ปริศนาหลุมดำ สตีเฟน ฮอว์คิง “Hawking information paradox” อาจถูกไขคำตอบได้ ด้วย ‘เส้นควอนตัม’ ข้อมูล-ร่องรอยดาวไม่หายในหลุมดำ

ตามทฤษฎีของ สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังได้กล่าวไว้ว่า หลุมดำ นั้นปล่อยพลังงานความร้อนออกมาอย่างช้า ๆ ซึ่งเรียกกันว่า ‘รังสีฮอว์คิง’ แต่เนื่องจากมันเป็นลักษณะการพาความร้อน รังสีจึงไม่สามารถส่งข้อมูลได้ นั่นหมายความว่ากระบวนการนี้ได้ทำลายข้อมูลทั้งหมด ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มันเคยเป็นดวงดาวมาก่อน กระนั้นกฎของกลศาสตร์ควอนตัมได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ข้อมูลใดๆ ก็ตาม ในจักรวาล ไม่สามารถถูกทำลายได้ จึงกลายเป็นปัญหาระหว่าง ‘ฟิสิกส์คลาสสิค’ และ ‘ ฟิสิกส์ควอนตัม’ ที่ได้สร้างปัญหาให้กับนักจักรวาลวิทยามานานหลายสิบปี ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ‘Hawking information paradox” อย่างไรก็ตาม รายงานที่เผยแพร่ในวารสาร Physics Letters B. โดยเซเวียร์ คาลเมต (Xavier Calmet) ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์ (University of Sussex) และเพื่อนร่วมงานได้เสนอว่า ‘รังสีฮอว์คิง’ ไม่ใช่รังสีที่แผ่ความร้อน และมันสามารถเผยข้อมูลช่วงชีวิตของดวงดาวก่อนจะกลายเป็นหลุมดำกลับมาได้ แต่ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างข้อมูลนั้นด้วยความรู้และเทคโนโลยีปัจจุบัน “ฟิสิกส์ควอนตัมไม่อนุญาตให้ข้อมูลถูกทำลาย ซึ่งหมายความว่า ‘ชีวิตก่อนหลุมดำ’ อาจถูกย้อนกลับได้” คาลเมตกล่าว “เมื่อดูจากรังสีแล้ว เราน่าจะสร้างหลุมดำเดิมขึ้นมาใหม่ได้ … Continue reading ปริศนาหลุมดำ สตีเฟน ฮอว์คิง “Hawking information paradox” อาจถูกไขคำตอบได้ ด้วย ‘เส้นควอนตัม’ ข้อมูล-ร่องรอยดาวไม่หายในหลุมดำ