นาซ่าพบข้อมูลใหม่ อาจมี ‘สิ่งมีชีวิต’ บนดาวยูเรนัส

“ผลการศึกษาล่าสุดของนาซ่า

เปิดเผยว่าสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับดาวยูเรนัสอาจผิดมาโดยตลอด”

ในปี 1986 ยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) ได้บินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงนี้พร้อมกับเก็บข้อมูลในเวลาสั้น ๆ ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น อย่างไรก็ตามมันก็แสดงให้เห็นว่า ยูเรนัส นั้นเป็นดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ขนาดใหญ่ ที่ดูเหมือนจะมีตวามผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น

นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าแมกนีโตสเฟียร์ที่รุนแรงซึ่งขัดกับความรู้ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการทำงานของสนามแม่เหล็ก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ยูเรนัสก็ถูกมองว่าเป็นดาวเคราะห์ชั้นนอกที่ไม่เหมือนใครเลยซึ่งทำให้นักวิจัยเข้าใจผิดมาตลอดเกือบ 40 ปีโดยที่ไม่มีใครสงสัย 

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยจากนาซา (NASA) ได้ตัดสินใจวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นอีกครั้งเพื่อดูว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาอาจพลาดอะไรบางอย่างไป ซึ่งพวกเขาคิดถูก งานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Nature Astronomy ชี้ให้เห็นว่า ยานวอยเอเจอร์ 2 นั้น ‘อยู่ผิดที่ผิดเวลา’ ไปซะหน่อย

“หากยานโวเอเจอร์ 2 มาถึงเร็วกว่านี้เพียงไม่กี่วัน ยานจะสังเกตเห็นแมกนีโตสเฟียร์ที่ดาวยูเรนัสแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง” ดร. เจมี จาซินสกี (Jamie Jasiniski) จากห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ของนาซา “ยานอวกาศได้พบกับดาวยูเรนัสในสภาพที่มีโอกาสเกิดขึ้นเพียง 4% จากเวลาทั้งหมดเท่านั้น” 

การสำรวจยูเรนัส และความผิดปกติ 

นับตั้งแต่เริ่มยุคการสำรวจอวกาศ มนุษยชาติก็ได้ส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์นับไม่ถ้วน และดาวอังคาริีกมากกว่า 50 ลำ แต่สำหรับยูเรนัสและเนปจูนแล้วมีเพียงลำเดียวเท่านั้นนั่นคือ วอยเอเจอร์ 2 ที่เล่นผ่านและได้ให้ภาพระยะใกล้ไม่กี่ช็อต แถมยังไปอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ค่อยดีนักซึ่งทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนไปมากกับ แมกนีโตสเฟียร์ 

กล่าวอย่างง่าย แมกนีโตสเฟียร์ (magnetosphere) คือ สนามแม่เหล็ขนาดยักษ์ที่อยู่รอบดาวเคราะห์ซึ่งเต็มไปด้วยอนุภาคที่มีพลังงานหมุนวนอยู่รอบ ๆ คล้ายกับ ‘ฟองอากาศ’ ด้วยแมกนีโตสเฟียร์เหล่านี้ทำให้โลกกลายเป็นสถานที่ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้

สนามแม่เหล็กที่ครอบดาวเคราะห์เหล่านี้จะคอยป้องกันรังสีคอสมิกและอนุภาคสุริยะ อันตรายเหล่านี้สามารถฉีกดีเอ็นเอของเราให้เป็นชิ้น ๆ ได้ ดังนั้นหากไม่มีมีสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดยืนอยู่บนพื้นผิวดวงดาวได้ ทว่าแมกนีโตสเฟียร์ของยูเรนัสกลับต่างออกไป 

ยูเรนัสกลับมาแมกนีโตสที่รุนแรงหรือก็คือมีแถบรังสีที่มีความเข้มข้นสูงมากจนได้ฉายาว่า “มีแนกนีโตสเฟียร์มีความเข้มข้นรองลงมาจากแถบรังสีของดาวพฤหัสบดีที่ขึ้นชื่อว่า ‘โหดร้าย’” อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญคือ อนุภาคพลังงานสูงเหล่านี้มาจากไหน? 

