หวังศึกษาข้อมูล โครงสร้างเปลือกโลก จีนเล่นใหญ่! ขุดหลุมลึก 11,000 เมตร ไปถึงชั้นหินยุคไดโนเสาร์เมื่อ 145 ล้านปีก่อน

หวังศึกษาข้อมูล โครงสร้างเปลือกโลก ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัวในประเทศจีนเผยว่าประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ตั้งเป้าหมายให้ใต้พื้นดินลึกเป็น 1 ใน 4 พรมแดนทางยุทธศาสตร์ที่ควรสำรวจทางวิทยาศาสตร์ จึงได้สร้างการขุดเจาะนี้ขึ้นมา นำโดยบริษัทปิโตเลียมแห่งชาติจีน (China National Petroleum Corp.)

โครงการนี้เริ่มขึ้นแล้วในช่วงเดือนที่ผ่านมาในพื้นที่ของทะเลทรายทากลามากันทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดนตั้งเป้าว่าจะขุดลงไปให้ลึกถึง 11 กิโลเมตร ซึ่งเท่ากับความสูงหอไอเฟล 33 หอวางต่อกัน อย่างไรก็ตามทางการจีนไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของหลุมขุดเจาะนี้มากเท่าไหร่

แต่นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนหวังว่าหลุมดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงความเข้าใจของเราเกี่ยวกับธรณีวิทยาใต้พิภพได้มากขึ้น และตรวจสอบสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้เกี่ยวกับเปลือกโลกใต้ ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจจากข้อมูลโครงการขุดเจาะอื่น ๆ ที่ลึกกว่านี้และใกล้เคียงกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง รอยเลื่อนเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค และแผ่นเปลือกโลก

พวกเขาพบว่าน้ำและไฮโดรเจนปริมาณมากอยู่ในระดับความลึกกว่าที่เคยคิดกัน ซึ่งก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าน้ำจะไม่ซึมเข้าไปในหินชั้นลึกขนาดนั้น ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังเคยเจอฟอสซิลแพลงก์ตอนที่ลึกลงไปจากพื้นผิวที่ประมาณ 6,000 เมตร

นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามันเป็นที่อยู่ของชั้นหินที่เคยเป็นเปลือกโลกในมหาสมุทร และยังพบชั้นหินแกรนิตที่แปรสภาพ กลายเป็นหลักฐานสนับสนุนของทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัว และโครงการของจีนนี้คาดว่าจะเจาะลงไปถึงชั้นหินที่ก่อตัวเมื่อยุคครีเทเชียสซึ่งย้อนไปถึง 145 ล้านปีก่อน

“ความยากในการก่อสร้างโครงการขุดเจาะ เปรียบได้กับการขับรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ขับบนสายเคเบิลเหล็กบาง ๆ สองเส้น” ซุน จินเซิง นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิศวกรรมแห่งประเทศจีนกล่าว

อุปกรณ์ที่ใช้เจาะนั้นจะต้องทนอุณหภูมิสูงที่ 200 องศาเซลเซียสและความดันบรรยากาศที่สูงกว่าพื้นผิวถึง 1,300 เท่าได้ ทางการจีนคาดว่าจะใช้เวลา 425 ถึง 450 วันในการขุดเจาะ

แม้ตัวเลขระดับความลึกจะน่าประทับใจแต่ก็ยังลึกไม่ถึงครึ่งของความหนาแผ่นเปลือกโลกซึ่งหนาเฉลี่ยประมาณ 30 กิโลเมตร ดังนั้นมันจะไปไม่ถึงเปลือกโลก และโครงการนี้ก็ไม่ใช่หลุมลึกที่สุดที่มนุษย์เคยเจาะมา

หลุมลึกที่สุดนั้นเป็นของรัสเซียที่ชื่อว่า Kola Superdeep Borehole ลึก 12,262 เมตร ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1989 แต่ปัจจุบันถูกทิ้งร้างไปแล้วหลังจากขุดมานานกว่า 20 ปี

สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
Image Credit: NASA/JPL-Caltech.

ที่มา

https://www.iflscience.com/china-is-digging-a-10000-meter-hole-into-the-earth-to-reach-the-cretaceous-system-69175

https://www.sciencealert.com/china-has-started-digging-a-mysterious-10000-meter-deep-hole

https://www.businessinsider.com/china-drilling-hole-10000-meters-deep-earth-2023-6

อ่านเพิ่มเติม การเกิด หิน และ สินแร่ ในธรรมชาติ

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.