SPACE JOURNEY BANGKOK ผจญภัยอวกาศกับนิทรรศการระดับโลก ครั้งแรกในเอเชีย

“SPACE JOURNEY BANGKOK” นิทรรศการด้านอวกาศ เตรียมจัดในไทย 16 ธ.ค. 67 – 16 เม.ย. 68 ที่ไบเทคบางนา

อวกาศหน้าตาเป็นแบบไหน ถ้าใครนึกไม่ออก วันที่ 16 ธันวาคม 2567 -16 เมษายน 2568 ที่ไบเทคบางนา เตรียมตัวออกผจญภัยไปกับนิทรรศการอวกาศระดับโลก SPACE JOURNEY BANGKOK ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Index Creative Village และภิรัชบุรี กรุ๊ป โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเปิดโลกการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีอวกาศ

แบบจำลอง 1:1 ของโมดูลควบคุมยาน Apollo
Original component of Saturn V. rocket F1 engine (ชิ้นส่วนประกอบดั้งเดิมของเครื่องยนต์ F1 จากกระสวยอวกาศ Saturn V:แซทเทิร์น 5) ชิ้นส่วนนี้ถูกกู้มาจากก้นมหาสมุทรแปซิฟิก โดย Jeff Besos เจ้าของ Amazon
Model of Lunar Rover (แบบจำลอง 1:1 ของยานสำรวจดวงจันทร์) ยานสำรวจนี้ช่วยให้นักบินอวกาศ Apollo 15, 16 และ 17 สำรวจดวงจันทร์มากกว่าแค่การเดินเท้า และช่วยเก็บตัวอย่างวัตถุทางธรณีวิทยาจากส่วนต่างๆ ของดวงจันทร์

นิทรรศการ SPACE JOURNEY BANGKOK จะจัดแสดงพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร พร้อมห้องนิทรรศการ 10 ห้องเสมือนจริง ที่พาคุณย้อนเวลากลับไปสำรวจอดีตของการเดินทางสู่อวกาศ และทำนายอนาคตด้วยเทคโนโลยีล่าสุด รวบรวมชิ้นส่วนยานอวกาศที่ผ่านการใช้จริงและแบบจำลองที่หาชมยากกว่า 600 ชิ้น ทั้งที่เป็นของจริง(original objects), รุ่นพัฒนา (prototypes), ของเสมือนจริง (replica) และ แบบจำลอง (model) รวมถึงเอกสารต้นฉบับต่างๆ อีกมากมาย จากสหรัฐอเมริกา โซเวียตและอื่นๆ มาจัดแสดงในรูปแบบของห้องจัดแสดง การฉายวิดีทัศน์ในโรงหนัง รวมถึงการนำเสนอผ่านเทคนิคโปรเจคชั่นแมปปิ้ง จัดแสดง 10 ห้องนิทรรศการ รวมถึงประสบการณ์ชมภาพยนตร์ 3 มิติ, โซนโลกจักรวาลแบบ Interactive รวมถึงไจโรสโคป พัฒนาการของการสำรวจอวกาศตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน และแผนการในอนาคต โดยเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการสำรวจด้านอวกาศ

คุณดำรง ลี้ไวโรจน์ บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด ในเครือ อมรินทร์ กรุ๊ป

จัดแสดง 5 ประเทศ ยอดผู้ชมงานกว่า 1 ล้านคน

นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ มีการจัดแสดงไปแล้ว 5 ประเทศในยุโรป ภายใต้ชื่อ Cosmos Discovery Space Exhibition ซึ่งมีผู้เข้าชมงานรวมกว่า 1 ล้านคน และสำหรับการจัดงานที่ประเทศไทย มีเป้าหมายในการดึงดูดผู้เข้าชมกว่า 200,000 คนในระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งจะเป็นโอกาสที่คนไทยได้สัมผัสประสบการณ์ท่องอวกาศอย่างใกล้ชิด

นิทรรศการนี้ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมเปิดมุมมองพร้อมสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศของไทยในอนาคต  ไม่ว่าจะเป็น ดร. ปกรณ์ อาภาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  พร้อมด้วย คุณดำรง ลี้ไวโรจน์ บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด ในเครือ อมรินทร์ กรุ๊ป และคุณกรทอง วิริยะเศวตกุล แฟนพันธุ์แท้ระบบสุริยะ

ของรถสำรวจดาวอังคาร Opportunity) หุ่นยนต์ที่ทำงานหนักที่สุดนอกโลก
ตัว replica ของยาน American Spacecraft Mercury Friendship 7) โดยการใช้องค์ประกอบต้นฉบับบางส่วน เพื่อแสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่จำกัดที่นักบินอวกาศมีอยู่ในยานพาหนะโดยสารและอุณหภูมิภายในยานยังสูงถึง 40°C ระหว่างการบิน

ไฮไลต์ประสบการณ์ในอวกาศ

ภายในงานจะมีการจัดแสดงตั้งแต่ต้นกำเนิดของการสำรวจอวกาศไปจนถึงปัจจุบัน และอนาคต ประกอบด้วยวัตถุจริงและวัตถุที่หาชมยากกว่า 600 ชิ้น ซึ่งไฮไลต์ที่น่าสนใจสำหรับนิทรรศการในครั้งนี้ ผู้เข้าชมจะได้พบกับ

ชุดอวกาศหลากหลายประเภท ทั้งที่เคยใช้บินจริงหรือใช้ฝึกซ้อม) ในห้องถัดจากห้องภาพยนตร์ ชุดนักบินรัสเซียสีส้มแบบเดียวกับที่ Yuri Gagarin สวมใส่ในเที่ยวบินแรกของเขา

อ่านเพิ่มเติมที่ : “กรยณัฐน์ โฮะซึมิ” เล่าชีวิตนักวิจัยที่ NASA กับการศึกษาวิทยุความถี่สูงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอวกาศ

 

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.