เนื่องจากรอบ ๆ ยูเรนัสไม่มีแหล่งที่มาที่สามารถผลิตสิ่งเหล่านี้ได้เลย ยูเรนัสมีดวงจันทร์เพียง 5 ดวงอยู่รอบข้างซึ่งไม่เพียงพอที่จะสร้างแมกนีโตสเฟียร์ที่มีอนุภาคที่มีความเข้มข้นสูงเหล่านี้ไว้ได้ มันจึงกลายเป็นความผิดปกติที่เป็นปริศนา แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มพิจารณาเกี่ยวกับพายุสุริยะ ภาพต่าง ๆ ก็เริ่มสมเหตุสมผล

“พวกเรากำลังค้นหาคำอธิบายถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติของมัน” ลินดา สปีลเกอร์ (Linda Spilker) นักวิทยาศาสตร์ของ JPL กล่าว “รายงานใหม่นี้ช่วยอธิบายความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดบางประการ และจะเปลี่ยนมุมมองของเราที่มีต่อดาวยูเรนัสอีกครั้ง” 

สาเหตุที่แท้จริงคือลมสุริยะที่รุนแรงขึ้น ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากชั้นนอกของดวงอาทิตย์ (โคโรนา) ความรุนแรงดังกล่าวได้สร้างแรงดันที่สูงกว่าปกติประมาณ 20 พร้อมกับฉีดอนุภาคพลังงานสูงเข้าไปในแถบรังสีดวงดาว กลายเป็นแมกนีโตสเฟียร์ที่มีความเข้มสูงมากและวอยเอเจอร์ก็เข้าไป ณ จุดนั้นแบบพอดิบพอดี ทำให้เกิดภาพที่คลาดเคลื่อนว่า ยูเรนัสมีแมกนีโตเฟียร์บางเบาซึ่งเต็มไปด้วยอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่มีความเข้มข้นสูง 

“การบินผ่านนั้นเกิดขึ้นในช่วงที่ลมสุริยะมีความเข้มข้นสูงสุดในช่วงเวลา 8 เดือนนั้น” ดร. จาซินสกี กล่าว

ศักยภาพในการรองรับชีวิต

ข้อมูลดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ายูเรนัสมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับสิ่งมีชีวิตได้เนื่องจากมีแมกนีโตสเฟียร์ที่ปกติ หรืออย่างน้อยดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ก็มีโอกาสเป็นไปได้เช่นกัน เนื่องจาก ไททาเนียและโอเบอรอน นั้นอยู่ในรัศมีของ ‘ฟองอากาศ’ ด้วยเช่นกัน

“ผลลัพธ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าระบบของดาวยูเรนัสอาจมีความน่าตื่นเต้นมากกว่าที่คิดกันไว้มาก” ดร. วิลเลียม ดันน์ (William Dunn) จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน กล่าว “อาจมีดวงจันทร์ที่อาจมีสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิจ อาจมีมหาสมุทรใต้พื้นผิวที่เต็มไปด้วยปลา” 

และการที่พบว่าจริง ๆ แล้วยูเรนัสมีแมกนีโตสเฟียร์ปกติก็ทำให้การสำรวจด้วยยานมีความง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะการมองหาตัวบ่งชี้สำคัญเช่นน้ำ ยังมีการตรวจสอบอีกมากที่ต้องทำซึ่งมีข้อมูลอีกมาที่รออยู่ เนื่องจากเราพึ่งจะเริ่มการสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกกันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้

“ภารกิจสำรวจดาวยูเรนัสในอนาคตมีความสำคัญยิ่งต่อการทำความเข้าใจ ไม่เพียงแต่ดาวเคราะห์และแมกนีโตสเฟียร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงบรรยากาศ วงแหวน และดวงจันทร์ของยูเรนัสอีกด้วย” ดร. จาซินสกี กล่าว 

สืบค้นและเรียบเรียง

วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

ที่มา

https://www.nature.com

https://www.iflscience.com

https://www.abc.net.au

https://www.bbc.com

https://www.space.com


อ่านเพิ่มเติม : “มนุษย์ต่างดาว” มีหน้าตาแบบไหน เหมือนมนุษย์หรือไม่?

บางทีเอเลี่ยนอาจแปลกกว่าที่เราคิด

 

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.