เปิดโปงการ ค้าสัตว์ป่า ในแอฟริกา ที่อาจทำให้ป่าไม่เหลืออะไรให้ล่า
ความต้องการเนื้อสัตว์ป่าในฐานะส่วนประกอบของ ‘อาหารมื้อหรู’ ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว กำลังทำให้ป่าไม่เหลืออะไร และการ ค้าสัตว์ป่า ยังเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรง
การ ค้าสัตว์ป่า เชิงพาณิชย์กำลังทำให้สัตว์หายไปจากป่าต่างๆ ในแอฟริกาและทั่วโลก
งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าการบริโภคสัตว์ป่าทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประจำถิ่นกว่า 300 สายพันธุ์ต้องเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในลุ่มน้ำอเมซอนเพียงแห่งเดียว สัตว์กว่า 200 สายพันธุ์ถูกล่า หรือคิดเป็นจำนวนกว่าหนึ่งล้านตันต่อปี
นอกจากนี้ การบริโภคสัตว์เหล่านี้ยังไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ในชุมชนห่างไกลเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในเมืองต่างๆ อีกด้วย ในเอเชีย อุปสงค์ที่มากขึ้นทำให้ตลาดเนื้อสัตว์ป่าเติบโต ส่วนในมาดากัสการ์ เนื้อลีเมอร์ซึ่งบริโภคกันในชนบทนั้นก็กลายมาเป็นอาหารของนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก และการที่เนื้อสัตว์ป่าเหล่านี้กลายเป็นอาหารฟุ่มเฟือยในเมืองนั้นก็ส่งผลให้การอยู่รอดของลีเมอร์บางสายพันธุ์ต้องตกอยู่ในความเสี่ยง
เนื้อสัตว์ป่าคืออาหารหลักสำหรับหลายชุมชนห่างไกลในแอฟริกากลางมาอย่างยาวนาน แต่ในขณะนี้ สิ่งที่ทำให้บรรดากลุ่มอนุรักษ์กังวลที่สุดคือความเสียหายที่การล่าสัตว์มากเกินควรเนื่องจากอุปสงค์เนื้อสัตว์ป่าที่ทะยานสูงขึ้นในเมืองใหญ่ต่างๆ — โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซซาวิลและกินชาซาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกซึ่งอยู่ติดกัน และมีประชากรรวมกัน 16 ล้านคน — มีระบบนิเวศที่เปราะบาง
“เนื้อสัตว์ป่ากว่าห้าล้านตันถูกนำออกมาจากป่าต่างๆ ในที่ราบลุ่มคองโกในแต่ละปีครับ และพวกมันส่วนใหญ่ถูกค้าในเมืองในฐานะสินค้าฟุ่มเฟือย ไม่ใช่สิ่งยังชีพ” Lude Kinzonzi ผู้ช่วยรณรงค์ประจำโครงการเนื้อสัตว์ป่าของสมาคมอุนรักษ์สัตว์ป่า (WCS’s Bushmeat Project) โครงการที่พยายามอนุรักษ์สัตว์เหล่านี้ด้วยการลดอุปสงค์การบริโภคพวกมันในเมือง กล่าว “หากการนำพวกมันออกจากป่าในระดับนี้ยังคงดำเนินต่อไป สัตว์ป่าบางสายพันธุ์จะต้องสูญพันธุ์ครับ” เขากล่าว “พวกเราหวังว่าการรณรงค์นี้จะจูงใจให้ผู้คนในเมืองเลือกบริโภคสัตว์อื่นๆ ที่ถูกเพาะเลี้ยงขึ้นในท้องถิ่นแทนสัตว์ป่า”
เรื่อง RENE EBERSOLE
ภาพ BRENT STIRTON
แปล ภาวิต วงษ์นิมมาน
ค้างคาวซึ่งถูกจับเป็นจำนวนมากจากเกาะป่าเล็กๆ แห่งหนึ่งในแม่น้ำคองโกเหล่านี้จะถูกส่งไปที่บราซซาวิลล์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐคองโก เพื่อนำไปเป็นอาหารพ่อค้าค้างคาวในบราซซาวิลมักใช้ฟันเลาะกระดูกค้างคาวให้ลูกค้า สัตว์เหล่านี้คือพาหะของโรคต่างๆ มากมายเรือคือพาหนะสำหรับขนส่งสัตว์ป่าสายพันธุ์ต่างๆ ไปที่กรุงกินชาซา ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลกภายในปี 2050 จระเข้แคระที่เห็นในภาพนี้เป็นสายพันธุ์ซึ่งมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable)กองซากลิงสำหรับขายที่ตลาดแห่งหนึ่งในเมือง Ouésso สาธารณรัฐคองโก