ถอดความคิด จากเบื้องหลังภาพถ่ายสารคดี “10 ภาพเล่าเรื่อง” FOLLOW THE RIVER
ภาพมือของอากง เก้าแช อายุ 90 ปี บรรพบุรุษของครอบครัวกับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ที่ใช้สำหรับอพยพเข้ามาประเทศไทย ตอนอายุ 12 ปีเรื่องเล่าของอาชีพนักประดาน้ำหาสมบัติบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงคุ้งบางกะเจ้า
วัฒนธรรมและประเพณีของชาวพิษณุโลกที่เกี่ยวข้องกับแม่นํ้า จนถูกเรียกกันว่า “เมืองสองแคว” หรือจะเป็นวิถีชีวิตชาวมุสลิมเรือนแพอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ตลอด2ฝั่งคลองบริเวณปากคลองบางหลวง
ทั้งหมดคือส่วนหนึ่งบนเวที Talk Stage ในงาน Sustainability Expo 2024 ที่เพิ่งผ่านมา
เราเชื่อว่าทุกภาพถ่ายสารคดีล้วนมีเรื่องเล่า นี่จึงเป็นบรรยากาศการเล่าเรื่องจากช่างภาพผู้เข้ารอบโครงการ “10 ภาพเล่าเรื่อง” FOLLOW THE RIVER โดย National Geographic ฉบับภาษาไทย
การประกวด “10 ภาพเล่าเรื่อง” จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 9 และการประกวดแต่ละครั้งมีเกณฑ์การคัดเลือกที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ ถึงเช่นนั้นจากภาพนับร้อยนับพันภาพ ในที่สุดเราก็ได้ผู้ชนะจากโจทย์ FOLLOW THE RIVER ซึ่งถือเป็นการจบโปรเจคประจำปีอย่างสมบูรณ์
การจัดประกวดภาพถ่ายสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่อง 2024 Photography Contest 2024 Season 9 ได้เริ่มขึ้นเมื่อช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ช่างภาพได้ออกเดินทางไปเก็บภาพผลงานและสร้างสรรค์เป็นสารคดี โดยหัวข้อการประกวดในปีนี้คือ “Follow the River” สะท้อนภาพของแม่น้ำแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปรียบดั่งเส้นเลือดของแผ่นดินที่เชื่อมสายน้าย่อยสู่ทะเล เป็นระบบนิเวศสาคัญที่เราอาจรู้เรื่องราวน้อยกว่าที่คิด
โดยเกณฑ์การคัดเลือกภาพถ่ายสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่อง 2024 คัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรอบแรกคัดเลือกผลงานที่เข้ารอบ 10 ผลงานผ่านช่องทางออนไลน์ และรอบที่ 2 จะเป็นการนาเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ ในรอบนี้ผู้ผ่านเข้ารอบทั้ง 10 ผลงานจะต้องเล่าเรื่องวิธีคิดและเบื้องหลังการทางานของตนเอง ซึ่งการตัดสินเป็นไปอย่างเข้มข้นจนได้ผู้ชนะรางวัลต่างๆ ตามลาดับ โดยผ่านเกณฑ์การตัดสินด้านความงาม การเลือกประเด็น และการร้อยเรียงเป็นสารคดี เผยมิติด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ทาให้เข้าใจแม่น้าในหลากหลายแง่มุมกว่าที่เคย และไม่อาจละเลยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำ
คุณอาศิรา พนาราม รองบรรณาธิการบริหารนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย
โกวิทย์ ผดุงเรืองกิจ บรรณาธิการบริหาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย กับผู้ชนะการแข่งขัน สำหรับกิจกรรม เบื้องหลังสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่องนี้ ได้ผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้ายจากโครงการ 5 ท่านมาร่วมบรรยาย ได้แก่
คุณพิมพ์ลภัส ถนอมพันธุ์ กับผลงาน “นักดำน้ำแห่งคุ้งบำงกระเจ้ำ” พื้นที่เกาะเล็กๆ ที่ล้อมด้วยแม่น้าเจ้าพระยา ที่ผูกพันกับผู้คนทั้งในชีวิตประจาวันและการประกอบอาชีพ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปทาให้บางอาชีพเริ่มหายไป อย่างอาชีพนักดาน้าหาสมบัติ ที่ปัจจุบันมีเรือสินค้าขนาดใหญ่ เรือโยง เรือข้ามฟากสัญจร ทาให้การหาสมบัติไม่ใช่เรื่องง่ายและปลอดภัยเหมือนเช่นเดิม
คุณกฤตนันท์ ตันตราภรณ์ กับผลงาน “The Mekong an Edible Civilization” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวแม่น้าโขงสายน้ายิ่งใหญ่ที่ทอดผ่านใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตและวัฒนธรรมของคนในภูมิภาค สายน้าที่อุดมสมบูรณ์ แต่ความสมบูรณ์นี้กาลังเผชิญภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการสร้างเขื่อน ซึ่งอาจทาลายความสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์และความยั่งยืนทางนิเวศวิทยา
คุณปิติวัฒน์ อังวัฒนพานิช กับผลงาน “ชำวจีนข้ำมทะเล Overseas Chinese” ภาพถ่ายที่เล่าเรื่องการเดินทางของชาวจีนที่หนีผลกระทบความยากจนและขาดแคลนอาหารจากสงครามจีน – ญี่ปุ่น และสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้ามน้าข้ามทะเลสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในหมุดหมายหลัก โดยเข้ามาทางอ่าวไทยสู่แม่น้าเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือสาเพ็งและวัดยานนาวา ด้วยเรือกลไฟทางทะเลจีนใต้ ก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะปฏิวัติและปิดการเดินทางเข้าออกประเทศ
คุณพอ อังคุระษี จาก “สองแคว” เมืองสีสันแห่งสายนํ้า วัฒนธรรมและประเพณีของชาวพิษณุโลกที่เกี่ยวข้องกับแม่นํ้ามาหลายยุคหลายสมัย
คุณวินนิวัตร ไตรตรงธนรัตน์ จากผลงาน “ตำนานแขกแพสายน้ำริมฝั่งเจ้าพระยา สู่คูคลองสายใยแห่งมัสยิด” ซึ่งเล่าถึงชนชาวมุสลิม อยู่รวมกันหนาแน่น รวมกันเป็นชุมชนริมแม่น้ำ
© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.