นอกจากนี้ยังมีตึกกว่า 5,600 แห่งพังถล่มลงมา ด้านซีเรียที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยราว 1,451 คน มีผู้บาดเจ็บ 3,531 คน โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ใกล้กับเมืองกาซีอันเท็พ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรเคีย ซึ่งติดกับพรมแดนประเทศซีเรีย ลึกลงไปราว 24 กิโลเมตร ตามการรายงานของสำนักสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey, USGS) โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้ถือว่ามีความรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ในภูมิภาคนี้
หลังจากนั้น ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกหลังจากแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งแรก ขนาด 7.5 และอาฟเตอร์ช็อกครั้งถัดมา ขนาด 6.0 สภาพบรรยากาศบ้านเมืองทั้งในตุรเคียและซีเรียที่ปรากฎในสื่อนั้นเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ราบเป็นหน้ากลอง และมีผู้คนจำนวนมากที่กำลังติดอยู่ในซากปรักหักพัง ซึ่งขณะนี้ ได้มีหน่วยกู้ภัยจากหลายประเทศเร่งให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
รอยเลื่อนแผ่นดินไหวล้อมรอบประเทศ – สาเหตุของแผ่นดินไหวตุรเคีย-ซีเรีย
ตามทฤษฎี การเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่มีที่มาจากการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลก โดยตุรเคียตั้งอยู่บนรอยต่อ (หรือทางแยก) ของแผ่นเปลือกโลก 4 แผ่น ได้แก่ แผ่นเปลือกโลกอนาโตเลียน (Anatolian tectonic plate) ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรเคียตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกแผ่นนี้ซึ่งล้อมรอบไปด้วยแผ่นเปลือกโลกอีก 2 แผ่นใหญ่ นั่นคือแผ่นเลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian tectonic plate) และแผ่นเปลือกโลกแอฟริกัน (African tectonic plate) นอกจากนี้ยังแผ่นมีเปลือกโลกอาระเบียน (Arabian tectonic plate) อีก 1 แผ่น ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
โดยแผ่นเลือกโลกอนาโตเลียนที่อยู่ข้างใต้ประเทศตุรเคียนั้นเคลื่อนที่ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา โดยขณะที่เคลื่อนที่ แผ่นเลือกโลกอาระเบียนก็ได้ผลักแผ่นเปลือกโลกอนาโตเลียนไปด้วย ทำให้แผ่นเปลือกโลกอนาโตเลียนเคลื่อนที่ชน (Collision) เข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน การชนกันของเปลือกโลกเหล่านี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ครั้งนี้ของตุรเคีย
โดยรอยเลื่อนอนาโตเลียนเหนือ (The North Anatolian fault line) ซึ่งเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและอนาโตเลียนบรรจบกันถือเป็นพื้นที่แผ่นดินไหวที่ทรงพลังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในปัจจุบัน
นอกจากนี้ แผ่นเปลือกโลกอนาโตเลียนเป็นแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดเล็ก ทำให้ในยามที่แผ่นเปลือกโลกขยับตัวแต่ละครั้งจึงก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง เมื่อเทียบกับบริเวณที่ตั้งอยู่ในแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่
ตุรเคีย – ดินแดนแห่งแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
เนื่องจากตุรเคียตั้งอยู่บนพื้นที่รอยแยกแผ่นเปลือกโลกทั้ง 4 จึงเป็นประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ตามประวัติศาสตร์ในรอบ 100 ปี ตุรเคียเกิดแผ่นดินจนมีผู้เสียชีวิตตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นอยู่หลายสิบครั้ง แต่ครั้งที่รุนแรงในรอบ 100 ปี เกิดขึ้นในปี 1939 ที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นดินแผ่นไหวที่มีความรุนแรงมากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของประเทศ มีผู้เสียชีวิตราว 32,700 คน อาคารบ้านเรือนกว่า 120,000 แห่งพังทลายลงมา
หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีก 5 ครั้ง ในช่วงปี 1942-1967 อย่างไรก็ตาม มีแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นอีกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 1999 ขนาด 7.4 ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง Izmit มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 17,000 คน นอกจากนี้ ยังมีแผ่นดินไหวเมื่อปี 2011 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปอีกราว 130 คน
ตุรเคีย ประเทศแผ่นดินไหวที่ไม่มีมาตรการรับมือ
แม้จะเป็นประเทศที่เกิดเหตุการณ์สูญเสียจากแผ่นไหวบ่อยครั้ง แต่ดูเหมือนว่าตุรเคียจะไม่ได้เรียนรู้หรือมีมาตรการป้องกันภัยพิบัติเช่นนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากนักเมื่อกับประเทศที่อยู่บนรอยเลื่อนแผ่นดินไหวเหมือนกันเช่น ญี่ปุ่น ตามการรายงานของสื่อหลายสำนัก ตึกรามบ้านช่องของตุรเคียจำนวนมากมีอายุมากกว่า 100 ปี และมักสร้างขึ้นจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ ตึกที่สร้างขึ้นใหม่หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ปี 1999 ก็ไม่ได้มีมาตรฐานในเรื่องของการป้องกันแผ่นดินไหวเพิ่มเติม แม้ทางตุรเคียจะเริ่มมีกฎหมายที่เข้มงวดในเรื่องการรับมือเรื่องความท้าทายจากแผ่นดินไหวในอนาคต แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผล เช่นภาวะความยากจนในประเทศ จนไม่ได้เอาจริงเอาจังในเรื่องของการรับมือ จึงทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อแผ่นไหวในครั้งนี้
ที่มา
https://edition.cnn.com/middleeast/live-news/turkey-earthquake-latest-020623
https://www.thehindu.com/sci-tech/energy-and-environment/explained-why-turkey-is-prone-to-devastating-earthquakes/article66476957.ece
https://www.indiatvnews.com/news/world/turkey-earthquake-reasons-updates-why-turkey-is-prone-to-earthquakes-death-toll-in-latest-tremors-photos-videos-istanbul-news-syria-2023-02-06-845123
https://www.indiatoday.in/world/story/the-fault-in-fault-lines-why-turkey-is-prone-to-devastating-earthquakes-2331195-2023-02-06
บทความที่เกี่ยวข้อง