แต่เมื่อพวกมันรวมตัวเข้ากับธาตุอื่น ก็อาจสร้างความเป็นพิษอันตรายขึ้นมาได้ เช่น โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) หรือ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) ไซยาไนด์ที่มีระดับความข้มข้นสูง “สามารถคร่าชีวิตมนุษย์ได้”
พบได้ในไหนบ้าง? เนื่องจากคาร์บอนและไนโตรเจนเป็นอะตอมที่พบได้ทั่วไปบนโลก ดังนั้นมันจึงแทรกซึมเข้าไปได้ทุกที่รวมถึงอาหารที่เราดื่ม-กิน ไม่ว่าจะเป็น ถั่วงอก เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เชอร์รี่ เกาลัด ข้าวโพด ลูกพีช ถั่วลิสง มันฝรั่ง หรือหน่อไม้สดที่เคยเป็นข่าวในประเทศไทย
ไม่เพียงแค่ในอาหารเท่านั้น แต่ไซยาไนด์ยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ใช้ชีวิต เช่น ไอเสียรถยนต์ ควันบุหรี่ และแม้ถนนเอง แต่ไม่ได้มีระดับความเข้มข้นที่ทำให้เสียชีวิตในเวลาอันสั้น
ส่วนไซยาไนด์ที่อยู่ในอาหาร ทางกรมควบคุมโรคระบุว่า หากผ่านการล้างให้สะอาด ปรุงสุกด้วยความร้อน ก็ทำให้ปริมาณไซยาไนด์ลดลงจนไม่เป็นอันตราย หากต้องการปลอดภัยไว้ก่อน ให้สังเกตกลิ่นของอาหาร หรือรสชาติ หากมีความผิดปกติไปให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนั้น
แต่ไซยาไนด์ที่อันตรายที่สุดก็คือ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) ที่ทำให้เป็นก๊าซ ทำให้มันสามารถลอยแพร่กระจายผ่านการสูดดมเข้าไปได้ อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในที่โล่ง สภาพอากาศถ่ายเทสะดวก จะไม่ค่อยน่ากังวล แต่หากอยู่ในที่ปิด ผลจะรุนแรงขึ้น
อาการ: หากสงสัยว่าได้รับไซยาไนด์ ให้สังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ – เจ็บแน่นหน้าอก เวียนหัว ปวดตา น้ำตาไหล หายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหัวใจเต้นเปลี่ยนไปทั้งช้าขึ้นหรือเร็วขึ้น หายใจเปลี่ยนไป อาเจียน รู้สึกไม่มีแรง ร้อน หรือหายใจลำบาก
อาการสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากสัมผัส (ไม่ว่าจะดม ผิวหนัง กิน หรือดื่ม) ในปริมาณมาก อาจส่งผลถึงความตายได้ในเวลาอันสั้น
วิธีเบื้องต้นหากสัมผัสกับไซยาไนด์ขณะรอรับการช่วยเหลือจากโรงพยาบาล – ออกห่างจากบริเวณที่มีไซยาไนด์ และพยายามหาอากาศบริสุทธิ์ หากไซยาไนด์อยู่กลางแจ้ง ให้เข้าที่กำบัง ปิดประตูหน้าต่าง ปิดระบบระบายอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการปนเปื้อนอากาศในห้อง
หากไซยาไนด์อยู่ตามเสื้อผ้าหรือร่างกาย ให้ถอดออกทุกชิ้น รวมทั้งเครื่องประดับทุกอย่าง การอาบน้ำเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัด ให้ทำเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากคุณยังไม่สามารถถอดเสื้อผ้าได้ อย่าเอาเสื้อผ้ามาคลุมศีรษะเพื่อไม่ให้ไซยาไนด์เข้าตา จมูก หรือปาก
ขณะอาบน้ำ ให้เริ่มจากศีรษะ ไล่ลงไปด้านล่างทุกส่วน ทุกซอกทุกมุม ด้วยน้ำอุ่นและสบู่อ่อน ๆ อย่างน้อย 90 วินาที จากนั้นใช้น้ำสบู่ล้างอีก 1 นาที แล้วตามด้วยน้ำสะอาด 30 วินาที พยายามอย่าให้เข้าตา จมูก หรือปาก และที่สำคัญคือ “ห้ามขัด” เป็นอันขาด ให้ถูอย่างนุ่มนวล
เสื้อผ้าที่คิดว่าปนเปื้อนไซยาไนด์รวมถึงผ้าเช็ดตัวหลังอาบน้ำให้แยกในถุงหรือที่ปิดอย่างมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนต่อไป จากนั้นให้รีบพบแพทย์เพื่อรับยาแก้พิษ ซึ่งจะมีประโยชน์ที่สุดหากได้รับเร็วที่สุดเมื่อสัมผัสสารพิษ
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้รับการรักษาพยาบาลให้เร็วที่สุด และหากมีคนกินไซยาไนด์เข้าไป “ห้ามทำให้อาเจียน” แต่ให้รีบล้างปาก และให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยแทน
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
ที่มา
https://www.cfs.gov.hk/english/multimedia/multimedia_pub/multimedia_pub_fsf_110_01.htm
https://www.britannica.com/science/cyanide
https://www.health.ny.gov/environmental/emergency/chemical_terrorism/cyanide_general.htm
https://www.cdc.gov/chemicalemergencies/factsheets/cyanide.html