ความงามอันพรั่นพรึงเมื่อสายฟ้าฟาด

ความงามอันพรั่นพรึงเมื่อ สายฟ้าฟาด

เมื่อฤดูใบไม้ผลิในสหรัฐฯมาถึง ฟ้าจะส่งเสียงคำรามครืนครั่นด้วยความกราดเกรี้ยว ก่อนจะปลดปล่อยแสงแลบแปลบปลาบพร้อมสายลมที่เริ่มก่อตัวกลายเป็นพายุทอร์นาโด ภาพเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยสำหรับชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในแถบตอนกลางของประเทศ

แม้ว่าพายุมรสุมฤดูร้อนจะมีพลังทำลายล้างรุนแรง แต่ก็ยังงดงาม อย่างที่เราจะได้เห็นจากภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นพลังของธรรมชาติอันน่าเกรงขามดังต่อไปนี้

นกในทุ่งหญ้าที่ที่ราบเกรตเพลนส์เดินลุยชายน้ำขณะที่พายุเริ่มก่อตัวขึ้นทางด้านหลัง
ภาพถ่าย Randy Olson, National Geographic Creative
พายุงวงช้าง (landspout tornado) ตัดผ่านทุ่งนา แม้ว่าพายุชนิดนี้จะก่อให้เกิดความเสียหาย แต่พายุงวงช้างที่มีวงกรวยแคบบิดเกลียว ซึ่งก่อตัวใต้เมฆคิวมูลัส (cumulus cloud) มักไม่มีพลังทำลายล้างเท่าใดนัก
ภาพถ่าย Jim Reed, National Geographic Creative
ฟ้าพิโรธส่งเสียงคำรามด้วยความโกรธาเมื่อพายุก่อตัวขึ้นท่ามกลางความมืดมิดของรัตติกาล สหรัฐฯซึ่งมีพายุทอร์เนโดเกิดขึ้นราว 1,000 ครั้งในแต่ละปี เป็นจุดร้อน (hotspot) ของพายุฟ้าคะนองและทวิสเตอร์ (twister – ทอร์นาโดที่พัดพาฝุ่นหรือเศษดินไปด้วย) ที่เกิดตามมา
ภาพถ่าย Bruce Dale, National Geographic Creative
รัฐเนบราสกา แคนซัส โอคลาโฮมา เทกซัสตอนเหนือ โคโลราโดตะวันออก และเซาท์ดาโคตาตอนใต้ เป็นที่รู้จักในฐานะ “ตรอกทอร์นาโด” (Tornado Alley) เพราะเป็นสถานที่กำเนิดพายุซึ่งมีพลังทำลายล้างรุนแรงที่สุดในโลกบางลูก
ภาพถ่าย Carsten Peter, National Geographic Creative
พายุงวงช้างที่เกิดขึ้นจวบกันตัดผ่านทุ่งนาไปพร้อมๆกัน พายุงวงช้างเป็นพายุที่ไม่ใช่พายุฟ้าคะนองแบบซูเปอร์เซลล์ มีกำลังอ่อนและมักไม่ค่อยก่อให้เกิดความเสียหายเท่าใดนัก
ภาพถ่าย Jim Reed, National Geographic Creative
ฟ้าแลบบนผืนฟ้าสีเทาหม่นขณะที่เมฆฝนเคลื่อนเข้ามาใกล้ องค์ประกอบที่จะทำให้เกิดพายุฟ้าคะนองคือ ความชื้นใกล้พื้นผิวโลกที่อุ่นปะทะกับอากาศแห้งและเย็นด้านบน
ภาพถ่าย Michael Nichols, National Geographic Creative
นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้พายุฝนฟ้าคะนองทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ภาพถ่าย Daniel Almer, 500 PX, National Geographic Creative
พายุฝนฟ้าคะนองลูกใหญ่ตกกระหน่ำลงบนฟลินต์ฮิลส์ในเมืองสตรองซิตี รัฐแคนซัส รัฐนี้เป็นหนึ่งในหลายรัฐที่รวมกันแล้วได้ชื่อว่า “หุบเขาทอร์นาโด” (Tornado Valley)
ภาพถ่าย Jim Richardson, National Geographic Creative
สายฟ้าแลบตัดผ่านเมฆยามเย็นเหนือยอดเขาในทะเลทรายเรดของรัฐไวโอมิง
ภาพถ่าย Joel Sartore, National Geographic Creative
ฟ้าแลบหลายสายปรากฎตัวขึ้นพร้อมกันกลางท้องฟ้ายามราตรี
ภาพถ่าย Joel Sartore, National Geographic Creative
อสุนีบาตกลุ่มหนึ่งสว่างวาบขึ้นบนฉากหลังที่เป็นท้องฟ้าสีม่วงในแซนด์ฮิลส์ เมืองโอกัลลาลา รัฐเนแบรสกา
ภาพถ่าย Jim Richardson, National Geographic Creative
ทอร์นาโดระดับเอฟ 4 เคลื่อนที่เข้าหารถตู้ที่ไล่ตามพายุ การจัดระดับพายุที่เรียกว่า เอฟ หรือมาตรวัดฟุจิตะ (Fujita) ใช้ในการวัดความเร็วลม โดยอิงจากระดับความเสียหายอันเกิดจากทอร์เนโด ทอร์นาโดระดับเอฟ 4 ซึ่งมีพลังทำลายร้างรุนแรง อาจมีความเร็วลมตั้งแต่ 333 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถึง 418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาพถ่าย National Geographic Creative
พายุซูเปอร์เซลล์เข้าถล่มรัฐเซาท์ดาโคตา ทำให้เกิดฟ้าผ่าจากเมฆลงสู่พื้นดิน (cloud-to-ground bolt) พายุชนิดนี้เป็นพายุอันตราย เพราะมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บ และทอร์นาโด รวมกัน
ภาพถ่าย Jim Reed, National Geographic Creative
สายฟ้าสายหนึ่งปรากฎตัวแบบฉายเดี่ยวท่ามกลางท้องฟ้าสีทอง
ภาพถ่าย Carsten Peter, National Geographic Creative
เมฆฝนที่เรี่ยลงต่ำก่อตัวขึ้นเหนือแม่น้ำสายหนึ่งทางตะวันตกของออสเตรเลีย
ภาพถ่าย Randy Olson, National Geographic Creative
กลุ่มเมฆที่หาดูได้ยาก เรียกว่าเมฆ Mother Ship เคลื่อนตัวผ่านด้ามพื้นที่รูปด้ามกระทะเทกซัส (บริเวณผืนแผ่นดินที่ยาวและแคบ) หรือเทกซัสแพนแฮนเดิล
ภาพถ่าย Carsten Peter, National Geographic Creative
ฟ้าแลบโผล่พ้นจากกลุ่มเมฆหนา ขณะที่ฝนเริ่มตกอยู่ทางด้านหลัง
ภาพถ่าย Randy Olson, National Geographic Creative
ชาวนาสองคนหยุดทำงานเพื่อยืนดูพายุฟ้าคะนองที่กำลังก่อตัวขึ้นบนเนินแซนด์ฮิลส์ เมืองโอกัลลาลา รัฐเนแบรสกา ปี 2003
ภาพถ่าย Jim Richardson, National Geographic Creative

 

อ่านเพิ่มเติม

หยัดยืนขึ้นอีกครั้ง หลังพายุพัดถล่ม

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.