ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม

การอาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศต่างมีรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งช่วยให้เกิด ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต และเกิดการปรับตัวร่วมกัน

นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ทั้งที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงและดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพัง ในระบบนิเวศยังมีการปฏิสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องอีกหลากหลายรูปแบบเกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ซึ่งมีอาณาบริเวณอันจำกัด มีปริมาณอาหาร น้ำดื่มและปัจจัยที่จำเป็นอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถรองรับและตอบสนองต่อความต้องการของทุกชีวิต 

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิด (Interspecific interactions) หมายถึง ความเกี่ยวข้องหรือสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการอาศัยอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดในระบบนิเวศ โดยก่อให้เกิดทั้งภาวะของการพึ่งพาอาศัยกันและกัน การแก่งแย่งแข่งขัน หรือแม้แต่การเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเพื่อความอยู่รอด

ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ สามารถจำแนกออกเป็น 6 ประเภท โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น เป็นประโยชน์ต่อกัน (+) เป็นโทษหรือภัยคุกคาม (-) และการไม่ได้รับผลกระทบและผลประโยชน์ใด ๆ (0) ดังนี้

ภาวะพึ่งพาอาศัยกัน (Mutualism : +/+) หมายถึง ความสัมพันธ์ระยะยาวของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้อีกเลยตลอดช่วงชีวิต เช่น 

 

ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : +/+) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันและได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังได้ หากเกิดการแยกตัวออกจากกัน เช่น

ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูลกัน (Commensalism : +/0) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์ ขณะที่อีกฝ่ายไม่ได้รับหรือเสียผลประโยชน์ใด  ๆ เช่น

ภาวะปรสิต (Parasitism : +/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสูญเสียผลประโยชน์หรือถูกเบียดเบียนจากการเป็นผู้ถูกอาศัยที่เรียกว่า “โฮสต์” (Host) ขณะที่ฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ลักษณะนี้ หรือ “ปรสิต” (Parasite) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่

 

 

ภาวะการล่าเหยื่อ (Predation : +/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับผลประโยชน์โดยตรงหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ล่า” (Predator) ขณะที่ฝ่ายซึ่งสูญเสียประโยชน์หรือสูญเสียชีวิต คือ “ผู้ถูกล่า” หรือ “เหยื่อ” (Prey) นั่นเอง เช่น สิ่งมีชีวิตในกลุ่มผู้บริโภคพืช (Herbivore) ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) และผู้บริโภคทั้งพืชทั้งสัตว์ (Omnivore) ซึ่งความสัมพันธ์ในภาวะการล่าเหยื่อนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกในธรรมชาติที่มีส่วนช่วยในการสร้างสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ โดยการควบคุมจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งที่ดำรงเป็นผู้ล่าและผู้ถูกล่า 

หากระบบนิเวศมีจำนวนผู้ล่ามากเกินไป เมื่อออกล่าจนประชากรของเหยื่อไม่เพียงพอต่อความต้องการของตน ประชากรผู้ล่าจะมีจำนวนลดลงเองตามธรรมชาติ เนื่องจากภาวะการขาดแคลนอาหาร ส่งผลให้ประชากรของเหยื่อที่หลงเหลืออยู่สามารถฟื้นฟูกลับมาและเพิ่มจำนวนประชากรขึ้น ภาวะการล่าเหยื่อนี้ จะเกิดขึ้นเป็นวงจรหรือวัฏจักรตามธรรมชาติ หากไม่เกิดการล่าที่รุนแรงจนส่งผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปจากระบบนิเวศ

 

ภาวะการแข่งขัน (Competition : -/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งดำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน และทั้งสองฝ่ายต่างจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรประเภทเดียวกันในการดำรงชีวิต จนก่อให้เกิดภาวะแก่งแย่งแข่งขันที่ส่งผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย โดยความสัมพันธ์ลักษณะนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ


ข้อมูลอ้างอิง

ทรูปลูกปัญญา – https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/69653/-blo-scibio-sci-

Khan Academy – https://www.khanacademy.org/science/ap-biology/ecology-ap/community-ecology/a/interactions-in-communities

โรงเรียนกุฉินารายณ์ – http://www.kuchinarai.ac.th/document/wanthanee/two.pdf

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว – http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=contactus/contactus.html


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : หน้าที่ของระบบนิเวศ (Ecosystem Functions)

 

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.