ในเดือนที่มี วันนอนหลับโลก Subhead วันที่ 17 มีนาคม สมาคม การนอนหลับ สากลได้ประกาศให้เป็น “วันนอนหลับสากล” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชากรทั่วโลกเห็นความสำคัญของ การนอนหลับ และส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ
1st paragraph โดยในปี 2023 สมาคมฯ ได้ประกาศการจัดกรรมภายใต้แนวคิด “Sleep is Essential for Health” หรือ “การนอนหลับ คือสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพ”
ในทำนองเดียวกับการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย การนอนหลับเป็นพฤติกรรมพื้นฐานของสุขภาวะต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม
ภาพถ่าย Kinga Howard
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ประชากรโลกส่วนใหญ่ละเลยพฤติกรรมการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ วันนอนหลับโลก จึงเป็นโอกาสในการส่งเสริมสุขภาพการนอนหลับ ในวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ และผู้สนับสนุนด้านสุขภาพการนอนหลับ จากทั่วโลก จะร่วมกันจัดกิจกรรมในระดับท้องถิ่น และถ้าคุณอยากเป็นส่วนหนึ่งของวันนอนหลับผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สามารถโพสต์เรื่องราวการนอนหลับของคุณพร้อมแฮชแท็ก #WorldSleepDay ได้ทุกแพลตฟอร์ม
ภาพถ่าย Tânia Mousinho
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เรานอนหลับเป็นเวลา 1 ใน 3 ของวัน การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ระบบอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ได้พักผ่อน (หรือทำงานน้อยลง) เนื่องจาก ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวมากเท่ากับกิจกรรมอื่นๆ จึงไม่จำเป็นต้องสูบฉีดโลหิตมาก
ในขณะเดียวกัน ระหว่างที่ร่างกายกำลังเข้าสู่การนอนหลับอย่างสนิท ร่างกายจะเริ่มซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และปรับสมดุลของสารชีวเคมีในร่างกาย และที่สำคัญ ในระหว่างการนอนหลับจะเป็นช่วงเวลาที่ระบบประสาทจะได้จัดเรียงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาระหว่างวัน เพื่อให้สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สมองเกิดการเรียนรู้ จดจำ และมีพัฒนาการตามลำดับ
ภาพถ่าย Adam Winger
จากการรวมรวบข้อมูลวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ระยะเวลาการนอนหลับที่เหมาะสมในผู้ใหญ่วัยทำงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7 – 9 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการนอนหลับยังแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
อาจาร์แพทย์หญิงอรพิชญา ไกรฤทธิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่า “การนอนหลับที่ดี ไม่ใช่การนอนในระยะเวลายาวนาน แต่เป็นการนอนหลับที่ลึกและเต็มอิ่ม ตื่นมารู้สึกสดชื่น ถึงเรียกว่าการนอนหลับที่มีคุณภาพ”
ภาพถ่าย Bruce Mars
“ผู้ที่นอนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลานานนั้นจะส่งผลต่อการเกิดสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ โดยส่งผลต่อการมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การเกิดภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองในสมอง โรคซึมเศร้า รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต” นายแพทย์นพดล ตรีประทีบศิลป์ ศูนย์ตรวจการนอนหลับกาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว
นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เพียงพอนั้น ยังส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่มากขึ้นกว่าปกติ และยังส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ภาพถ่าย Doğukan Şahin
ในทางกลับกัน การนอนหลับที่มากเกินไปอาจเป็นพฤติกรรมปกติสำหรับบุคคลบางกลุ่ม เช่น วัยรุ่น บุคคลที่นอนไม่พอมาก่อนหน้านี้ หรือบุคคลที่มีการเจ็บป่วย และจากข้อมูลในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่เพียงพอที่จะบ่งชี้ว่า การนอนหลับมากเกินไปส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่
ในบางกรณีที่รู้สึกว่า กำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ นพ.นพดล แนะนำว่าควรจะปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหาในการนอนต่อเนื่องกันประมาณหนึ่งเดือน อย่างไรก็ตาม หากปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่เร่งด่วน เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึกด้วยอาการเจ็บหน้าอก หรือหายใจไม่ออก หรือมีอาการง่วงผิดปกติในระหว่างวัน เช่น งีบหลับ หรือหลับในขณะขับรถ หรือมีภาวะนอนไม่หลับจนทำให้การทำงาน หรือส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์
ข้อมูลการติดต่อศูนย์ตรวจการนอนหลับกาญจนาภิเษก: โทรศัพท์ 06-1384-9154 หรือไลน์แอด @sleeplabgj เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 8.00 – 20.00 น.
เรื่อง ณภัทรดนัย
ข้อมูลอ้างอิง
อ่านต่อ