ในยุคสมัยปัจจุบัน โลกอยู่ในภาวะที่เต็มไปด้วยมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางสังคม ธรรมชาติถูกทำลาย การขาดแคลนทรัพยากร และปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่พร้อมส่งผลถึงอนาคตของทุกคนบนโลกใบนี้ มนุษย์โลกต่างกังวลถึงโฉมหน้าของโลกในอนาคตที่อาจเป็นช่วงระส่ำระสาย อนาคตของคนรุ่นใหม่ที่อาจต้องอาศัยอยู่บนโลกที่ไม่น่าอภิรมย์
เพื่อหลีกเลี่ยงจากสภาวะดังกล่าว ความคิดเรื่อง “ความยั่งยืน” (Sustainability) กลายเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาโลก โดยความหมายของความยั่งยืนคือการหาแนวทางตอบสนองความต้องการของมนุษย์เราพร้อมการนึกถึงอนาคตโลกและคนรุ่นหลัง ทั้งในแง่มุมของทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรทางสังคม เพื่อให้โลกยังคงมีความสามารถในการดำรงอยู่ได้ในอนาคต
องค์กรสหประชาชาติได้นำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนของโลกมาเป็นข้อแนะนำการสร้างการพัฒนาของประเทศต่างๆ โดยเมื่อปี 2015 บรรดาผู้นำโลกได้รับรองข้อตกลงใน “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals – SDGs) อันเป็นเป้าหมายในเรื่องของการพัฒนาในระดับนานาชาติให้เป็นทิศทางการพัฒนาของโลกนับตั้งแต่ปี 2015 – 2030 โดยเป้าหมายเหล่านี้เป็นการเรียกร้องในระดับโลกเพื่อเป็นมาตรการในการกำจัดความยากจน ปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลก และเป็นหลักประกันว่าผู้คนบนโลกจะอยู่ในความสงบสุขและรุ่งเรือง
เป้าหมายการพัฒนาดังกล่าว มี 17 ประเด็น ดังต่อไปนี้
เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน
เป้าหมายที่ 2 การขจัดความหิวโหย
เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 4 การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ
เป้าหมายที่ 6 การมีน้ำสะอาดและการมีสุขอนามัยที่ดี
เป้าหมายที่ 7 การมีพลังงานที่สะอาดและราคาถูก
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมงานที่มีคุณค่าและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 9 การส่งเสริมอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมายที่ 10 ลดความเลื่อมล้ำ
เป้าหมายที่ 11 การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 12 มีการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายที่ 14 การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 15 การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
เป้าหมายที่ 16 การสร้างสังคมสันติสุข การสร้างความยุติธรรมและสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวม
เป้าหมายที่ 17 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยเป้าหมายเหล่านี้คือเป็นพันธกิจที่สำคัญทุกคนบนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรภาคธุรกิจเป็นผู้ใช้งานทรัพยากรประเภทต่างๆ บนโลกอย่างมากมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน และในตอนนี้ ภาคธุรกิจในองค์กรต่างๆ ได้มีการดำเนินนโยบายเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้ธุรกิจของตนสามารถขับเคลื่อนได้ในระยะยาวพร้อมกับสังคมที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน รวมไปถึงภาคธุรกิจใหญ่ในประเทศไทย ที่เตรียมพร้อมจัดงานนิทรรศการเพื่อแสดงศักยภาพในการนโยบายความยั่งยืน จากปัจจุบันสู่อนาคต ในงาน Thailand Sustainability Expo 2020 (TSX) ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability)
การจัดงานครั้งนี้นับเป็นปรากฏการณ์ความร่วมมือครั้งสำคัญ และยิ่งใหญ่ขององค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนของประเทศไทยที่จะมาร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการนำของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (มหาชน) (TU), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) รวมถึงเครือข่าย TSCN (Thailand Supply Chain Network) หรือ เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย และองค์กรอื่น ๆ
การจัดงานในครั้งนี้ได้น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “สืบสาน รักษา และต่อยอด” มาเป็นแนวทางในการจัดงานตามศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมเปิดโอกาส และสร้างเครือข่ายสังคมของการมีส่วนร่วมสู่การนำไปปฏิบัติที่ใช้ได้ผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยมีกำหนดจัดงานนี้ขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2563 นี้ ณ ห้างสรรพสินค้า สามย่านมิตรทาวน์ ชั้น G ชั้น 3 และ ชั้น 5
งานนี้จึงอาจเรียกว่าเป็นงานใหญ่แห่งปีที่เป็นการรวมตัวขององค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนของประเทศไทยที่จะมาร่วมกันสร้าง “พลังร่วม” ในครั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนอย่างแท้จริง
ข้อมูลประชาสัมพันธ์จาก https://tsx.thailandsustainability.com
ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/tsxofficial/ หรือ http://tsx.thailandsustainability.com