นอกจากร่างกายของเราต้องการพลังงานจากแหล่งพลังงานอย่างคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันแล้ว ยังมีอีกหลายกิจกรรมในร่างกายมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาสารหาอาหารอื่นๆ นั่นคือ วิตามิน และ เกลือแร่
วิตามิน
เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆ ได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่
1. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
2. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม
วิตามินเอ
ช่วยป้องกันการแพ้แสงสว่างของบางคนผู้ที่ต้องการวิตามินเอมาก คือผู้ที่ต้องใช้สายตามาก วิตามินเอมีมากในไขมันเนย น้ำมันปลา ไข่แดง กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่ว ผักสีแดง ผักสีเหลือง
วิตามินดี
ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ป้องกันโรคกระดูกอ่อน และควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด อาหารที่ให้วิตามินดีมีน้อยมาก จะมีอยู่ในพวกน้ำมันตับปลา ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากรังสีอุลตราไวโอเลต ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด
วิตามินซี (หรือกรดแอสคอร์บิก)
ค้นพบครั้งแรกในพริกชนิดหนึ่ง เมื่อปี 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียน อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี ประโยชน์ของวิตามินซีคือ ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล (เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก
วิตามินบีรวม
ประกอบด้วย วิตามินบี 1 มีมากในเนื้อหมู ข้าวกล้อง เห็ดฟาง มีหน้าที่เกี่ยวกับการใช้คาร์โบไฮเดรต การทำงานของหัวใจ หลอดอาหารและระบบประสาท วิตามินบี 2 พบมากในตับ ยีสต์ ไข่ นม เนย เนื้อ ถั่ว และผักใบเขียว ปลา วิตามินบี 2 มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก เช่น การเผาผลาญไขมัน และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เป็นต้น วิตามินบี 3 บางทีเรียกว่า ไนอาซิน ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต สามารถใช้ในการักษาโรคปวดศีรษะแบบไมเกรนได้ผล อาหารที่มีไนอาซินได้แก่ ไก่ ยีสต์ ถั่ว และเครื่องในสัตว์ วิตามินบี 6 มีชื่อทางเคมีว่า ไพริดอกซิน (Pyridoxin) ความสำคัญของวิตามินบี 6 คือหากขาดจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ง่าย เพราะวิตามินบี 6 จะช่วยในการเผาผลาญคอเลสเตอรอลอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน อาหารที่มีวิตามินบี 6 เช่น ไก่ ยีสต์ ถั่ว ตับ ปลา และกล้วย เป็นต้น วิตามินบี 12 มีอยู่ในอาหารที่ได้จากสัตว์ เช่น ตับ (มีวิตามินบี 12 มากที่สุด) นม ไข่ เนย วิตามินนี้มีอยู่ในพืชน้อยมาก ความสำคัญของ วิตามินบี 12 มีดังนี้ มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท มีส่วนในการสร้างกรดนิวคลีอิค (nucleic acid) ซึ่งเป็นพื้นฐานของกรรมพันธุ์ มีส่วนช่วยให้ร่างกายนำไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ และมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท
วิตามินอี
เกลือแร่
ร่างกายประกอบด้วยเกลือแร่ประมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ มีดังต่อไปนี้
แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และหัวใจ
ธาตุเหล็ก เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน และนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ
ไอโอดีน ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็นโรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง
แมกนีเซียม มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว (หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้ ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจ
สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว หอยนางรม
โครเมียม ร่างกายต้องการน้อยมาก ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย อาหารที่มีโครเมียมมาก ได้แก่ ไข่แดง ตับ หอย มันเทศ ยีสต์หมักเหล้า