ผลงานชนะเลิศ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 8: Salween, A Living Heritage
ผลงานรางวัลชนะเลิศ การประกวดภาพถ่ายสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 8 โดย Matias Bercovich แนวคิดของสารคดี Salween, A Living Heritage
The Salween, running along the border between Myanmar and Thailand, is Southeast Asia’s longest free-flowing river and the lifeblood of the Karen indigenous people who have inhabited its basin for thousands of years. Throughout generations, Karen communities have developed their ways of life in harmony with the extraordinary local biodiversity. But ongoing plans for hydropower projects, protracted conflict, and rapid socioeconomic changes have continuously threatened the survival of this vital heritage. This story delves into the intimate connection of local communities to their ancestral lands and the traditional beliefs, rituals, and practices that shape this relationship. By recording the human-nature interactions that underpin Karen people’s existence, from their identity and livelihoods to their health and conservation efforts, I aim to address the cultural and environmental value of the Salween basin and raise awareness of the urgent need to protect it.
‘สาละวิน’ มรดกที่ยังมีชีวิต
แม่น้ำสาละวินที่ไหลไปตามชายแดนระหว่างไทยและพม่าคือแม่น้ำที่ไหลไปอย่างอิสระที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นดังสายเลือดที่หล่อเลี้ยงชนพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำแห่งนี้หลายพันปี พวกเขาได้พัฒนาวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นมาหลายชั่วอายุคน แต่การวางแผนโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำหลายแห่งที่ดำเนินอยู่ ปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรงได้คุกคามการอยู่รอดของมรดกที่ยังมีชีวิตแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง
นี่คือเรื่องราวที่เจาะลึกถึงความเชื่อมโยงอันใกล้ชิดระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับแผ่นดินของบรรพบุรุษ รวมไปถึงความเชื่อแบบดั้งเดิม พิธีกรรม และแนวทางปฏิบัติที่สร้างความสัมพันธ์นี้ขึ้นมา ผมหวังที่จะบอกเล่าวัฒนธรรมและคุณค่าของธรรมชาติในลุ่มแม่น้ำสาละวิน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการปกป้องสิ่งเหล่านี้ ผ่านการบันทึกเรื่องราวของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่สนับสนุนการมีตัวตนของชาวกะเหรี่ยง นับตั้งแต่อัตลักษณ์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพ ไปจนถึงความพยายามในการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน
In the banks of the Salween, animist villagers perform a ceremony known as Lu Htee Hta, literally ‘to make an offering at the mouth of the stream,’ praying to nature spirits to protect their communities and lands from the threats of natural disasters and a series of five dams planned on the river. ที่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ชาวบ้านที่นับถือผีจะทำพิธีที่เรียกว่า ลูตีแท ซึ่งแปลว่า ‘ การเซ่นไหว้ที่ปากแม่น้ำ ‘ โดยอธิษฐานต่อธรรมชาติให้ปกป้องชุมชนจากภัยธรรมชาติและการก่อสร้างเขื่อนทั้งห้าที่เกิดขึ้นในแม่น้ำ
Running along the border between Myanmar and Thailand, the Salween remains Southeast Asia’s longest free-flowing river. However, after the 2021 military coup, the junta declared their intentions to resume halted hydropower projects throughout the country, including the Hatgyi Dam in Karen State. แม่น้ำสาละวินที่ไหลไปตามพรมแดนระหว่างพม่าและไทยยังคงเป็นแม่น้ำที่ไหลอย่างเป็นอิสระที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม หลังการรัฐประหารเมื่อ พ . ศ . 2564 รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศว่าจะกลับมาดำเนินการโครงการไฟฟ้าพลังน้ำทั่วประเทศที่หยุดชะงักไป ซึ่งรวมไปถึงเขื่อนฮัตจีในรัฐกะเหรี่ยง
Daw Lar Lake, Karen State’s largest freshwater lake, is located eighty kilometers downstream of the Hatgyi Dam site. Its watershed biodiversity is vital to the eight thousand people who live in the surrounding villages and have sustainably managed the area for generations. ณ ทะเลสาบดอลา ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในรัฐกะเหรี่ยงซึ่งตั้งอยู่ห่างจากพื้นที่ปลายน้ำเขื่อนฮัตจีไป 80 กิโลเมตร ความหลากหลายทางชีวภาพของลุ่มน้ำแห่งนี้มีความสำคัญต่อประชากร 8,000 คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรอบๆ ที่ได้จัดการพื้นที่นี้อย่างยั่งยืนมาหลายชั่วอายุคน
