รอยเท้าน้ำ หรือ “วอเตอร์ฟุตพริ้นท์” (Water Footprint) คือ หนึ่งในเครื่องมือชี้วัดการจัดสรรทรัพยากรน้ำ (จืด) ของมนุษย์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์และประเมินปริมาณน้ำใช้ (Water Consumption) ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการผลิตสินค้าและการบริการต่าง ๆ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต การคัดสรรวัตถุดิบ การแปรรูป การขนส่ง รวมไปถึงปริมาณน้ำเสีย (Water Pollution) ที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จนกระทั่งสินค้าดังกล่าวถึงมือของผู้บริโภค
รอยเท้าน้ำ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
ดังนั้น รอยเท้าน้ำหรือวอเตอร์ฟุตพริ้นท์จึงมีหน่วยวัดตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
ตัวอย่างเช่น ในส่วนของการผลิต รอยเท้าน้ำจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อตันหรือลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์ หากเกี่ยวข้องกับผลผลิตทางการเกษตร หรือในส่วนของการใช้อุปโภคบริโภคในครัวเรือน รอยเท้าน้ำจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อคน เป็นต้น
ตัวอย่างค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำใช้จากการผลิตสินค้าชนิดต่าง ๆ
ผลิตภัณฑ์/สินค้า | ปริมาณน้ำใช้ |
กระดาษ ขนาด A4 ความหนา 80 แกรม 1 แผ่น | 10 ลิตร |
แอปเปิล 1 ผล | 70 ลิตร |
กาแฟ 140 มิลลิลิตร 1 แก้ว | 140 ลิตร |
คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง | 31,500 ลิตร |
เสื้อยืดเส้นใยฝ้ายคอกลม 1 ตัว | 2,000 ลิตร |
น้ำเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่สุดของภาคการเกษตร การปศุสัตว์ และภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ
ดังนั้น ประเทศที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเหล่านี้ รวมถึงประเทศที่มุ่งเน้นการส่งออกต่างมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำใช้ภายในประเทศ
เช่นเดียวกับประเทศผู้นำเข้าที่นับเป็น “ผู้ใช้น้ำเสมือน” ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคที่ใช้น้ำจากประเทศผู้ผลิตในทางอ้อมเช่นกัน
รอยเท้าน้ำจึงกลายเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่สามารถแสดงปริมาณน้ำที่ถูกใช้ไปกับการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและผู้ผลิต เพื่อให้น้ำถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปริมาณน้ำใช้หรือรอยเท้าน้ำในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
การประเมินปริมาณน้ำใช้ของแต่ละประเทศทั่วโลก (Water Use within Country) เกิดจากรอยเท้าน้ำทั้ง 2 ส่วน คือ
จากผลการศึกษาในช่วงปี 1996 ถึง 2005 พบว่า ค่าเฉลี่ยรอยเท้าน้ำของโลกอยู่ที่ราว 1,240 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี โดยสหรัฐอเมริกา กรีซ มาเลเซีย อิตาลี และไทย เป็น 5 อันดับแรกของประเทศที่มีการใช้น้ำสูงสุดในโลก ซึ่งไทยอยู่อันดับ 5 มีค่าเฉลี่ยรอยเท้าน้ำอยู่ที่ราว 2,223 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปีรองจากอันดับ 1 สหรัฐอเมริกา 2,483 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี
โดยปริมาณการใช้น้ำของไทยร้อยละ 90 อยู่ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงการส่งออกสินค้าทางการเกษตรต่าง ๆ
ความสำคัญของรอยเท้าน้ำและสถานการณ์น้ำในอนาคต
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นทุกปีตามการเติบโตของประชากรและสภาพเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายที่ทำให้เกิดการใช้น้ำในปริมาณมหาศาลทุกปีกับการผลิตอาหาร พลังงาน และการส่งออกต่าง ๆ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ และสามารถนำมาใช้ได้ถึงร้อยละ 40 ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นอยู่เป็นตัวแปรสำคัญต่อปริมาณน้ำกักเก็บ ความแปรปรวนของฤดูกาลและความสมดุลในวัฏจักรน้ำของโลก (Water Cycle)
ดังนั้น การนำรอยเท้าน้ำมาใช้เพื่อประเมินสถานการณ์และคำนวณการใช้น้ำที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จึงนับเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมองเห็นภาพรวมของปริมาณน้ำที่ถูกใช้จริง ทั้งในส่วนของปริมาณน้ำดีและน้ำเสียที่ถูกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้กระบวนการต่าง ๆ ทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์น้ำและการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่ามากขึ้น
สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย