นี่คือ ” วัวที่แพงที่สุดในโลก ” ราคา 152+ ล้านบาท!

นี่คือ วัวที่แพงที่สุดในโลก ‘เนโลเร’ (Nelore) มูลค่ามากกว่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผลักดันให้อุตสาหกรรมเนื้อวัวของบราซิลเข้าสู่ความร่ำรวย

วัวที่แพงที่สุดในโลก – “เนโลเร” วัวสีขาวรูปร่างสง่างาม มีโหนกบนหลังอันโดดเด่นและมี ‘เหนียง’ สวยงามที่ไหลออกมาจากคอของเธอราวกับผ้าพัน มันได้สร้างสถิติในการประมูลเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ณ เมือง ‘อรานดู’ (Arandú) ประเทศบราซิล นับเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่และสร้างชื่อกระฉ่อนไปทั่วตลาดเนื้อวัวโลก โดยมาจากการผสมพันธุ์และเลี้ยงอย่างระมัดระวังในทุกด้านของวัวให้ดีที่สุด

เมื่อการประมูลปิดลง นักลงทุนได้จ่ายเงินสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 152,693,000 บาท (4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อซื้อ เนโลเร ผู้สง่างามที่สืบสายพันธุ์จากซีบู (Zebu) โบราณ ซึ่งเป็นลูกหลานของวัวในประเทศ

วัวพันธุ์ดีเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานของบราซิลในธุรกิจการเลี้ยงปศุสัตว์สมัยใหม่ ปัจจุบันบราซิลอยู่ในอันดับต้น ๆ ของตลาดผู้ส่งออกเนื้อวัวของโลก โดยก้าวขึ้นสู่อันดับสูงสุดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งเริ่มจากจีนได้นำเข้าเนื้อจากบราซิล หลังจากเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรงในฟาร์มสัตว์ที่เลี้ยง ซึ่งคร่าชีวิตไปกว่าร้อยละ 28 ของประเทศ

ตอนนี้บราซิลได้สร้างโรงฆ่าสัตว์ใหม่ 4 แห่งเพื่อรองรับตลาดจากประเทศจีน ช่างภาพและนักสำรวจของ เนชั่นเนลจีโอกราฟฟิก แคโรไลนา อาแรนเทส (Carolina Arantes) กล่าวว่า “อุตสาหกรรมนี้อยู่ในระดับสูง” เธอบอก

ลูกวัวเพศเมียเข้าประมูลงานมหกรรมสัตว์ ExpoZebu วัวพันธุ์ เนโลเรชั้นเลิศตัวนี้ ถูกประมูลไปในราคาเกือบหนึ่งล้านดอลลาร์ เป็นราคาที่สะท้อนถึงพันธุกรรมคุณภาพสูงของสัตว์

เพื่อบันทึกภาพอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตนี้ อาแรนเทส ได้เดินทางไปยังบ้านของครอบครัวใน อูเบอราบา (Uberaba) ซึ่งเป็นเมืองในที่ราบสูงตอนใต้ของบราซิล ณ ที่แห่งนั้น วัวมีมูลค่าดั่งกษัตริย์ และซีบู (สายพันธุ์วัว) ก็คือผู้ได้รับการสวมมงกุฎ

“ทุกสิ่งทุกอย่างในอูเบอราบาคือซึบู ร้านซึบู วิทยุซึบู ร้านอาหารซึบู” อาแรนเทส ซึ่งติดตามอุตสาหกรรมปศุสัตว์มา 8 ปีกล่าว

และในการประมูลที่ยิ่งใหญ่นี้ ลูกของเนโลเรคือซึบูที่ถูกเลือก ไม้ใช่แค่เนื้อของพวกเขามันเท่านั้น แต่วัวเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมทั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการผสมพันธุ์ และเพื่อศักยภาพของสายพันธุ์ในการลดค่าใช้จ่ายทางสิ่งแวดล้อม

การเลี้ยงวัวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าแอมะซอนมาเป็นเวลานานกว่า 65 ปีแล้ว โดยปัจจุบันบราซิลมีวัวกว่า 225 ล้านตัว และมีแนวโน้มว่าจะครองตลาดต่อไปซึ่งคาดว่าจะเติบโตขึ้นร้อยละ 35 ในอีก 20 ปีข้างหน้า

แต่สายพันธุ์ที่มีมูลค่านับล้านดอลลาร์อย่างเนโลเรสามารถสร้างความแตกต่างได้จริงหรือ?

