NGT x SaySci Ep.13 “กั้งตั๊กแตน…นักชกแห่งท้องทะเล”

NGT x SaySci Ep.13 “กั้งตั๊กแตน…นักชกแห่งท้องทะเล”

กั้งตั๊กแตนจัดอยู่ในสับไฟลัมครัสเตเชียน (Crustacean)  อันดับสโตมาโตโปดา (Stomatopoda) กั้งตั๊กแตนได้ชื่อนี้มาเนื่องจาก ขาคู่หน้าคู่ที่สองของมันมีลักษณะคล้ายกับตั้๊กแตกตำข้าว มันใช้ขาคู่นี้เป็นเครื่องมือในการหาอาหาร โดยสร้างแรงดีดอย่างรุนแรงไปกระทบเปลือกหอย หรือเหยื่อที่มีเปลือกแข็งให้แตกออก ก่อนจะจับสัตว์เหล่านั้นกินเป็นอาหาร

กั้งตั๊กแตนมีการแพร่กระจายพันธุ์กว้างมาก พบได้ในท้องทะเลเกือบทุกทวีป และมีสมาชิกมากกว่า 350 ชนิดพันธุ์ มีความยาวลำตัวตั้งแต่ 1 – 30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับภูมิภาคที่อาศัยอยู่ ส่วนใหญ่มักจะพบกั้งตั้กแตนในแถบชายฝั่งน้ำตื้น แต่บางครั้งก็พบได้ที่ความลึกราว 1,300 เมตร กั้งตั๊กแตนชอบอาศัยอยู่ในโพรง หลืบหิน หรือตามซอกในแนวปะการัง กั้งตั๊กแตนทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีทักษะในการว่ายน้ำเป็นเลิศ

ตัวอย่างของกั้งตั๊กแตนที่พบได้บ่อยๆ คือ Squilla mantis เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไปในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน และใกล้ๆ มหาสมุทรแอตแลนติก Squilla empusa แพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก และอเมริกาเหนือ Oratosquilla oratoria พบได้ตามชายฝั่งประเทศญี่ปุ่น และนิยมนำมาประกอบอาหาร

 

อ่านเพิ่มเติม

NGT x SaySci Ep.12 “ความหมายของวันหมดอายุ”

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.