มารู้จักกับ งาช้าง และ ช้างเริ่มปรับตัวกันกับการล่าเอางาได้แล้ว

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผลการศึกษาพบว่า ช้างเริ่มปรับตัวกับพฤติกรรมการล่า งาช้าง ของมนุษย์ได้แล้ว

ก่อนอื่นเลยต้องบอกก่อนว่าความเชื่อที่ว่าช้างทุกตัวต้องมีงานั้นเป็นเรื่องที่ผิด โดยมีแค่เฉพาะสายพันธุ์แอฟริกากับเพศผู้สายพันธุ์เอเชียเท่านั้นที่เกิดมาแล้วมีงา โดยเพศเมียสายพันธุ์เอเชียบางตัวก็มีงาเช่นเดียวกัน แต่เป็นงาที่มีขนาดสั้น ๆ เท่านั้น โดยในบทความนี้ ทางเนชั่ลแนล จีโอกราฟฟิก จะพาไปรู้จักกับงาช้าง พร้อมกับเหตุผลว่า “ทำไมช้างบางสายพันธุ์ถึงเริ่มปรับตัวกับพฤติกรรมการล่า งาช้าง ของมนุษย์ได้แล้ว”

งาช้างสามารถแยกได้ว่าช้างตัวไหน เป็นตัวไหน

งาช้างเป็นหนึ่งใน 2 อวัยวะของช้างที่สามารถบ่งบอกตัวตนของช้างได้ โดยอีกหนึ่งอวัยวะที่สามารถบอกได้ก็คือ “ใบหู” ของช้างนั่นเอง

งาช้างเปรียบเสมือนเหมือนกับฟันของมนุษย์ ถ้าหักแล้วก็หักเลย แต่ช้างก็ยังสามารถงอกงาออกมาใหม่ได้ ถ้ารากของงานั้นไม่ได้มีความเสียหายมากนัก

งาช้างบอกอายุช้างได้ไหม 

คำตอบคือ ได้ แต่มีข้อแม้คือ งาช้างต้องไม่เสียหาย หรือแตกหักไปเสียก่อน โดยงาของช้างนั้นสามารถบอกอายุของช้างตัวนั้น ๆ ได้เมื่อเทียบกับช้างตัวอื่น ๆ เป็นเวลาหลายช่วงทศวรรษที่มนุษย์มีการล่าช้างเพื่อเอางา ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ พบว่า ช้างที่เกิดใหม่เริ่มที่จะมีงาที่สั้นและบางลง เพราะสารพันธุกรรม ที่กำหนดการสร้างงาไม่ถูกส่งต่อไปยังรุ่นลูก หรือถูกส่งต่อน้อยลงมากเมื่อเทียบกับแต่ก่อน อีกเหตุผลนึงคือ นักล่างาช้างนั้นเลือกเบี่ยงเป้าหมายไปหาตัวเมียและตัวผู้ที่ยังมีอายุน้อยด้วย ทำให้การสืบพันธุ์เป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีกสำหรับช้าง

เช่นเดียวกับมนุษย์ ช้างนั้นก็มีงาข้างที่ถนัดและไม่ถนัดเหมือนกัน โดยวิธีสังเกตง่าย ๆ เลยว่าช้างนั้นถนักงาข้างไหน ให้ดูที่ปลายของงา ข้างที่ถนัดจะมีลักษณะที่กลมและสั้นกว่าข้างที่ไม่ถนัด

อยากเอางาก็เอาไปสิ แต่ไม่ต้องฆ่าช้างได้ไหม 

คำตอบก็คือไม่ได้ เพราะว่า งาช้างนั้นก็ถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของช้าง เทียบกับมนุษย์ก็สำคัญพอ ๆ กับแขนหรือขาเลย โดยการนำงาช้างออกจากตัวช้างนั้น ซึ่งติดอยู่กับส่วนกะโหลก ช้างจะสูญเสียเลือดเป็นอย่างมาก จนทำให้ตายไปในที่สุด

ช้างสายพันธุ์แอฟริกาเริ่มมีการปรับตัวโดยวิวัฒนาการตัวเองให้เกิดมาโดยไม่มีงา 

ใช่แล้ว อ่านไม่ผิด จากรายงานของเนชั่ลแนล จีโอกราฟฟิก ช้างสายพันธุ์แอฟริกานั้นได้วิวัฒนาการตัวเองให้เกิดมาโดยไม่มีงา โดยปัจจุบัน ในประเทศโมแซมบิก ร้อยละ 51 จากประชากรช้างเพศเมียทั้งหมด เกิดมาไม่มีงา และมีประขากรช้างทั้งหมดร้อยละ 32 ก็ไม่ปรากฏการเจริญของงาช้างเช่นกัน นับตั้งแต่สงครามการเมืองภายในประเทศ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า จริงๆ แล้ว การที่ช้างไม่มีงา จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของช้างหรือไม่

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ช้างสายพันธุ์แอฟริกามีการปรับตัว โดยรุ่นลูกไม่ปรากฏลักษณะของงา

***แปลและเรียบเรียงโดย รชตะ ปิวาวัฒนพานิช
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย


บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับช้าง : ช้างป่า ละอู : เมื่อป่าที่เคยเป็นบ้านหดหาย

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.