ลูกวัวโคลนนิ่งสองตัวนอนอยู่ในคอกฟาร์มของห้องปฏิบัติการ Geneal ห้องปฏิบัติการแห่งนี้เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการโคลนนิ่งวัวที่สำคัญที่สุดในบราซิล ให้กำเนิดสัตว์โคลนนิ่งประมาณ 70 ตัวต่อปี เมื่อซื้อพันธุกรรม เกษตรกรไม่ได้รับแจ้งจากห้องปฏิบัติการว่าดีเอ็นเอมาจากสัตว์ต้นแบบหรือโคลนของมัน

ต้นกำเนิดวัวที่ทรงคุณค่า

วัวและการเลี้ยงปศุสัตว์มีความหมายเหมือนกับวัฒนธรรมและความโรแมนติกของโคบาล ซึ่งเป็นคาวบอยทางตอนใต้ของบราซิล อันเป็นตำนานพอ ๆ กับในอเมริกาตะวันตก อีกทั้งยังขึ้นชื่อเรื่องสเต็กบาร์บีคิวเสียมไม้ที่เรียกว่า ‘ชูร์ราสโก’

เพื่อเริ่มต้นอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 รัฐบาลบราซิลได้เสนอสิ่งจูงใจสำหรับครอบครัวและเกษตรกรให้ย้ายไปอยู่ชนบทแล้วปรับเปลี่ยนป่าฝนให้เป็นทุ่ง ท่ามกลางความเจริญรุ่งเรืองที่เพิ่มขึ้น บราซิลยังคงพยายามปรับปรุงวัวของตนเองด้วยการผสมข้ามสายพันธุ์

โดยมีความท้าทายคือการหาสัตว์ที่สามารถทนต่อสภาพอากาศเขตร้อนและระบบนิเวศที่หลากหลายของประเทศได้ วัวยุโรป (Bos taurus) อย่างเช่น เฮริฟอร์ดและแองกัส ต่างต้องเผชิญกับความเครียดจากความร้อน อีกทั้งยังให้ผลผลิตต่ำ

ฝูงวัวถูกต้อนที่ฟาร์มแห่งหนึ่งใน Sao Felix do Xingu เมืองที่มีเนื้อที่ 83,000 ตารางกิโลเมตร มีฝูงวัวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ 2.4 ล้านตัว เมืองนี้ยังขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการใช้ความรุนแรงที่สุดในพื้นที่ เกษตรกรบุกรุกที่ดินของชาวพื้นเมือง มีการทำเหมืองแร่และการตัดไม้ทำลายป่าอย่างผิดกฎหมายเป็นเรื่องปกติ

ขณที่ ซึบู (Bos indicus) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และจีนนั้นมีความยืดหยุ่นมากกว่า โดยทั่วไปแล้ววัวซีบูสามารถเข้ากับความร้อนตามธรรมชาติได้ เนื่องจากมีต่อมเหงื่อขนาดใหญ่จำนวนมากที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้น มีผิวหนังที่หนา และมีขนฟูแน่นป้องกันแมลงดูดเลือดเช่นยุงได้

การผสมข้ามพันธุ์กับวัว ออนโกล (Ongole) จากเขตเนลโลอร์ของอินเดียทำให้ได้ตัวอย่าง เนโลเร ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

การเพาะพันธุ์เนื้อวัวที่ยั่งยืนมากขึ้น

เนโลเรสามารถทนทานต่อการติดเชื้อปรสิตได้หลายชนิด ซึ่งสามารถป้องกันปัญหาในกระเพาะอาหารได้ แต่เนโรเลและซีบูก็เหมือนกับวัวอื่น ๆ ที่ยังคงปล่อยก๊าซมีเทนผ่านการเรอและอาการท้องอืดอยู่บ่อยครั้ง ก๊าซมีเทนนั้นมีศักยภาพและเป็นอันตรายต่อบรรยากาศมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ และไอเสียของวัวเหล่านี้คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริการะบุว่า วัวหนึ่งตัวสามารถผลิตมีเทนได้ 70 ถึง 120 กิโลกรัม ดังนั้นการปล่อยก๊าซมีเทนในแต่ละวันของวัวหนึ่งตัวทำให้มีศักยภาพรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 25-80 เท่า

Ana Claudia Mendes Souza อายุ 65 ปี เป็นหลานสาวของเจ้าของไร่คนแรกๆ ที่เริ่มนำเข้าวัวจากอินเดียในศตวรรษที่ 19 เธอยืนอยู่ข้างวัวพันธุ์ Guzer-Zebu อายุห้าขวบ ชื่อ Aquiles de Amar

เมื่อพิจารณาถึงความสามารถโดยกำเนิดของพวกมันที่สามารถทนต่อความร้อนสูง พร้อมกับเอาตัวรอดจากสถานการณ์ที่ท้าทายอย่าง ความแห้งแล้ง จึงถูกมองว่าเป็นวัวผสมที่เป็นไปได้สำหรับการผลิตเนื้อสัตว์ที่เป็นมิตรต่อโลก อย่างน้อยก็ในระยะสั้น ๆ ในทางทฤษฎีแล้ววัวเหล่านี้สามารถสามารถลดผลกรทะบต่อสิ่งแวดล้อมได้โดยให้ผลผลิตที่เป็นเนื้อมากขึ้น แต่ใช้ทุ่งหญ้าในการเลี้ยงน้อยลง

