อุกกาบาตที่ตกเมื่อปี 2014 อาจเป็นวัตถุที่มาจากนอกระบบสุริยะ

อุกกาบาต ที่พุ่งเข้าชนชั้นบรรยากาศของโลกในปี 2014 อาจเป็นวัตถุชิ้นที่สองที่มนุษย์ค้นพบ ว่ามีจุดกำเนิดมาจากนอกระบบสุริยะอันไกลโพ้น

อุกกาบาต ลึกลับ

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2014 เวลาประมาณตีสาม มีผู้คนพบเห็นวัตถุคล้ายลูกบอลไฟกำลังเผาไหม้อยู่บนท้องฟ้านอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปาปัวนิวกีนี เป็นอุกกาบาตที่แตกสลายเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ด้วยชั้นบรรยากาศของโลก เช่นเดียวกับอุกกาบาตอื่นๆ จำนวนมาก แต่การวิจัยครั้งใหม่พบว่า วัตถุดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงแค่หินอวกาศเก่าๆ หากแต่เป็นวัถตุที่มาจากนอกระบบสุริยะ

หากมีข้อมูลที่มากกว่านี้เพื่อจะมายืนยันข้อสันนิษฐานข้างต้น อุกกาบาต ลูกนี้จะเป็นวัตถุชิ้นที่สองที่มาจากนอกระบบสุริยะที่มนุษย์เห็น โดยชิ้นแรกคือหินอวกาศที่มีรูปร่างประหลาดที่ตอนนี้มีชื่อเรียกว่า “โอมูอามูอา” (‘Oumuanua) ที่เดินทางผ่านระบบสุริยะจักรวาลของเราเมื่อปี 2017 และขณะนี้มันกำลังกลับไปยังถิ่นกำเนิดของมัน

โดยอุกกาบาตในปี 2014 นั้นมีเส้นทางโคจรที่แตกต่างกันออกไป โดยสิ้นสุดการเดินทางอันแสนยาวไกลของมันที่นี่ (โลก) ทำให้กลายเป็นหินก้อนแรกจากนอกระบบสุริยะที่เรารู้จัก

“มันเป็นเรื่องน่าประหลาดใจมาก ผมไม่ได้คาดหวังเลยว่าจะค้นพบอะไรแบบนี้” อาวี โลบ จากศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ฮาร์วาร์ด-สมิธโซเนียน อธิบายถึงการค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ในวารสาร Astrophysical Journal Letters “แต่ก็เหมือนเช่นทุกครั้งที่มีการค้นพบอะไรเช่นนี้ มองมองย้อนกลับไปก็รู้สึกประมาณ “ทุกอย่างก็อยู่ตรงหน้าตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ทำไมมองไม่เห็น”

วัตถุแปลกประหลาด

โลปและ อามีร์ ศิราช ทั้งคู่เป็นเพียงนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เห็นอุกกาบาตลูกนี้ใน catalog ที่ได้รับการรวบรวมโดยศูนย์ศึกษาวัตถุใกล้โลก ดูแลและเก็บรักษาโดยห้องปฏิบัติการ Jet Propulsion ขององค์กรนาซา แคตตาล็อกดังกล่าวได้มีบันทึกมากมายของเวลา วันที่ สถานที่ และความเร็วของอุกกาบาตที่มีแนวโน้มว่าจะผ่านโลกของเรา

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ทั้งคู่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกไฟอุกกาบาต ศิราช พบอุกกาบาตลูกหนึ่งที่มีความเร็วสูงผิดปกติ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบ  60 กิโลเมตรต่อวินาที เมื่อเทียบกับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และโลก ความเร็วของมันอยู่ในลักษณะที่ไวเกินไปที่จะอยู่ในวงโคจรของดวงอาทิตย์ สันนิษฐานว่าวัตถุดังกล่าวน่าจะมาจากนอกระบบสุริยะ จากนั้นพวกเขาก็ใช้แคตตาล็อกเป็นฐานข้อมูลในการหาวงโคจรของอุกกาบาตพิศวงนั้นต่อไป