Free Burma Rangers cross the Yunzalin River, one of the main Salween tributaries, as they embark on a relief mission to aid civilians affected by the escalation of conflict in Karen State. ทหารของขบวนการปลดปล่อยอิสรภาพพม่า ( Free Burma Rangers ) ข้ามแม่น้ำหยุนซาลิน ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักของสาละวิน ขณะที่พวกเขาเริ่มปฏิบัติภารกิจบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในรัฐกะเหรี่ยง
Every year on March 14, the International Day of Action for Rivers, Karen communities gather along the Salween River to condemn the planned construction of the Hatgyi Dam in Karen State. The dam would flood at least forty-one Karen villages and two wildlife sanctuaries. วันที่ 14 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสากลแห่งปฏิบัติการเพื่อแม่น้ำ ชุมชนชาวกะเหรี่ยงรวมตัวกันริมแม่น้ำสาละวินเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อแผนการก่อสร้างเขื่อนฮัตจีในรัฐกะเหรี่ยง ด้วยความคิดที่ว่าเขื่อนจะทำให้น้ำท่วมหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงอย่างน้อยสี่สิบเอ็ดแห่งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสองแห่ง
In Ler Mu Plaw village, Saw Maw Lahe uses a water-powered rice pounder to remove the hard outer shell of grains after the harvest. The Karen are mostly subsistence farmers practicing paddy and rotational farming. However, decades of conflict have caused their continuous food insecurity. ในหมู่บ้านเลอมูพลอ Saw Maw Lahe ใช้เครื่องตำข้าวพลังน้ำเพื่อเอาเปลือกนอกที่แข็งของเมล็ดข้าวออกหลังการเก็บเกี่ยว ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเพื่อยังชีพและทำไร่หมุนเวียน อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งหลายทศวรรษทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างต่อเนื่อง
Since the 2021 Myanmar military coup, humanitarian relief has been vital for the survival of displaced people whose livelihoods have been disrupted. The Salween, historically a geographic barrier dividing Karen communities, is now a crucial corridor for the flow of aid along the Myanmar-Thai border. นับตั้งแต่การรัฐประหารของทหารเมียนมาเมื่อ พ . ศ . 2564 การบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมซึ่งมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตความอยู่รอดของผู้พลัดถิ่นต้องหยุดชะงัก แม่น้ำสาละวินซึ่งในอดีตเป็นเส้นแบ่งเขตชุมชนชาวกะเหรี่ยง ปัจจุบันกลายเป็นช่องทางสำคัญในการส่งต่อความช่วยเหลือตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา
Villagers cross the Yunzalin River with their domesticated elephants. For centuries, Karen indigenous people have used elephants for farming, logging, and transporting heavy loads across the region’s rugged mountainous terrain. ชาวบ้านข้ามแม่น้ำหยุนซาลินกับช้างที่เลี้ยงไว้ เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่ชนพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงใช้ช้างในการทำฟาร์ม ตัดไม้ และบรรทุกสิ่งของหนักๆ ในพื้นที่ภูเขาที่ทุรกันดารของภูมิภาค
“Kaw” is a Karen word that means “country.” Kaw is also the Karen indigenous land management system, which integrates the management of aquatic habitats, household lands, and communal forests, creating a diverse ecosystem that allows biodiversity to continue to thrive in the inhabited landscape. “ คอ ” เป็นคำภาษากะเหรี่ยงที่แปลว่า “ ประเทศ ” คอยังเป็นระบบการจัดการที่ดินของชนพื้นเมืองกะเหรี่ยง ซึ่งรวมการจัดการแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ที่ดินครัวเรือน และป่าชุมชน ทำให้เกิดระบบนิเวศที่หลากหลายซึ่งช่วยให้ความหลากหลายทางชีวภาพเติบโตต่อไปในภูมิประเทศที่มีคนอาศัยอยู่
Saw La Shwe Moo is one of the custodians of the K’chaw Hter Community Forest, an ecological, social, and spiritual sanctuary for Karen indigenous people encompassing 14,604 acres in the Salween basin. Saw La Shwe Moo เป็นหนึ่งในผู้พิทักษ์ป่าชุมชน K’chaw Hter ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางนิเวศวิทยา สังคม และจิตวิญญาณสำหรับชนพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงบนพื้นที่ ราว 59 ตารางกิโลเมตร ( 14,604 เอเคอร์) ในลุ่มน้ำสาละวิน
© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.