“การผลิตเนื้อวัวมีความซับซ้อนมากกว่าที่เราเห็น และค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วการยอมรับ (อุตสาหกรรม) เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมยังคงถูกต่อต้าน” โรเบิร์ต วิลค็อกซ์ (Robert Wilcox) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ของบราซิล และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเคนตักกีเหนือ กล่าว

ฟาร์ม Beka ใน Santo Antonio da Platina จัดงานบาร์บีคิวเนื้อวัวขนาดใหญ่ ผู้เพาะพันธุ์วัวกำลังใช้การทดสอบทางพันธุกรรมเพื่อพัฒนาเนื้อสัตว์คุณภาพสูงที่มีไขมันมากกว่า การตลาดเนื้อเหล่านี้เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ บราซิลเป็นประเทศที่ส่งออกเนื้อวัวมากที่สุดในโลก

ขณะที่กาเบรียล การ์เซีย ซิล (Gabriel Garcia Cid) ประธานสมาคมปศุสัตว์ซีบูของบราซิล เรียกร้องให้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็น “พื้นฐานสำหรับอนาคตของการเลี้ยงปศุสัตว์” พร้อมเสริมว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคของบราซิลควรตระหนักถึง “ความสำคัญของการนำการปรับปรุงพันธุกรรมมาสู่ฟาร์ม พันธุศาสตร์ซีบูเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักเพื่อความยั่งยืน”

ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2000 แคมเปญการตลาดที่นำโดยอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ได้ส่งเสริม “แนวคิด ‘Boi ecológico'” ซึ่งแปลคร่าว ๆ ได้ว่า “วัวในระบบนิเวศ” พร้อมกับกล่าวถึงประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของเนโลเร

แม้ว่าวัวจะมีความยืดหยุ่นตามธรรมชาติแต่ “การรณรงค์ก็หายไปหลังจากที่เห็นได้ชัดว่ามีที่ชื่อเสียงโด่งดังนั้นไม่มี (ประโยชน์) ในระบบนิเวศมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ” วิลค็อกซ์ กล่าว

ตลาดที่กำลังรุ่งเรืองเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ในขณะที่การตัดไม้ทำลายป่ายังคงดำเนินต่อไป ประธานาธิบดีคนใหม่ ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา ได้ให้คำมั่นที่จะยุติแนวทางปฏิบัติที่ทำลายป่าฝนไปเกือบ 1 ใน 5 ของประเทศในช่วง 60 ถึง 65 ปีที่ผ่านมา ต้นไม้เหล่านี้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ

วัวกระทิงเดินผ่านทุ่งนาในฟาร์มของ Garcia Cid เธอเป็นหนึ่งในคนแรกๆที่นำเข้าวัวจากอินเดีย วัวซีบูอินเดียแตกต่างจากวัวสายพันธุ์ยุโรปตรงที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นและโรคที่มียุงเป็นพาหะในเขตร้อนของบราซิลได้ดีกว่า

พวกมันดึงมลพิษที่ทำให้โลกร้อนออกจากชั้นบรรยากาศ นักสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าป่าไม้ที่เหลืออยู่จำเป็นต้องได้รับการอนุรักษ์เพื่อช่วยต่อสู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แต่ในขณะนี้บางพื้นที่ของแอมะซอนได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไปมากกว่าที่ดูดซับไว้แล้ว

แม้ว่าการแผ้วถางที่ดินและการแทะเล็มหญ้าที่มากเกินไปจะยังคงดำเดินต่อไปตั้งแต่การเลือกตั้ง แต่การแผ้วถางที่ดินได้ลดลง “อย่างมาก” ในช่วงเดือนแรกของปี 2023 ส่วนเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วได้มีการเปิดตัวโครงการติดตามวัวภาคบังคับ ซึ่งวางแผนที่จะติดตามประชากรวัว 24 ล้านตัวภายใน 3 ปี และจำนวนวัวที่เลี้ยงบนพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่าไม้อย่างผิดกฎหมาย

แต่ตราบใดที่ตลาดยังคงแข็งแกร่ง วิลค็อกซ์ไม่คาดหวังว่าพื้นที่เลี้ยงจะลดลงอย่างมาก และผลที่ตามมาคือการตัดไม้ทำลายป่าต่อไปส่วน เนโลเร ก็ไม่ไปไหนเช่นกัน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาฮินดูได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่เคารพนับถือของอุตสาหกรรมที่ทรงอำนาจ

“ซีบูกลายเป็นสัตว์ ‘ศักดิ์สิทธิ์’ ในการค้าและวัฒนธรรมของบราซิล” และเป็นแหล่งความภูมิใจของชาติ อาแรนเทส กล่าว

สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

ที่มา
https://www.nationalgeographic.com/animals/article/most-expensive-cow-brazil-meat-market


อ่านเพิ่มเติม การผลิตอาหารจากสัตว์มีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.