พื้นที่ร้อยละ 54 ของมาเลเซียยังปกคลุมไปด้วยป่าไม้ และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติอย่างมากแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีที่มาจากความหลากหลายของบรรดาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ท้องถิ่น หนึ่งในวิธีที่มาเลเซียพยายามรักษาความหลากหลายทางธรรมชาตินี้ไว้คือการทำ สกายวอร์ค เส้นทางเดินเหนือเรือนยอดไม้ (canopy walkways)
เพื่อเผยโลกแห่งเรือนยอดไม้อันสูงใหญ่ พวกเขาใช้โครงสร้างขาตั้งเหล็กแบบเดียวกับที่ใช้สร้างสะพานแขวนโอบล้อมลำต้นของไม้เนื้อแข็งเอาไว้ ในมาเลเซียมีทางเดินแบบนี้อยู่นับสิบแห่ง ทั้งบนฝั่งแผ่นดินใหญ่เกาะบอร์เนียวเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม
สายวอร์ค ทางเดินเหนือเรือนยอดไม้แห่งแรกของประเทศสร้างขึ้นเมื่อปี 1968 เพื่อจุดประสงค์การวิจัย โดยมาเลเซียถือเป็นผู้บุกเบิกการท่องเที่ยวบนเรือนยอดไม้ในเอเชีย และเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่องค์กรเรีอนยอดไม้โลก (Global Canopy Programme – GCP) ให้ความสนใจศึกษาเรือนยอดไม้ในแง่ของวิทยาศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่ไม่ใช้แค่การท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศ แต่รวมไปถึงการอนุรักษ์สายพันธุ์พืช-สัตว์ รวมไปถึงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ทั้งบนคาบสมุทรมาเลเซียและรัฐบนเกาะบอร์เนียวอย่างซาบาห์และซาราวัก ทางเดินเหนือเรือนยอดไม้ถือเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มาเยือนพื้นที่ป่าฝน โดยผู้คนไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลออกมานอกเมือง เส้นทางเดินนี้มีอยู่ทั้งในบริเวณเมืองหลวงอย่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ เช่นที่ KL Forest Eco Park และสถาบันวิจัยป่าไม้แห่งมาเลเซีย (Forest Research Institute Malaysia – FRIM ).
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเดินบนเรือนยอดไม้เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ผู้คนได้รู้จักและสัมผัสพื้นที่ป่าฝนได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องเชิญกับพื้นที่อันขรุขระและเปียกชื้นด้านล่าง และไม่จำเป็นต้องปีนป่ายหรือห้อยสายสลิงเพื่อขึ้นไปดูบนเรือนยอดไม้ และทำให้คนเมืองที่สนใจหรือคนทั่วๆ ไป มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ
การเดินบนเรือนบอดไม้เป็นวิธีที่ดีในการชมสัตว์ป่าด้วยเช่นกัน เรามีโอกาสเห็นแม้กระทั่ง ‘ชะนี’ ซึ่งหาดูได้ยาก ในขณะเดียวกัน ทางเดินเหล่านี้ยังเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติเนื่องจากแนวทางการสร้างที่ไม่บุกรุก ทำให้บรรดาสัตว์ป่าและนกชนิดต่างๆ ได้มีชีวิตของตัวเอง
ผู้เชี่ยวชาญด้านเรือนยอดไม้และนักสำรวจเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก อย่าง Meg Lowman ผู้ที่มีส่วนช่วยในการสร้างทางเดินเรือนยอดไม้ Langur Way Canopy Walk บนเกาะปีนัง เรียกสิ่งนี้ว่าเป็น ‘ประสบการณ์เปลี่ยนชีวิต’ เธออธิบายว่าพื้นที่ราบของป่าไม้นั้นมักมืดมิดและมีแต่สิ่งที่ไม่แน่สนใจ แต่การได้เห็นป่าจากมุมสูงจะทำให้เห็น “ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในป่า”
“มันทำให้เห็นมุมมองที่โดดเด่นของป่าไม้ ซึ่งทำให้คุณได้เปิดโลกความมหัศจรรย์ของพื้นที่ที่คุณยืนอยู่ค่ะ” เธอกล่าว
ทางเดินเหนือเรือนยอดไม้ของมาเลเซียยังประสบความสำเร็จในการเปิดเผยสิ่งที่เคยถูกซ่อนเอาไว้ซึ่งจะทำให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม ตัวอย่างหนึ่งคือศูนย์เพื่อการค้นพบป่าฝน (Rainforest Discovery Centre – RDC) ในรัฐซาบาห์ ก่อนหน้านี้ ผู้คนมักจะเริ่มและสิ้นสุดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เขตอนุรักษ์ และศูนย์อนุรักษ์และฟื้นฟูอุรังอุตังแห่งเซปิลก ทว่า นับตั้งแต่ที่มีผู้ที่ค้นพบชนิดพันธุ์ท้องถิ่นอย่างนกแร้งขนบอร์เนียว (Bornean bristlehead) ในทางเดินเหนือเรือนยอดไม้ของเขตอนุรักษ์แห่งนี้ ทางเดินเหนือเรือนยอดไม้จึงดึงดูดบรรดานักดูนกจากทั่วโลกไปโดยปริยาย
นอกจากนี้ ในฝั่งคาบสมุทรมาเลเซีย ยังมีทางเดินศึกษาธรรมชาติอย่าง The Habitat Penang Hill ซึ่งได้นับการแต่งตั้งให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกขององค์กรยูเนสโกอีกด้วย ทำให้บรรดานักท่องเที่ยวท้องถิ่นหลั่งไหลกันเข้าไปชมทางเดินศึกษาธรรมชาติลอยฟ้าแห่งนี้ เพราะพวกเขาชอบที่จะได้เห็นระบบนิเวศที่สวยงาม
จุดประสงค์หลักของการสร้างทางเดินเหนือเรือนยอดไม้คือให้ผู้คนรักและห่วงใยป่าไม้มากพอจนอยากที่จะปกป้องมัน โดย Lowman ได้มองย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษ 1980 ที่รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในตอนแรก มีผู้คนสนับสนุนการตัดป่าไม้ใหญ่ในพื้นที่เนื่องจากมันทั้ง “แห้ง ชื้น และน่าเบื่อ” แต่พวกเขาก็เปลี่ยนใจ หลังจากได้ไปสำรวจป่าแห่งนั้นด้วยทางเดินเหนือเรือนยอดไม้
พวกเขาได้เห็นทั้งนกมาคอว์แดง และบรรดาสรรพสัตว์ที่น่ารัก แล้วก็พูดว่า ‘คุณต้องมาดูว่าป่านี่มันเจ๋งแค่ไหน’ ค่ะ ” เธอเล่าย้อนไป
แม้มาเลเซียอาจจะยังไปไม่ถึงจุดนั้น ก็ยังพอมีความหวังให้ฝันใฝ่ที่จะไปถึง