บรรดาสัตว์น้ำในท้องทะเลกำลังสูญพันธุ์เร็วกว่าที่คิด

ดูเหมือนว่า บรรดาสัตว์เลือดเย็นใต้ทะเลสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างขมขื่น

 

เพราะอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ บรรดา สัตว์น้ำ จึงอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อกว่าสูญพันธุ์ยิ่งกว่าสัตว์ที่อยู่บนพื้นดิน นี่คือข้อสรุปจากการศึกษาสายพันธุ์สัตว์น้ำเลือดเย็นกว่า 400 ชนิด

เนื่องจากบรรดา สัตว์น้ำ แทบไม่มีทางเลือกที่จะหลบหนีไปจากอุณหภูมิของน้ำที่กำลังสูงขึ้นมากนัก พวกมันจึงมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์มากเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับสัตว์ที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน คือข้อสรุปจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature เมื่อวันพุธที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา

การศึกษาครั้งนี้นำโดยเหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัย New Jersey’s Rutgers ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเปรียบเทียบผลกระทบของอุณหภูมิของมหาสมุทรและพื้นดินที่สูงขึ้นกับบรรดาสัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็น ตั้งแต่ปลา มอสลัสก์ (mollusks – สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง มีลำตัวนิ่ม เช่น หอย ปลาหมึก) ไปจนถึงสัตว์เลื้อยคลานและแมลงปอ

งานวิจัยก่อนหน้ากล่าวว่า สัตว์เลือดอุ่นนั้นสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าสัตว์เลือดเย็น แต่การศึกษานี้กลับเน้นไปที่ความเสี่ยงของบรรดาสัตว์ทะเล เนื่องจากมหาสมุทรนั้นดูดซึมความร้อนจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ เป็นเหตุให้น้ำอยู่ในจุดที่อุ่นที่สุดในรอบทศวรรษ

“ตามประวัติศาสตร์ บรรดาสัตว์น้ำอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากขนาดนี้ ตอนนี้เหมือนกับสัตว์น้ำกำลังเดินผ่านตรงช่องแคบของภูเขาแล้วเจอกับอุณหภูมิหน้าผาที่พาให้มันร่วงหล่นไปยังอีกด้าน” มาลิน พินสกี นักนิเวศวิทยาและนักพัฒนาการชีวภาพ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยนี้ กล่าว

สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนียตัวหนึ่งกำลังล่าปลาที่อาศัยที่บนแผ่นสาหร่ายทะเลที่ Cortes Bank ภูเขาใต้ทะเลในเมืองซานดิเอโก ภาพถ่ายโดย BRIAN SKERRY, NAT GEO IMAGE COLLECTION

ช่วงของอุณหภูมิที่ปลอดภัย (Thermal safety margins)

นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณ ช่วงของอุณหภูมิที่ปลอดภัย (Thermal safety margins) ของสัตว์น้ำ 88 สายพันธุ์และสัตว์บก 318 สายพันธุ์ เพื่อตัดสินว่าพวกมันสามารถทนและสัมผัสความอบอุ่นในอุณหภูมิความร้อนขั้นต่ำที่เท่าไร จุดอุณหภูมิขั้นต่ำนี้จะน้อยลงบนพื้นที่ทะเลใกล้เส้นศูนย์สูตรสำหรับบรรดาสัตว์น้ำ และสัตว์บกที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นละติจูดกลาง

ช่วงที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์น้ำที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น Damselfish (ปลาทะเลตระกูล Pomacentridae ที่มีสีสันสวยงาม) และ ปลาอมไข่ครีบยาว (Cardinalfish) จะอยู่ที่ประมาณ 10 องศาเซลเซียส “ฟังดูเยอะนะครับ แต่ประเด็นคือประชากรสัตว์เหล่านี้จะสูญพันธุ์ก่อนที่จะพบเจอกับอุณหภูมิ 10 องศานี่เสียอีก ” พินสกี กล่าวเสริม

ผลกระทบในวงกว้าง

“นี่เป็นการวิจัยที่สร้างผลสะเทือนวงการอย่างมาก เพราะมันแสดงให้เห็นข้อมูลที่สอดคล้องกับสมมติฐานซึ่งมีมาอย่างยาวนานว่าระบบนิเวศทางทะเลมีความอ่อนแอมากที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ซาราห์ ไดมอนด์ นักนิเวศวิทยาและผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Case Western Reserve ในคลีฟแลนด์ มลรัฐโอไฮโอ ผู้ที่ไม่มีมีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้ กล่าวและเสริมว่า “นี่คือส่วนที่สำคัญ เพราะระบบนิเวศทางทะเลสามารถถูกทำให้ร้อนเกินไปได้”

นอกเหนือไปจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พินสกี กล่าวว่า การหยุดการทำประมงเกินขนาด, การเพาะพันธุ์ประชากรปลาให้มากขึ้น และจำกัดการทำลายถิ่นอาศัยในมหาสมุทรสามารถช่วยลดการสูญเสียต่อสายพันธุ์สัตว์เหล่านี้ได้

“การสร้างเครือข่ายของพื้นที่ปกป้องทางทะเล ที่บรรดาสัตว์ทะเลสามารถย้ายไปยังพื้นที่ทะเลที่มีละติจูดสูงกว่า สามารถช่วยพวกมันรับมือสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นได้” พินสกี กล่าว

เรื่องโดย CHRISTINA NUNEZ 


อ่านเพิ่มเติม สัตว์ในมหาสมุทรกำลังขาดอากาศหายใจเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.