คาราวาน ผู้อพยพ ชาวเอลซัลวาดอร์ข้ามแม่น้ำซูเชียเต (Suchiate River) ที่แบ่งพรหมแดนของประเทศกัวเตมาลาและเม็กซิโก เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของเม็กซิโกปฏิเสธคำขอร้องเข้าประเทศเป็นหมู่คณะ เนื่องจากพวกเขาจะมุ่งหน้าที่ชายแดนทางตอนเหนือที่ติดกับสหรัฐอเมริกา ภาพถ่ายโดย MOISES SAMAN, MAGNUM PHOTOS/NATIONAL GEOGRAPHIC
กระแสเข้าออกของผู้คนข้ามแนวพรมแดนกำหนดประวัติศาสตร์โลกมาช้านาน ข้อมูลการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้เราเข้าใจว่า เพราะเหตุใดผู้คนจึงเลือกที่จะทิ้งบ้านเมืองของตน และพวกเขามุ่งหน้าไปไหน ผู้อพยพเหล่านี้ไม่ถึงร้อยละสิบถูกบีบให้ต้องหนีจากภัยร้าย ส่วนใหญ่ต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า และจะโยกย้ายถิ่นฐานเมื่อมีเงินมากพอ การอพยพย้ายถิ่นทั้งโลกมีจำนวนไม่ถึง 100 ล้านคนในทศวรรษ 1960 และแม้ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนแต่นั้นมา ผู้อพยพย้ายถิ่นยังคงมีจำนวนเพียงเสี้ยวเดียวของประชากร 7,600 ล้านคนของโลกในปัจจุบัน
258 ล้านคือจำนวนผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่นอกประเทศบ้านเกิดของตนในปี 2017
ร้อยละ 3 ของผู้คนทั่วโลกเป็นผู้อพยพย้ายถิ่น ตัวเลขนี้คงที่อยู่เป็นเวลา 50 ปี
ความยากจนรั้งให้อยู่กับที่ เงินตราช่วยให้การโยกย้ายเกิดขึ้นได้
บังกลาเทศ ผู้คนนับล้านหนีตาย จากความขัดแย้งในทศวรรษ 1970 และในทศวรรษ 1980 อีกนับล้านเริ่มออกไปทำงานในกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย เงินเดือนที่ส่งมาจากต่างแดนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
เม็กซิโก รายได้ที่สูงขึ้นจูงใจคนจำนวนมากให้ไปหางานทำในสหรัฐฯ ปัจจัยต่างๆ เช่น ตลาดสหรัฐฯ ที่อ่อนแอและกฎหมายควบคุมการข้ามแดนที่เข้มงวดขึ้นหลังเหตุการณ์ 9/11 ชะลอการอพยพย้ายถิ่นลง
เวียดนาม การเติบโตทางเศรษฐกิจนับจากสงครามเวียดนามปิดฉากลงในปี 1975 กระตุ้นการอพยพย้ายถิ่นทั้งเข้าและออก เกือบครึ่งหนึ่งของ ชาวเวียดนามสี่ล้านคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ พำนักอยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอดีตคู่สงคราม
ความไร้เสถียรภาพขับผู้คนออกจากประเทศ
อัฟกานิสถาน การรุกรานของสหภาพโซเวียตเมื่อปี 1979 ขับผู้คนนับล้านเข้าสู่ปากีสถานและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค จำนวนไม่น้อยหวนคืนสู่บ้านเกิดในเวลาต่อมา แต่ก็ต้องเผชิญกับความรุนแรงระลอกใหม่
ซีเรีย ความไม่สงบและสงครามกลางเมืองผลักดันผู้คนนับล้านให้หนีตายไปยังประเทศต่างๆ เช่น ตุรกี จอร์แดน และเลบานอน จำนวนผู้อพยพออกนอกประเทศในปี 2002 สะท้อนให้เห็นในตัวเลขการอพยพเข้าประเทศของตุรกี
ซูดาน ผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มจำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศของซูดาน แต่สงครามกลางเมืองในทศวรรษ 1990 ทำให้จำนวนผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศสุทธิมีสูงกว่า
อิรัก ความไร้เสถียรภาพสืบเนื่องจากการรุกรานที่นำโดยสหรัฐฯ ส่งผลให้ชาวอิรักนับล้าน กลายเป็นผู้พลัดถิ่น แต่เมื่อไม่นานมานี้ อิรักให้ที่พำนักแก่ผู้ ลี้ภัยราว 250,000 คนจากซีเรีย
