SACIT เดินหน้าโครงการ SACIT Craft Collection 2025 สร้างความเชื่อมั่นงานคราฟต์ไทยในเวทีโลก

“SACIT  เดินหน้าโครงการ  SACIT Craft Collection

คัดสรรผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยจากทั่วประเทศ

ให้เป็นแม่แบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย

เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้แพร่หลาย ไปไกลในระดับโลก”

ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์กรมหาชน) หรือ SACIT กล่าวว่า SACIT มุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันช่างฝีมือผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักแนวคิดพื้นฐาน 3 พันธกิจขององค์กรที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ คือ การสืบสาน สร้างสรรค์ และส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยให้ยั่งยืน โดยใช้กลยุทธ์การรับรองผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์งานศิลปหัตถกรรมไทยเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ผลักดันให้เกิดความนิยมในผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษารากฐานขององค์ความรู้ ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือท้องถิ่น ตลอดจนสามารถถ่ายทอด และต่อยอดให้เกิดการค้าที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยก้าวไปสู่สินค้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรวบรวมคณะกรรมการคัดสรรงานศิลปหัตกรรมเพื่อรองรับเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ภายใต้ SACIT Craft Collection  ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในหลากหลายมิติ  เพื่อร่วมพิจารณาคัดสรรผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ภายใต้ SACIT Craft Collection โดยใช้เกณฑ์การพิจารณ 5 ด้าน ได้แก่ 

1.ด้านความเป็นเลิศเชิงช่าง (Craftsmanship)

2.ด้านความสามารถทางการตลาด (Marketability)

3.ด้านความดั้งเดิม (Authenticity)

4.ด้านนวัตกรรม (Innovation) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

5.ด้านความยั่งยืน (Sustainability)

โดยในที่ผ่านมา SACIT ได้ดำเนินการยกย่องเชิดชูกลุ่มผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม สมาชิก สศท. และ New Yong Craft ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์โดยกลุ่มคนดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความโดดเด่น  สามารถสร้างภาพลักษณ์อันดีที่จะนำมาสู่การสร้างความเชื่อมั่นในระดับประเทศและผลักดันสู่การเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป

สำหรับการคัดสรรผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่สร้างสรรค์ โดยครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม สมาชิก สศท. และ New Yong Craft เพื่อรับรองเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ภายใต้ SACIT Craft Collection ได้แบ่งประเภทการรับรองผลิตภัณฑ์ศิลปหัตกรรมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.Master Craft หรือหัตถศิลป์ระดับประเทศ (The Legacy of Master Craftsmanship) ที่เน้นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้านความเป็นเลิศเชิงช่าง (Craftsmanship) และความดั้งเดิม (Authenticity)

2.Trendy Craft หรือนวัตศิลป์เพื่อตอบสนองความต้องการของปัจจุบันและอนาคต (Bridging tradition and tomorrow) เน้นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้านนวัตกรรม (Innovation) และความสามารถทางการตลาด (Marketability)

3.Conscious Craft หรือ หัตถกรรมรักษ์โลก (Where sustainability meets creativity) เน้นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้านการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน (Sustainability) และนวัตกรรม (Innovation)

โดยผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับรองเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยภายใต้ SACIT Craft Collection  ประโยชน์ที่ผู้ผ่านการคัดสรรจะได้รับ คือ

1.การยอมรับและข้อเสนอแนะ เช่น ตราสัญลักษณ์ ประกาศนียบัตรรับรอง คำแนะนำ จนถึงการจัดแสดงผลงานในนิทรรศการพิเศษ

2.โอกาสทางธุรกิจ เช่น การสนับสนุนด้านการตลาด จัดแสดงผลงานในระดับนานาชาติ ขยายช่องทางการขายทั้งออฟไลนและออนไลน์ การจับคู่ทางธุรกิจ

3.ประชาสัมพันธ์ในเครือข่ายสื่อพันธมิตร  เพื่อสร้างโอกาส สร้างการเป็นที่รู้จักและยอมรับ

“SACIT Crafts Collection” จึงไม่ใช่แค่เวทีแสดงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม แต่คือเวทีที่เปิดโอกาสให้ช่างฝีมือได้แสดงพลังของทักษะเชิงช่างของคนไทยที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างเป็นปัจจุบัน ต่อยอดธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ และขยายตลาดไปได้ไกลกว่าเดิม  SACIT เชื่อว่า SACIT Craft Collection ไม่ใช่การรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดเพียงงานสร้างรายได้  แต่เป็นการสืบสานและส่งต่อมรดกทางองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และทักษะฝีมือเชิงช่าง ที่ซ่อนอยู่ในทุกหมู่บ้าน ทุกอำเภอทั่วประเทศไทยให้คงอยู่สืบไป”

สแกนเพื่อสมัคร


อ่านเพิ่มเติม : ก้าวให้ทัน ไปให้ไกล SACIT ดันคราฟต์ไทย ไปตลาดโลก

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.