วงแหวนแห่งไฟ : จุดกำเนิดพสุธากัมปนาท แนวเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก

ด้วยพลังความร้อนใต้พื้นพิภพ และการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นำไปสู่การเกิด วงแหวนแห่งไฟ ที่ทรงพลังและพร้อมจะปะทุได้ทุกเมื่อ

วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แนวเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก” (Circum-Pacific Belt) คือ แนวภูเขาไฟที่ยังคงคุกรุ่นและร่องลึกก้นสมุทรที่มีความยาวรวมกันกว่า 40,000 กิโลเมตร ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปรากฏการณ์แผ่นดินไหวกว่าร้อยละ 90 ที่เกิดขึ้นบนโลก

วงแหวนแห่งไฟประกอบไปด้วยภูเขาไฟทั้งหมด 452 ลูก หรือกว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟทั้งหมดที่ปรากฏอยู่บนโลก โดยครอบคลุมพื้นที่ในมหาสมุทรและประเทศในทวีปต่าง ๆ รวมกันถึง 31 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศโบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ฟิจิ และสหรัฐอเมริกา

การกำเนิด “วงแหวนแห่งไฟ”

วงแหวนแห่งไฟ เกิดจากการเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นเปลือกโลกหรือแผ่นธรณีภาค (Plate) เมื่อหลายล้านปีก่อน ซึ่งก่อให้เกิดการมุดตัวลงซ้อนกันในบริเวณที่เรียกว่า “เขตมุดตัวของเปลือกโลก” (Subduction Zone) ใต้มหาสมุทร และการมุดตัวลงของแผ่นธรณีภาคนี้ ได้ก่อให้เกิดร่องลึกใต้มหาสมุทรและการหลอมละลายของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งผลักดันให้หินหนืด (Magma) เคลื่อนตัวขึ้นมาตามรอยแยกจนกลายเป็นต้นกำเนิดของแนวภูเขาไฟที่ในภายหลังอาจยกตัวขึ้นมาเหนือผิวน้ำจนเกิดเป็นแนวเทือกเขา หรือ หมู่เกาะกลางทะเล

วงแหวนแห่งไฟ คือริเวณที่ขอบของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ชนกันหรือเคลื่อนที่ผ่านกันจนก่อให้เกิดแนวเทือกเขาที่มีลักษณะคล้ายเกือกม้า โดยเกิดจากการเคลื่อนที่มาชนกันและมุดตัวซ้อนกันของแผ่นธรณีจำนวนมาก เช่น การชนกันของแผ่นธรณีภาคนาซคา (Nazca Plate) และแผ่นธรณีภาคอเมริกาใต้ ซึ่งก่อให้เกิดเทือกเขาแอนดีส (Andes) หรือการมุดตัวลงใต้บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียน (Aleutian Islands) จนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่นของแผ่นธรณีภาคแปซิฟิก

นอกจากนี้ยังรวมถึงการซ้อนทับกันของแผ่นธรณีภาคขนาดเล็กหลายแผ่นบริเวณทางตอนใต้ของวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งมีจุดเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า (Mariana Islands) ของฟิลิปปินส์ เกาะบัวเกนวิลล์ (Bougainville) ของตองกา และนิวซีแลนด์ที่ต่อเนื่องไปยังแนวเทือกเขาอัลไพน์ (Alpine) ตั้งแต่บริเวณเกาะชวาและเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียผ่านเทือกเขาหิมาลัยและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งแนวภูเขาไฟและรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกนี้ เป็นต้นกำเนิดของปรากฏการณ์แผ่นดินไหวมากถึงร้อยละ 27 ของปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ร่องลึกก้นสมุทรและรอยเลื่อนในวงแหวนแห่งไฟ (Oceanic Trenches and Faults)

ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและการเกิดแผ่นดินไหวในวงแหวนแห่งไฟ ในวงแหวนแห่งไฟ ภูเขาไฟที่ยังคงคุกรุ่น (Active Volcanoes) ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ตามแนวขอบของวงแหวนด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่ประเทศรัสเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ไปจนถึงนิวซีแลนด์์ เช่น

ในหนึ่งวัน โลกของเราเกิดแผ่นดินไหวราว 55 ครั้ง หรือราว 20,000 ครั้งใน 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดมีการสั่นสะเทือนอย่างแผ่วเบา โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ตามแนวขอบแผ่นธรณีภาคหรือตามรอยเลื่อนต่าง ๆ ทั้งในมหาสมุทรลึกหรือบนภาคพื้นดิน

ซึ่งมีระดับความลึกที่แตกต่างกันออกไปตามขนาดของแผ่นเปลือกโลก โดยแผ่นธรณีภาคบางแผ่นอาจหนาถึง 100 กิโลเมตร แต่บางแผ่นอาจมีความหนาเพียง 6 หรือ 7 กิโลเมตร เมื่อแผ่นธรณีภาคเหล่านี้ เคลื่อนที่แยกย้ายออกจากกันหรือพุ่งชนกัน จึงก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงในระดับต่าง ๆ รวมถึงการระเบิดของภูเขาไฟ แผ่นดินไหว หรือแม้แต่คลื่นสึนามิ

สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ


ข้อมูลอ้างอิง

National Geographic Society – https://www.nationalgeographic.org/article/plate-tectonics-ring-fire/?utm_source=BibblioRCM_Row
National Geographic – https://www.nationalgeographic.com/science/earth/ring-of-fire/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) – https://www.scimath.org/article-earthscience/item/10644-2019-09-02-03-10-01
U.S. Department of the Interior (USGS) – https://www.usgs.gov/faqs/why-are-we-having-so-many-earthquakes-has-naturally-occurring-earthquake-activity-been?qt-news_science_products=0#qt-news_science_products


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : สายฟ้าภูเขาไฟ (Volcanic Lightning)

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.