ไนจีเรีย ความรุนแรงในทศวรรษ 1980 ยับยั้งการไหลเข้าของผู้อพยพย้ายถิ่น และกระตุ้นให้คนอพยพออกนอกประเทศ ปัจจุบัน กลุ่มก่อการร้ายต่างๆ กำลังผลักไสผู้คนให้ออกไปมากขึ้น
รวันดา ชาวรวันดาเกือบสองล้านคนหนีออกนอกประเทศระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ความขัดแย้งครั้งนั้นจุดชนวนให้เกิดสงครามในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
ตลาดแรงงานที่แข็งแรงดึงดูดผู้อพยพย้ายถิ่น
ไทย แรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัยถูกดึงดูดโดยค่าจ้างและการขาดแคลนแรงงาน ในประเทศไทยเกิดการไหลออกช่วงสั้นๆ ในปี 1992 เมื่อผู้ลี้ภัยหวนคืนสู่บ้านเกิดในกัมพูชา
สเปน การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความต้องการแรงงานที่สูงขึ้น และการเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป นำไปสู่การไหลบ่าของผู้อพยพย้ายถิ่นจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ในทศวรรษ 1990
ซาอุดีอาระเบีย ความเฟื่องฟู จากนํ้ามันในทศวรรษ 1970 นำพาแรงงานต่างชาติเข้าสู่ราชอาณาจักร ในทศวรรษ 1990 รายได้จากนํ้ามันลดลง และมี การปราบปรามผู้อพยพย้ายถิ่นที่ไม่มีเอกสารรับรอง
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ความมั่งคั่งจากนํ้ามัน เสถียรภาพทางการเมือง และโครงการก่อสร้างที่เฟื่องฟูในทศวรรษ 2000 ดึงดูดแรงงานต่างชาติเข้าประเทศ เมื่อราคานํ้ามันดิ่งลง ผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวนมากก็ย้ายออกไป
เยอรมนี ชาวยุโรปตะวันออกนับล้านเดินทางเข้าประเทศ เมื่อม่านเหล็กพังทลายลง การไหลบ่าระลอกถัดมาเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ เมื่อเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งดึงดูดทั้งผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัย
รัสเซีย การอพยพย้ายถิ่นขนานใหญ่ย้อนศรกลับในทศวรรษ 1970 เมื่อมีการค้นพบทรัพยากร เช่น นํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ดึงดูดผู้อพยพระลอกใหม่จากบรรดาอดีตสาธารณรัฐ
สหรัฐอเมริกา ตำแหน่งงานใหม่ ราว 1.6 ล้านตำแหน่งเกิดขึ้นพร้อมกับเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งหลังภาวะ ถดถอยในทศวรรษ 1990 ต่อมาในปี 2002 เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้ทั้งตำแหน่งงานและการย้ายถิ่นเข้าประเทศลดลง
นโยบายรัฐทำให้กระแสการอพยพย้ายถิ่นเปลี่ยนทิศ
จีน การสิ้นสุดลงของนโยบาย “เฉพาะคนขาวเท่านั้น” ในต่างประเทศ รวมทั้งการปฏิรูปด้านการอพยพย้ายถิ่นเข้าประเทศจีนในช่วงทศวรรษ 1980 เปิดโลกทั้งใบให้กับแรงงานชาวจีน
เอธิโอเปีย รัฐบาลออกกฎหมายห้ามการอพยพออกนอกประเทศในปี 1981 หลังเกิดทุพภิกขภัย และการปฏิวัติ หลายคนหวนคืนสู่บ้านเกิดเมื่อระบอบการปกครองดังกล่าวล่มสลายในปี 1991
สหราชอาณาจักร การเปลี่ยนแปลงนโยบายในทศวรรษ 1990 ผ่อนปรนข้อจำกัดด้านการเข้าเมืองและการลี้ภัยกระทั่งถึงปี 2002 แรงงานอพยพที่มีทักษะสามารถขอวีซ่าได้แม้ยังไม่มีผู้ว่าจ้าง
เรื่อง อัลแบร์โต ลูกัส โลเปซ, ไรอัน วิลเลียม, และคายา เบิร์น
เนื้อหาจาก นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนสิงหาคม 2562