เนื้อที่ขายที่นี่ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปที่บราซซาวิลด้วยราคาที่แพงขึ้นกว่าสองเท่าแม่ค้าขายเนื้อสัตว์ป่านานาชนิดที่ตลาดกลางคืนยอดนิยมแห่งหนึ่งในบราซซาวิล ช้างและตัวนิ่มที่ใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ถูกสั่งห้ามขาย แต่บางครั้งพวกมันก็ถูกลักลอบค้าแม่ค้าที่ตลาดแห่งหนึ่งใน Ouésso นำลิงทั้งตัวใส่ย่ามให้ลูกค้า เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในครัวเรือนเช่นไก่และหมูมีจำนวนจำกัด แต่ชาวเมืองบางคนก็กำลังเข้าร่วมโครงการเพาะเลี้ยงไก่ในพื้นที่ชาวพื้นเมือง Mbuti ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกล่าสัตว์ป่าเพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยตาข่ายที่ทำจากเถาวัลย์ โดยสัตว์ที่ถูกจับส่วนมากคือสัตว์ขนาดเล็กลูกลิงชิมแปนซีที่น่าจะกำพร้าเนื่องจากแม่ของมันถูกฆ่าตัวนี้ได้รับที่พึ่งพิงที่ศูนย์ฟื้นฟูสัตว์ป่า Lwiro ณ เมืองคิวูใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ลิงกำพร้าเหล่านี้มักถูกค้าเป็นสัตว์เลี้ยงผิดกฎหมายหากพวกมันไม่ได้รับการช่วยเหลือพ่อค้าพยายามขายตัวนิ่มในราคา 60 ดอลลาร์สหรัฐ (2,100 บาท) ที่กินชาซา ตัวนิ่มบางตัวที่ถูกขายในแอฟริกาจะถูกขนส่งมายังเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเนื้อของพวกมันถูกมองว่าเป็นอาหารโอชะ และเกล็ดของพวกมันถูกใช้เป็นส่วนประกอบของยาแผนโบราณทหารจากกองกำลังป้องกันตนเองแห่งอูกันดาเดินสวนกับชาวบ้านที่แบกเนื้อสัตว์ป่าบนหลัง ระหว่างการลาดตระเวนที่ Mboki สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทหารและกลุ่มกบฐในแอฟริกามักค้าขายเนื้อสัตว์ป่าซึ่งเร่งให้สัตว์เหล่านี้หายไปจากป่ามากขึ้นเจ้าหน้าที่ภาคสนามจากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่ารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ เช่นละมั่งที่ถูกยิงในเขตสัมปทานป่าไม้ซึ่งอนุญาตให้มีการล่าสัตว์ภายใต้ข้อบังคับเหล่านี้ การตรวจสอบในระยะยาวช่วยบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพในป่าและหาคำตอบว่าการล่าสัตว์สามารถเป็นไปอย่างยั่งยืนได้หรือไม่Jonas Manguba ชาวพื้นเมืองเผ่า Baka พึ่งพาป่าเพื่อหาอาหารและรายได้มาอย่างยาวนาน เช่นลิงที่ถูกยิงโดยถูกกฎหมายใกล้กับ Kobo ในภาคเหนือของคองโกในภาพนี้ เขากล่าวว่าในทุกวันนี้ สัตว์ป่ามีจำนวนน้อยลงกว่าเมื่อครั้งเขายังเป็นเด็กแทนที่จะใช้เนื้อสัตว์ป่า อาหารคองโกของเชฟ Honor Toudissa กลับเลือกใช้ส่วนผสมธรรมชาติราคาถูกและสดใหม่จากตลาดตากอากาศในบราซซาวิลแทนเด็กๆ ในบ้านเด็กกำพร้ากินหนอนตัวอ่อนของด้วงงวงมะพร้าวหรือ mpose อันเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกแทนเนื้อสัตว์ยอดนิยม ตัวอ่อนเหล่านี้ถูกเพาะเลี้ยงโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไร Farms for Profit เหล่านักอนุรักษ์หวังว่าพวกมันจะเป็นแหล่งอาหารที่สามารถจุนเจือหมู่บ้านต่างๆ ได้การค้าสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค Blandine Bosaku วัย 18 ปีผู้ป่วยด้วยโรคฝีดาษลิง และลูกสาววัยหกขวบ ใช้เวลาในหอผู้ป่วยกักตัวในโรงพยาบาลที่จังหวัด Équateur สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หลังลูกสาวคนโตของเธอเสียชีวิตลงด้วยโรคดังกล่าว
© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.