จีนแก้ปัญหาไวรัสโคโรนาอย่างไร – รายงานจากองค์การอนามัยโลก

แพทย์กำลังตรวจภาพซีทีสแกนของปอดในโรงพยาบาลที่เขต Yunmeng เมือง Xiaogan มณฑลหูเป่ย์ ทางตอนกลางของประเทศจีน ภาพถ่ายโดย STR/AFP/CHINA OUT VIA GETTY IMAGES


องค์การอนามัยโลกส่งทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติไปยังประเทศจีน 25 คน เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับสถานการณ์  ไวรัสโคโรนา รวมไปถึงคลิฟฟอร์ด เลน ผู้อำนวยการคลินิกของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (US National Institutes of Health) โดยทีมได้เดินทางไปที่กรุงปักกิ่ง เมืองอู่ฮั่น, กวางโจว และเฉิงตู และได้มีการแถลงผลการตรวจสอบ

และต่อไปนี้ก็คือ ข้อสรุปหลักๆ ของทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ 25 คน  ที่องค์การอนามัยโลกส่งเข้าไปสืบสวนสถานการณ์ในจีน หลังจากปฏิบัติงานผ่านไป 9 วัน

อายุ (ปี) % ของประชากร % ของการติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิต
0-9 12.0% 0,9% 0 as of now
10-19 11.6% 1.2% 0.1%
20-29 13.5% 8.1% 0.2%
30-39 15.6% 17.0% 0.2%
40-49 15.6% 19.2% 0.4%
50-59 15.0% 22.4% 1.3%
60-69 10.4% 19.2% 3.6%
70-79 4.7% 8.8% 8.0%
80+ 1.8% 3.2% 14.8%

คำอธิบายตาราง: จากคนที่อาศัยในจีน, มี 13.5% ที่อายุระว่าง 20-29 ปี จากจำนวนผู้ติดเชื้อในจีน มี 8.1% ที่อยู่ในอายุกลุ่มนี้ (แต่ไม่ได้หมายความว่า มี 8.1% ของคนอายุ 20-29 ปีที่ติดเชื้อ) นี่หมายความว่า มีแนวโน้มที่ใครก็ตามที่มีอายุในช่วงนี้ จะมีโอกาสติดเชิ้อค่อนข้างต่ำกว่าเฉลี่ย และในกลุ่มอายุนี้ที่ติดเชื้อจะเสียชีวิต 0.2%

สุดท้ายนี้ นี่คือ คำกล่าวส่วนน้อยที่มาจากรายงานนี้:
“ความพยายามอย่างหนักของจีน ที่จะควบคุมการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเชื้อโรคชนิดใหม่ในระบบทางเดินหายใจนี้ ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการยกระดับความรุนแรงและอันตรายของโรคระบาดอย่างรวดเร็วได้ เมื่อเผชิญหน้ากับไวรัสที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน

“จีนได้ลงมือลงแรงความพยายามในการควบคุมโรคอย่างทะเยอทะยานที่สุด รวดเร็วที่สุด และเข้มข้นที่สุด จีนไม่ประนีประนอมใดๆ และใช้มาตรการนอกเหนือจากทงเภสัชวิทยา เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสก่อโรคโควิด-19 ที่หลายอย่างก็ได้มอบบทเรียนสำคัญให้กับการรับมือระดับโลก การตอบสนองเช่นนี้ถือได้ว่า มีความจำเพาะตัวและไม่เคยมีมาก่อนในด้านสาธารณสุขในจีน จนช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเพิ่มจำนวนขึ้นของผู้ป่วยในหูเป่ย ซึ่งเป็นชุมชนที่เกิดการระบาดของโรคอย่างกว้างขวาง และเป็นจังหวัดที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นแหล่งตั้งต้นของกลุ่มครอบครัวที่ทำให้เกิดการระบาด”

ขอบคุณภาพจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

“ชุมชนส่วนใหญ่ในโลกนี้ยังไม่พร้อมรับมือเรื่องนี้, ทั้งในแง่ของวิธีคิดและทางเครื่องใช้ไม้สอย, ไม่พร้อมที่จะใช้มาตรการแบบที่ใช้ควบคุมโควิด-19 ในจีน แต่มาตรการเหล่านี้เป็นเพียงมาตรการที่พิสูจน์แล้วในปัจจุบันเท่านั้นว่า สามารถหยุดยั้งหรือทำให้เกิดการแพร่เชื้อเป็นลูกโซ่ต่อถึงกันในมนุษย์ได้

“พื้นฐานของมาตรการต่างๆ เหล่านี้ก็คือ การเฝ้าระหวังอย่างเข้มแข็งสูงสุดในการตรวจหาผู้ติดเชื้อให้ได้ไวที่สุด, ให้มีการวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วมากๆ และการแยกผู้ป่วยอย่างทันที, การติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และการกักกันตัวผู้ที่ติดต่อใกล้ชิด, รวมไปถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจ และการยอมรับในมาตรการเหล่านี้ในระดับสูงอย่างไม่น่าเชื่อในหมู่ประชากร”

“โควิด-19 กำลังแพร่กระจายไปด้วยความรวดเร็วที่น่าทึ่ง; ไม่ว่าจะมองในด้านใด การระบาดของโควิด-19 ก็ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากไปเสียหมด และจนถึงปัจจุบันนี้ ก็มีหลักฐานที่หนักแน่นแล้วว่า การใช้มาตรการแทรกแซงอื่นที่ไม่ใช่วิธีทางเภสัชวิทยา สามารถช่วยลดหรือแม้แต่หยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคได้

“การวางแผนรับมือระดับประเทศและระดับโลก แม้จะด้วยความห่วงใย แต่ก็บ่อยครั้งที่มักจะลังเลที่จะเข้าแทรกแซงด้วยมาตรการเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม การลดการเจ็บป่วยและล้มตายจากโควิด-19, การวางแผนเตรียมความพร้อมระยะใกล้ จะต้องนำเอามาตรการสาธารณสุขต่างๆ ที่ใช้การได้ดี แม้ไม่ใช่วิธีทางเภสัชวิทยามาใช้ด้วย มาตรการต่างๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการนำมาใช้อย่างเต็มที่อย่างทันที ทั้งในการตiวจหาผู้ติดเชื้อ, การแยกกักกันตัว, การติดตามการสัมผัสใกล้ชิดอย่างเข้มงวด และการกักกันตัว/ติดตามตัว รวมไปถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน/ประชากรโดยตรง”

* สนับสนุนเนื้อหาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.

การแปลครั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ ในการทำความเข้าใจกับการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยเช่นกัน เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจในประชาชนไทยในวงกว้าง สามารถเข้าถึงต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่นี่


อ่านเพิ่มเติม วิเคราะห์เจาะลึก โควิด-19 กับนักไวรัสวิทยาชาวไทย

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.