ทำไมหญ้าที่วิมเบิลดันถึงมีสีเขียวสดตลอด

ทำไมหญ้าที่ วิมเบิลดัน ถึงมีสีเขียวสดตลอด

ทุกๆ ปี จะมีนักเทนนิสที่น่าจับตามองจำนวน 256 คนแห่กันไปที่สนามหญ้าเรียบๆ ของ วิมเบิลดัน ในช่วง2 อาทิตย์แรกของมหกรรม สนามหญ้าจะเป็นสีเขียวชอุ่ม และแต่ละใบหญ้าของ 54 ล้านต้นจะถูกตัดให้มีความสูง 8 มิลลิเมตร

แต่ในช่วงท้ายของการแข่งขัน หญ้าจะเกิดความเสียหายครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการโดนเหยียบ การไถล หรือเหงื่อจากผู้เล่นที่ทำให้ดินสะสมเกลือเยอะเกินไป อย่างไรก็ตามข่าวดีก็คือหญ้ายังคงมีชีวิต

“ทุกงานที่เราทำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการแข่งขันชิงแชมป์ที่มีตลอดทั้งปี” Neil Stubley ผู้ดูแลสนามและผู้จัดการเรื่องการปลูกหญ้าของ วิมเบิลดัน กล่าว ซึ่งหลังจากวันแรกผ่านพ้นไป ที่พวกเขาทำได้ก็แค่ประคับประคองไม่ให้ปัญหาที่เกิดกับหญ้าร้ายแรงเกินไป “ยิ่งมีการเล่นมากเท่าไหร่ หญ้าก็ยิ่งถูกทำลายเท่านั้น มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”

ผู้ดูแลสนามของวิมเบิลดัน ใช้เวลาเป็นปีสำหรับการเตรียมหญ้าเพื่อให้มันถูกเหยียบย่ำเป็นเวลาสองสัปดาห์ในการแข่งขัน

และเหล่านี้คือเรื่องราววิวัฒนาการหลายล้านปีของหญ้า, ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในพืชช่วงหลายสิบผีที่ผ่านมา ตลอดจนการเตรียมพร้อมหญ้าอย่างระมัดระวัง ไปจนถึงการตรวจสอบข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ชั่วโมงต่อชั่วโมง เพื่อทำให้หญ้าคงความมีชีวิตชีวาและเขียวชอุ่ม

 

จุดเริ่มต้นของสีเขียว

ทุกวันนี้ ภูมิประเทศแบบทุ่งหญ้าครอบคลุมพื้นที่เป็นอันดับ 3 ของพื้นผิวโลก ทั้งหมด ทว่าหญ้าเป็นสิ่งใหม่มาก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาของวิวัฒนาการที่ผ่านมา

(ในอนาคต ภูมิประเทศของเราจะเป็นอย่างไร อยากรู้บ้างหรือเปล่า)

สายพันธุ์หญ้าที่เป็นญาติห่างๆ ของหญ้าในสนามวิมเบิลดันถือกำเนิดขึ้นบนโลกของเราเมื่อราว 70 ล้านปี ก่อน ไดโนเสาร์ที่ไม่ได้วิวัฒนาการเป็นนกอาจเริ่มต้นกินหญ้ายุคแรกๆ เป็นอาหาร จากนั้นหญ้าก็กระจายสายพันธุ์ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ด้วยรูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานที่ที่พวกมันเติบโต ตั้งแต่รูปร่างสูงและมีใบแผ่ออกอย่างสวยงามบนพื้นที่ราบทางตะวันตกของอเมริกาเหนือ ไปจนถึงหญ้าที่มีลักษณะพุ่มดกในป่าทางเอเชีย

หญ้าหลายชนิดวิวัฒนาการควบคู่ไปกับการเป็นอาหารของสัตว์แทะเล็มอย่าง แกะ และวัวควาย ซึ่งเหยีบย่ำและแทะกินใบหญ้าไปตลอดทางภูมิทัศน์ที่พวกมันเดินผ่าน แต่พวกมันก็วิวัฒน์ให้ตนเองกลับมาเขียวชอุ่มได้อีกครั้ง หลังจากโดนกินจนเหี้ยนไปแล้ว

