๘๙ พรรษา มหาราชในดวงใจ : ชัยชนะของการพัฒนา

รอบนักษัตรที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๒๕๔๒)

“การพัฒนาแหล่งน้ำนั้นในหลักใหญ่ก็คือการควบคุมน้ำให้ได้ดังประสงค์ทั้งปริมาณและคุณภาพกล่าวคือเมื่อน้ำมีปริมาณมากเกินไปก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายได้และในขณะที่เกิดภาวะขาดแคลนก็จะต้องมีน้ำกักเก็บไว้ใช้อย่างเพียงพอทั้งมีคุณภาพเหมาะสมแก่การเกษตรการอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภคปัญหาอยู่ที่ว่าการพัฒนาแหล่งน้ำอาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบ้างแต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้วเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนสูญเสียทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งส่งผลกระทบกระเทือนแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ความห่วงใยในสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนปัญหาด้านต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่พสกนิกรต้องเผชิญ ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา และพระอัจฉริยภาพอันเป็นที่ประจักษ์ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ ดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า ๔,๐๐๐ โครงการที่ได้พระราชทาน โครงการเหล่านี้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของหลายฝ่ายมุ่งแก้ปัญหาและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติและที่สำคัญที่สุดคือความผาสุกของประชาชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดตั้ง“มูลนิธิชัยพัฒนา”ขึ้นโดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการพัฒนาต่างซึ่งหากทำตามระเบียบราชการอาจเกิดความไม่สะดวกไม่ทันท่วงทีทั้งนี้มุ่งที่ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างแท้จริงมูลนิธิชัยพัฒนาได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่๑๔มิถุนายนพ.ศ.๒๕๓๑

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างที่มูลนิธิชัยพัฒนาจัดตั้งขึ้นและให้การสนับสนุนการดำเนินงานกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศโครงการสำคัญมีอาทิแนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงดิน โครงการน้ำดีไล่น้ำเสียโครงการฝนหลวงโครงการเครื่องดักหมอก(เป็นการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ)การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโครงการพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณธรรมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม  และการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้เป็นต้น

โครงการเส้นทางเกลือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นที่มีปัญหาขาดแคลนสารไอโอดีนอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามหลักสังคมวิทยาการแพทย์(MedicalSociology)ทรงกำหนดให้ใช้พื้นที่อำเภอสะเมิงจังหวัดเชียงใหม่เป็นต้นแบบในการศึกษาแก้ไขปัญหาค้นหาเส้นทางเกลือตั้งแต่แหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค

โครงการบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำโครงการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรและโครงการทฤษฎีใหม่

เรื่องหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญอย่างมาก คือการจัดการทรัพยากรน้ำ ด้วยทรงเล็งเห็นความสำคัญของน้ำที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ด้วยเหตุนี้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่าครึ่งจึงมักเกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำและชลประทาน เช่น โครงการฝนหลวง (ล่าง)

ทฤษฎีใหม่(NewTheory)นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากในการเพาะปลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝนแล้วเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเนื่องจากความแปรปรวนของสภาวะดินฟ้าอากาศซึ่งแม้จะมีการขุดบ่อเก็บน้ำไว้ใช้ก็ยังไม่เพียงพอจึงเสนอแนวทางจัดการที่ดินและน้ำเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ที่เรียกว่าทฤษฎีใหม่ก็เพราะมีพระราชดำริให้มีการบริหารและจัดการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเป็นสัดส่วนและยั่งยืนเช่นขุดสระน้ำทำนาข้าว ปลูกไม้ผลยืนต้นและสร้างที่อยู่อาศัยเป็นแนวทางที่ไม่เคยมีผู้ใดคิดและทำมาก่อนประการต่อมาคือมีการคำนวณโดยหลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้เพียงพอตลอดฤดูเพาะปลูกทั้งปีและสุดท้ายคือมีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อยทั้งหมดนี้เป็นทฤษฎีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสในโอกาสที่คณะบุคคลต่างเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่๔ธันวาคมพ.ศ.๒๕๓๗ความตอนหนึ่งว่า“ชัยชนะของประเทศนี้โดยงานของมูลนิธิชัยพัฒนานั้นก็คือความสงบ…เป็นเมืองไทยที่มีความเจริญก้าวหน้าจนเป็นชัยชนะของการพัฒนาตามที่ได้ตั้งชื่อมูลนิธิชัยพัฒนาชัยของการพัฒนานี้มีจุดประสงค์คือความสงบความเจริญความอยู่ดีกินดี”

โครงการคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

 

อ่านเพิ่มเติม : ๘๘ พรรษา มหาราชในดวงใจ : พระอัจฉริยภาพเกริกไกร๘๘ พรรษา มหาราชในดวงใจ : พระบารมีแผ่ไพศาล

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.