“เรื่องการเคลื่อนที่ของโลก เราทราบกันเป็นอย่างดี จากนั้นพวกเราก็ใช้ข้อมูลในเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ของดวงอาทิตย์ และของดาวเคราะห์ทุกดวงมาวิเคราะห์จุดกำเนิดที่เป็นไปได้ของอุกกาบาตลูกดังกล่าว” โลบ กล่าว

จนในที่สุด พวกเขาก็สามารถคำนวณว่าอุกกาบาตปริศนานั้นไม่ได้รับอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่จากดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะของเรา ซึ่งนั้นเป็นวิธีที่นาซาใช้เป็นประจำในการส่งยานอวกาศออกไปนอกโลก นอกจากนี้ พวกเขายังพบว่าอุกกาบาตดังกล่าวอยู่ในวงโคจรที่ไกลออกไปอย่างมาก ซึ่งนั่นหมายความว่าอุกกาบาตลูกนั้นไม่ได้มีถิ่นฐานอยู่ที่ระบบสุริยะของเรา

“ฉันคิดว่ามันเป็นไปได้ที่วัตถุความเร็วสูงอันนี้จะมาจากนอกระบบสุริยะ” แค็ต โวลก์ จากมหาวิทยาลัยแอริโซนากล่าว

ลูกบอลชายหาดที่มีน้ำหนักมาก

ก้อนอุกกาบาตมีขนาดประมาณกว่า 30 เมตร และมีพฤติกรรมการโคจรที่ผิดปกติจากนอกระบบสุริยะลูกแรกที่แวะเข้ามาทักทายระบบสุริยะของเราอย่างโอมูอามูอา กระตุ้นให้มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมและทำให้มันได้รับความสนใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นว่าแหล่งกำเนิดที่แท้จริงของมันมาจากไหนกันแน่ แต่กรณีของอุกกาบาตล่าสุดนั้นกลับมีความแตกต่างกันออกไป

ด้วยขนาดประมาณ 3 ฟุต และน้ำหนักกว่า 1,100 ปอนด์ ทำให้อุกกาบาตที่เพิ่งศึกษาล่าสุดนั้นมีขนาดเป็นเพียงเศษเสี้ยวของ Oumuamua เท่านั้น นั้นก็หมายความว่ามันมีขนาดที่เล็กเกินไปที่จะเอาตัวรอดจากการเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลก หลังจากได้ถูกเผาไหม้ไปจนหมดบริเวณท้องฟ้าทางตอนเหนือของเกาะมนัส มันก็สายไปเสียแล้วที่จะศึกษาหรือจะหาคำตอบในเรื่ององค์ประกอบของอุกกาบาตลูกดังกล่าว

แต่โลปกลับกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่วัตถุดังกล่าวจะไม่ได้มาเดี่ยวๆ เพียงหนึ่งลูก แต่อาจจะมาในจำนวนมหาศาลทีเดียวพร้อมกัน หากนักดาราศาสตร์สามารถตรวจพบวัตถุผู้มาเยือนโลกได้ก่อนที่พวกมันจะกระทบกับชั้นบรรยากาศ พวกเขาก็อาจจะสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น

“หากเราทราบล่วงหน้าได้ก่อนพวกมันจะมาถึงชั้นบรรยากาศ” โลปกล่าว “เราอาจจะสามารถหาสเปกตรัมและองค์ประกอบของมันได้ตอนที่พวกมันถูกเผาไหม้โดยชั้นบรรยากาศของโลก”

บางทีการเดินทางกว่าหนึ่งพันปีแสงก็จบลงด้วยเปลวไฟลุกโชนบริเวณชั้นบรรยากาศ..

เรื่องโดย NADIA DRAKE

***แปลและเรียบเรียงโดย รชตะ ปิวาวัฒนพานิช
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย


อ่านเพิ่มเติม : สิ่งมีชีวิตนอกโลก มีใครอยู่ข้างนอกนั่นไหม

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.