคือชาอัสสัม (Assam Tea) และชาดาร์จีลิ่ง (Darjeeling Tea)
แรงงานเก็บใบชานับพันคนทำงานตรากตรำในพื้นที่ปลูกชาอันห่างไกล หลายคนเป็นหญิงชาวอทิวาสี (Adivasi) ชนพื้นเมืองซึ่งเป็นลูกหลานของแรงงานที่ย้ายเข้ามาที่ภูมิภาคนี้จากภูมิภาคอื่นๆ ในอินเดียมากกว่าร้อยปีที่แล้ว โดยชาวอาณานิคมอังกฤษ เจ้าของไร่ชามัก เลือกจ้างผู้หญิงเพราะความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้ “ความรู้สึก” ในการเก็บใบชาได้ดี
ผู้หญิงเหล่านี้เดินลุยพุ่มใบชาที่มีความสูงเท่าเอว สวมผ้าคาดและถุงมือเพื่อป้องกันกิ่งก้านแข็งอันแหลมคม พวกเขาอยู่อาศัยเป็นครอบครัวในกระท่อมที่ไม่มีน้ำประปา โรงพยาบาลคุณภาพปานกลางที่ใกล้ที่สุด อยู่ห่างออกไปราว 4 ชั่วโมง โดยการโดยสารรถประจำทาง พวกเธอได้รับค่าจ้างในอัตราค่าแรงขั้นต่ำ (ราว 2.44 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 75 บาท) ต่อวัน
“เราได้ค่าจ้างที่ต่ำ แต่จะทำอย่างไรได้ล่ะ” ลลิตา แรงงานหญิงเก็บใบชาที่ไร่ชาลุกซัน อายุราว 40 ปี กล่าวและเสริมว่า “เราต้องมีชีวิตรอดให้ได้”
เธอเล่าว่า มีเสือดาวเข้ามาด้อมๆ มองๆ ที่ไร่ชา ซึ่งต้องไล่ไปโดยการใช้ประทัด และจะมีช้างป่าเข้ามาให้แตกตื่นในช่วงเดือนมิถุนายนจึงกรกฎาคม และมีงูเห่าโผล่มาจากหลุมบนพื้นดิน ในช่วงหน้ามรสุม “พวกมันไม่ได้ทำอะไรเรา เราก็ไม่ทำอะไรกับพวกมัน” จากนั้นเธอเสริมว่า “แล้วพวกมันก็กลับรังไป”
พรรคคอมมิวนิสต์อินเดียปักธงรูปค้อนเคียวที่ทางเข้าไร่ชา ผู้คนของพรรคกระวนกระวายกับการขอเพิ่มค่าแรงรายวันอีก 50 รูปี (ราว 21 บาท) หัวหน้าไร่ชา ชายท่าทางอมทุกข์ที่นั่งอยู่ในโรงงานใบชากล่าวว่า คงไม่เกิดขึ้น