พืช สัตว์ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมนุษย์ ต่างล้วนอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเฉพาะของตน ดำเนินชีวิตในระบบนิเวศที่มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมที่หลากหลายเป็นระยะเวลาหลายล้านปี และความหลากหลายในสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น กลายเป็นองค์ประกอบและพื้นฐานสำคัญของธรรมชาติและระบบนิเวศของโลก
ทุกวันที่22 พฤษภาคม องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็น วันสากลเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ(International Day for Biological Diversity) เพื่อรำลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญอย่างไร? โดยทั่วไปความหลากหลายทางชีวภาพสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลำดับ คือ
มิติของความหมายในนิยามของ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” จึงมีความหมายอย่างกว้าง แต่อธิบายได้ว่า คือความหลากหลายของชนิดพันธุ์ สายพันธุ์ และระบบนิเวศ และความมีมากนี่เองที่ทำให้มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นสามารถมีทางเลือกในการดำเนินชีวิต เช่น การที่ทั้งคนและสัตว์ได้มีอาหารบริโภคที่หลากหลาย สัตว์เองก็สามารถมีที่พักพิงอาศัย มีอาหารที่สมบูรณ์ ขณเดียวกันความหลากหลายยังช่วยกระจายความเท่าเทียมในสังคมอีกด้วย เพราะเมื่อมีจำนวนที่มาก หลากหลาย ย่อมหมายถึงราคาที่สมเหตุสมผล
เกษตรกรสามารถเลือกเพาะปลูกได้หลากหลายชนิดพันธุ์มากยิ่งขึ้น สามารถสลับสับเปลี่ยนชนิดพันธุ์ได้ มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรที่หลากหลาย ส่งผลต่อมายังผู้บริโภคที่สามารถเลือกบริโภคได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นและได้สินค้าในราคาที่ย่อมเยา สำหรับในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ต้นทุนของทรัพยากรที่จัดซื้อเข้ามาประกอบกิจการหรือทำกิจกรรมภายในจะมีต้นทุนที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับในสถานการณ์ที่ความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยลงไม่มีการแก่งแย่งหรือกักตุนอาหาร ทั้งระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ ก็จะทำให้ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ มีอาหารหล่อเลี้ยงอีกหลายชีวิต
ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รายงานว่า กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติได้บันทึกสถิติภัยพิบัติครั้งใหญ่ได้มากกว่า 7,000 เหตุการณ์ ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนถึง 1.2 ล้านชีวิตและบาดเจ็บอีกกว่า 4 พันล้านชีวิต แต่มนุษย์ก็ไม่อาจป้องกันตนเองจากภัยพิบัติเหล่านี้ได้ เราจึงต้องพึ่งพาระบบทางธรรมชาติ (Natural System) มาป้องกันเราจากภัยพิบัติที่มีโอกาสเกิดขึ้นและยังคงทวีความรุนแรงและถี่มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
ระบบทางธรรมชาตินี้ เช่น ระบบนิเวศป่าชายเลน ซึ่งคือระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งมักเป็นสถานที่แรกที่ป้องกันคลื่นและภัยน้ำท่วม ด้วยลักษณะพิเศษที่มีเอกลักษณ์และโดดเด่นของระบบนิเวศป่าชายเลนที่มีพันธุ์พืชที่โดดเด่นมีความจำเพาะเจาะจง โดยพืชเหล่านี้มักมีระบบรากที่บางส่วนอยู่เหนือผิวดิน มีลักษณะรากที่หนาและแข็ง มีความสลับซับซ้อน เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น เช่น พายุที่ทำให้เกิดคลื่นและลมที่รุนแรง ป่าชายเลนเปรียบเสมือนป้อมปราการด่านแรกที่คลื่นและลมต้องเคลื่อนที่ผ่าน