ลักษณะสำคัญของพืชใบเลี้ยงคู่

การศึกษาลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นฐานของการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็แตกต่างกันทั้งรูปร่าง สีสัน และขนาด ขึ้่นอยู่กับสายพันธุ์ ในกลุ่มของพืชก็เช่นกัน การจัดจำแนกพืชสามารถใช้เกณฑ์ได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษา เช่น การจำแนกตามลักษณะของใบสามารถจำแนกได้เป็น พืชใบเลี้ยงคู่ และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นต้น

นิยามของพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon หรือ Magnoliopsida) คือ พืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ เมื่อเริ่มงอกออกจากเมล็ดพันธุ์ เป็นพืชที่มีรากเป็นระบบรากแก้ว และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะไม่เกิดข้อและปล้องขึ้นชัดเจนตามบริเวณลำต้นเหมือนกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่ มีเปลือกหนาและมีเนื้อไม้แข็งแรง ขณะที่ท่อลำเลียงอาหารและน้ำของพืชกลุ่มนี้ จะจัดเรียงอยู่ภายในลำต้นอย่างเป็นระเบียบ จึงทำให้พืชใบเลี้ยงคู่มีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง สามารถแผ่กิ่งก้านสาขาได้ดี

แกนกลางของลำต้นพืชกลุ่มนี้จะไม่มีท่อลำเลียง แต่จะเป็นเนื้อไม้ซึ่งมีความแข็งแรงคงทน ส่วนท่อลำเลียงจะจัดเรียงเป็นวงอย่างมีระเบียบอยู่รอบลำต้น ส่วนใบของพืชกลุ่มนี้มีลักษณะกว้าง มีการแตกแขนงเป็นร่างแหออกจากแกนกลางของใบ จำนวนของกลีบดอกจะมี 4 – 5 กลีบ หรือทวีคูณของ 4 – 5 หากปลูกพืชใบเลี้ยงคู่เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนใหญ่มักต้องใช้เวลา นานกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ทั้งนี้ยังมีความแตกต่างกันอีกมากระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ อย่างเช่น ลักษณะโครงสร้างของเกสร หรือปากใบ (Stomata) แต่มันยากที่จะสังเกตเห็นชัดด้วยตาเปล่า

ใบเลี้ยงของต้นละหุ่ง (Castor Oil Plant)

พืชใบเลี้ยงคู่ส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุยืนยาวกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะของใบกว้าง มีเส้นใบแตกแขนงเป็นร่างแหที่ซับซ้อนออกจากตรงแก่นกลางของใบ และส่วนของกลีบดอกจะมีจำนวนราว 4 ถึง 5 กลีบ หรือเท่าทวีคูณของ 4 และ 5 ขึ้นไป นอกจากนี้ พืชใบเลี้ยงคู่ยังมีความแตกต่างจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในอีกหลายด้าน เช่น โครงสร้างของเกสรและลักษณะของปากใบ เป็นต้น

กลีบดอก 5 กลีบของฟอร์เก็ต มี น็อต (Forget Me Not)

ตารางความแตกต่างของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่

ลักษณะของพืช

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

พืชใบเลี้ยงคู่

จำนวนใบเลี้ยง

1 ใบ

2 ใบ

ระบบราก

รากฝอย

รากแก้ว

ท่อลำเลียงภายในลำต้น

กระจัดกระจาย

จัดเรียงเป็นวงอย่างเป็นระเบียบ

เส้นใบ

ขนาน

แตกแขนง

จำนวนดอก

3 หรือ เท่าทวีคูณของ 3

4 และ 5 หรือ เท่าทวีคูณของ 4 และ 5

การเจริญเติบโตขั้นที่ 2 ของพืช

(Secondary Growth)

ไม่มี

(ไม่เจริญเติบโตออกทางด้านข้าง)

มี

ความแตกต่างทางโครงสร้างของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
ลักษณะภาพตัดขวางของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ / ภาพถ่าย Fayette Reynolds

ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงคู่

พืชส่วนใหญ่ที่เราพบเห็บนโลกนี้ คือกลุ่มของ พืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีมากราว 175,000 ถึง 200,000 ชนิด โดยที่พืชใบเลี้ยงคู่ถูจัดจำแนกอยู่ในกลุ่มต่างๆ ตามลักษณะโครงสร้างของพืช อย่างเช่น พืชดอกตระกูลแมคโนลิด (Magnoliidae) ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชดอกที่มีมากถึง 9,000 ชนิด เช่น แมกโนเลีย จำปี จำปา จันทน์เทศ อบเชย พริกไทย ทิวลิป เป็นต้น ทั้งพืชสวน ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้นและไม้ดอก หรือแม้แต่กระบองเพชร ล้วนจัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ทั้งหมด

สืบค้นและเรียบเรียง

คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/63521/-scibio-sci-

http://www.genedu.msu.ac.th/course/2558/0033003-ch3.pdf

http://skm.oae.go.th/index.php?mod=km&route=kmdetail&v=Vm0wd2VHUXhTWGhpUm1ScFVtMW9WRll3Wkc5WFJteDBaRWhrVmxac2NEQmFWV2hyVmxVeFYyTkVRbUZXVjFKSVZtcEtTMUl5VGtsaVJtUnBWMFpLYjFac1ZtRldNVnBXVFZWV2FHVnFRVGs9K1Q=


อ่านเพิ่มเติม การสร้าง เซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.