NGT x SaySci Ep.10 “วิทยาศาสตร์เบื้องหลังช็อกโกแลต”

NGT x SaySci Ep.10 “ วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง ช็อกโกแลต ”

ช็อกโกแลต เป็นวัตถุดิบหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะของหวาน ในท้องตลาดมีช็อกโกแลตจำหน่ายอยู่หลากหลายชนิด แต่ทั้งหมดมีต้นกำเนิดมาจากเมล็ดโกโก้ ซึ่งเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในป่าดิบเขาที่มีความชื้นสูง ประวัติศาสตร์ของช็อกโกแลตมีมายาวนานพร้อมๆ กับวัฒนธรรมการประกอบอาหารของมนุษย์ และยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน

 

ทำไมเราจึงตกหลุมรักช็อกโกแลต

ทุกครั้งทุกคราที่เราทานช็อกโกแลต เราจะรู้สึกผ่อนคลาย พึงพอใจ และอยากกินซ้ำๆ ในขณะที่เราอิ่มเอมใจ แต่สมองเรากำลังทำงาน

สารเคมีที่อยู่ในผงโกโก้ชื่อ คาเฟอีนและธีโอโบรมีน (Theobromine) จะไปกระตุ้นระบบประสาทในสมองให้หลั่งฮอร์โมนโดปามีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่ออารมณ์ และช่วยให้กล้ามเนื้อต่างๆ คลายตัว เราจึงรู้สึกพึงพอใจ และผ่อนคลายมากขึ้นหลังจากรับประทานช็อกโกแลตไปได้ระยะหนึ่ง

แต่การบริโภคช็อกโกแลตมากจนเกินไปอาจส่งผลให้เราเกิดการเสพติดได้เนื่องจากสมองหลั่งโดปามีนออกมาซ้ำๆ และบ่อยเกินไป ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้สมองเสพติดโดปามีน เพราะฉะนั้น เราควรทานในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีและไม่เสพติดช็อกโกแลตจนเกินไปนะครับ

 

อ่านเพิ่มเติม

NGT x SaySci Ep.9 “กาแฟกระตุ้นให้เราตื่นได้อย่างไร?”

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.