หญ้าที่มีความมันวาว สั้น และหนาแน่น ซึ่งขึ้นปกคลุมสนามวิมเบิลดัน มีพื้นเพจากหญ้าในภูมิอากาศแบบทะเลของเกาะอังกฤษ ชาวนาสมัยก่อนปล่อยให้สัตว์ของพวกเขาได้แทะเล็มหญ้าตามธรรมชาติ ตลอดจนปลูกที่อยู่อาศัยของพวกเขาขึ้นตรงกลางบริเวณที่มีหญ้าอยู่ทั่วไป แต่ท้ายที่สุด เมื่อเวลาผ่านไปหญ้าก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งสำหรับกีฬาและสันทนาการไปแทน

จุดเริ่มต้นมาจากการเล่นกีฬาในร่ม ซึ่งในตอนนั้น ช่วงปลายทศวรรษ 1800 การเล่นเทนนิสบนสนามหญ้ากลางแจ้งยังไม่ถือกำเนิดขึ้นด้วยซ้ำ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงมาเล่นกีฬาบนสนามหญ้าเป็นครั้งแรก ในปี 1877 เมื่อการแข่งขันชิงแชมป์เทนนิสที่ประเทศอังกฤษถูกจัดขึ้น จึงได้มีการกำหนดให้เล่นบนสนามหญ้าอย่างเป็นทางการ

สนามหญ้าของวิมเบิลดันในช่วงแรกๆ เป็นการผสมผสานของสายพันธุ์หญ้าท้องถิ่น ซึ่งถูกปลูกอย่างระมัดระวังบนพื้นผิวของดินที่อัดแน่น และถูกตัดด้วยเครื่องไถหญ้าเล็กๆ ที่ลากด้วยม้า ทว่าสนามหญ้าก็ค่อนข้างยากที่จะควบคุมให้เขียวตลอด เพราะบางทีดอกแดนดิไลออนและดอกเดซี่จะพากันผุดขึ้นมา บางครั้งยังมีเชื้อราเกิดขึ้นตามสนามหญ้า ส่งผลให้ผู้เล่นต้องก้าวข้ามหญ้าบริเวณนั้น ซึ่งวิธีแก้ก็คือต้องเปลี่ยนหญ้าในบริเวณดังกล่าว

ในช่วงปี 1921 เมื่อสนามถูกย้ายไปยังสถานที่ที่ถูกจัดอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ห่างจากถนนไม่กี่ไมล์ ผู้ดูแลสนามนำแผ่นหญ้าเพื่อใช้คลุมสนามจากเมืองชายทะเล ซึ่งอยู่ห่างไปทางเหนือ 350 ไมล์มาใช้ ทว่าไม่มีใครอยากจะขนหญ้าน้ำหนักเป็นตันๆ เป็นระยะทาง 100 ไมล์ทุกๆ ปี ดังนั้นทีมงามจึงเริ่มปลูกหญ้าด้วยตัวเอง และพยายามทำสนามหญ้าให้มีสีเขียวชอุ่ม

 

สงครามสนามหญ้า

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 วิทยาศาสตร์การเกษตรได้รับความนิยมขึ้นมาก และยังมีผลประโยชน์ในทางกีฬาโลกอีกด้วย บรรดานักวิจัยทั่วโลกพากันมองหาหนทางที่จะเพาะพันธุ์และจัดการกับหญ้า เพื่อทำให้มันมีคุณค่าทางอาหารมากขึ้นในการปศุสัตว์, ทนต่อศัตรูพืชมากขึ้น, เติบโตเร็วขึ้น, เขียวขึ้น ตลอดจนมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมสำหรับการปูสนามโดยเฉพาะ

หลังการพัฒนาของสถาบันวิจัย Sports Turf หรือ (STRI) ในเมืองบิงเกิล ประเทศอังกฤษ ที่เข้ามาดูแลสนามหญ้าของวิมเบิลดันในปี 1951 พวกเขาจัดการกับหญ้าด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่การทดสอบยาฆ่าแมลงเพื่อกำจัดหนอน ไปจนถึงยาฆ่าวัชพืชเพื่อกำจัดดอกเดซี่ มีการผสมดินใหม่เข้าด้วยกันเพื่อเปลี่ยนความหนาแน่นของพื้น (ซึ่งจะส่งผลต่อความสูงของบอลที่เด้งขึ้นมาเมื่อกระทบพื้น) พวกเขายังใช้ปุ๋ยเพื่อทำให้หญ้าโตเร็วขึ้น, เขียวขึ้น และคาดการณ์ได้มากขึ้นอีกด้วย

ทว่ากุญแจสำคัญของการทำงานเริ่มขึ้นเมื่อพวกเขารับรู้ว่าสามารถเลือกหญ้าด้วยตนเองได้ ศาสตร์การเพาะพันธุ์พืชทำให้พวกเขาได้เมล็ดพันธุ์ที่แตกต่างกว่าร้อยเมล็ดพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น “Limousine” และ “Bingo,” “Jupiter” และ “Barlindo” ที่พวกเขาปลูกมันด้วยดินปริมาณเล็กน้อย และมีการเสียหายอย่างเป็นระบบ

ทีมงานได้สร้างเครื่องมือ ซึ่งเป็นเท้าปลอมที่ใส่เข้ากับรองเท้าเทนนิส เพื่อให้มันเหยียบย่ำและสไลด์ไปมาบนหญ้า จากนั้นก็มาสำรวจดูว่าระหว่างหญ้าสายพันธุ์ “Brightstar” และพันธุ์ “Rambo” นั้น สายพันธุ์ไหนจะเกิดความเสียหายน้อยกว่า

“เราก้าวหน้ามากที่สุดในช่วง ทศวรรษที่ 1990”  Mark Ferguson หัวหน้าของสถาบันวิจัย STRI กล่าว “ในช่วงแรกๆ เราก้าวข้ามขั้นตอนไปมาก และเรายังไม่เคยได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าไว้เลย”แต่ในความเห็นของเขา สนามหญ้าในปัจจุบันถูกปูขึ้นจากหญ้าที่ใช้ในการปศุสัตว์ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยใบหญ้าที่สุขภาพดี อวบอิ่ม และรากที่แข็งแรง ซึ่งนั่นใกล้เคียงกับคำว่าสมบูรณ์แบบแล้ว

 

ช่วงเวลาของชัยชนะ

ในทุกๆ วันระหว่างการแข่งขัน ผู้ดูแลสนามจะทดสอบความแข็งแรงของสนาม , วัดความชุ่มชื้นของดิน, สีของใบหญ้า ตลอดจนความชิดเข้าด้วยกันของหญ้าในพื้นที่นั้นๆ

“สิ่งที่ฉันทำคือ การคลานนับจำนวนลำต้นหญ้า” Stubley กล่าว พวกเขายังติดต่อกับนักอุตุนิยมวิทยา เพื่อตรวจสอบสภาพอากาศว่าจะเป็นอย่างไรในไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า และอากาศจะแปรปวนหรือไม่

“หญ้าเป็นตัวชี้วัดแมตช์ของคุณอย่างแท้จริง” Taylor Dent อดีตนักเทนนิสมืออาชีพที่ ผู้ที่ยังคงรั้งสถิติการเสิร์ฟลูกได้ความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมาของการแข่งขันกล่าว

บอลจะเด้งบนสนามหญ้าได้ต่ำกว่าสนามดินหรือสนามปูนที่ถูกใช้ในทุกๆ การแข่งขันเทนนิสอื่นๆ ดังนั้นผู้เล่นต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วและโต้ลูกกลับไปให้ทัน การที่ไม่สามารถคาดการณ์การเด้งของลูกบอลได้ ทำให้การแข่งขันดูท้าทายมากขึ้น

ดังนั้น ขณะที่ผู้เล่นได้ฝึกซ้อมเป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อให้ได้เข้าแข่งที่วิมเบิลดัน ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาตร์ที่จัดการกับหญ้ารอบตัวนักกีฬา ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าหญ้าบนสนามแข่งขันจะยังคงอยู่แน่น เรียบ สามารถใช้ได้วันต่อวันและแมตช์ต่อแมตช์

“บนสนามหญ้า คุณจะรู้สึกว่ามันไม่มีอะไรแน่นอน” Dent กล่าว “และถ้าคุณไม่สามารถชินกับมันได้ คุณจะไม่ได้ชัยชนะ”

เรื่องโดย อเล็กจานดร้า โบรันดา

ภาพถ่ายโดย  เบน แสตนซอล

 

อ่านเพิ่มเติม

ค้นพบต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในยุโรป และยังคงเติบโตอยู่

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.