สนับสนุนพื้นที่ทางสังคม ตอบทุกคำถามการใช้บริการ‘ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ’ ภารกิจความร่วมมือเพื่อประชาชน
01 ใครมาใช้บริการได้บ้าง?
กลุ่มที่ต้องลงทะเบียน
-
กลุ่มองค์กรที่ประสานมายังกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5,000 คนต่อวันจุดให้บริการอยู่ที่ทางเข้าประตู 1เวลา 9.00-17.00
-
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนนัดหมายผ่านผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ4 ค่าย คือ AISจุดให้บริการอยู่ที่ทางเข้าประตู 2,Dtacจุดให้บริการจะอยู่ที่ทางเข้าประตู 3,TrueและNT จุดให้บริการอยู่ที่ทางเข้าประตู 4เวลา 9.00-17.00
กลุ่มที่สามารถ Walk-in เข้ามาโดยไม่ต้องลงทะเบียน
-
ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปสามารถเข้ารับบริการได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่31 กรกฎาคม 2564 จุดรับลงทะเบียนที่ประตู 2,3 และ 4 เวลา 9.00-17.00
-
ผู้ที่มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป และผู้ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป(ต้องแสดงเอกสารการตั้งครรภ์ที่ได้รับการรับรองทางแพทย์) สามารถเข้ารับบริการได้จุดรับลงทะเบียนที่ประตู 2,3 และ 4 เวลา 13.00-17.00
02 การเดินทางมาศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ
-
Shuttle Bus รับ-ส่ง 3 เส้นทาง ให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00เป็นต้นไป จนกว่าประชาชนจะเดินทางออกจากพื้นที่จนหมด
-
เส้นทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สถานีกลางบางซื่อเริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ฝั่งเกาะพหลโยธิน) สุดเส้นทางที่สถานีกลางบางซื่อ (ไม่จอดรับ-ส่งระหว่างทาง)
-
เส้นทางท่าเรือบางโพ-สถานีกลางบางซื่อเริ่มต้นจากท่าเรือบางโพจอดรับผู้ใช้บริการที่สถานี MRT เตาปูน และสุดเส้นทางที่สถานีกลางบางซื่อ
-
เส้นทางเซ็นทรัลลาดพร้าว-สถานีกลางบางซื่อ (เดินรถวงกลม) เริ่มต้นจากเซ็นทรัลลาดพร้าวจอดรับ-ส่งผู้ใช้บริการที่สถานี BTS หมอชิตสถานีกลางบางซื่อสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) และกลับไปสุดเส้นทางที่เซ็นทรัลลาดพร้าว
-
Shuttle Busรับ-ส่งบริเวณประตูทางเข้าศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ (จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี) และบริเวณประตูทางออก (ฝั่งสถานีรถไฟบางซื่อ) ให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00 เป็นต้นไป
-
รถไฟฟ้าใต้ดิน MRTเชื่อมต่อ Shuttle bus ให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00 เป็นต้นไป จนกว่าประชาชนจะเดินทางออกจากพื้นที่จนหมด
-
สถานีบางโพ ทางออก 1Cเชื่อมต่อ รถ Shuttle bus
-
สถานีเตาปูน ทางออก 1 เชื่อมต่อ รถ Shuttle bus
-
สถานีบางซื่อ ทางออก 2 เดินต่อ 200 ม. และเชื่อมต่อ รถ Shuttle bus ขสมก.
-
สถานีกำแพงเพชร ทางออก 3 เชื่อมต่อ รถ Shuttle bus ขสมก.
-
สถานีสวนจตุจักร ทางออก 3 เชื่อมต่อ รถ Shuttle bus ขสมก.
-
รถไฟชานเมืองสายสีแดง2 เส้นทางเปิดทดลองให้ใช้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นเวลา 3 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564
-
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-สถานีตลิ่งชัน
-
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-สถานีรังสิต
-
รถยนต์ส่วนตัว สามารถจอดรถได้ที่ลานจอดรถด้านข้างอาคาร และลานจอดรถใต้ดินชั่วคราว ซึ่งรองรับได้กว่า 1,600 คัน
03 ขั้นตอนรับวัคซีน
จุดที่ 1 เข้ารับบริการ (บริเวณประตูทางเข้า)
- กระบวนการเริ่มต้นคัดกรอง วัดไข้ ล้างมือ ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันผู้เข้ารับวัคซีน โดยมีพื้นที่รองรับประชาชนรวม 1,400 ที่นั่ง
- ผู้เข้ารับบริการที่มีประวัติแพ้ยารุนแรง, รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดและยาละลายลิ่มเลือด ที่อาจทำให้เลือดหยุดยาก จะถูกส่งต่อไปคัดกรองโดยแพทย์ที่จุดดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
จุดที่ 2 ลงทะเบียน
- ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนที่ลงทะเบียนมาล่วงหน้า ยืนยันตัวตนโดยแสดงQR Code พร้อมบัตรประชาชน และลงนามในใบยินยอมการรับวัคซีนซึ่งระบุ 5 หลักเกณฑ์
- มีอายุมากกว่า 18 ปี
- สำหรับสุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์ต้องมีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์
- ความดันโลหิตต้องไม่สูงกว่า 160 ส่วน 100 มิลลิเมตรปรอท
- ถ้าได้รับการถ่ายเลือดหรือได้รับยาต้านไวรัส ต้องผ่านมามากกว่า 90 วัน
- ถ้ามีโรคประจำตัว ต้องมีอาการของโรคคงที่ก่อน จึงจะสามารถรับวัคซีนได้
- จากนั้นผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนจะได้รับใบนำทาง ซึ่งระบุวันนัดหมายในการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป
จุดที่ 3 ฉีดวัคซีน
- เข้ารับการฉีดวัคซีนโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญ จากกรมการแพทย์ วิทยาลัยพยาบาล และสถาบันโรคผิวหนัง เจ้าหน้าที่จะลงเวลาเริ่มฉีด และเวลาครบ 30 นาที
- รองรับผู้ใช้บริการ 100 จุด ให้บริการโดยเจ้าหน้าที่จากกรมการแพทย์ วิทยาลัยพยาบาล และสถาบันโรคผิวหนัง
จุดที่ 4 พักเพื่อสังเกตอาการ 30 นาที
- ระหว่างพักคอยสังเกตอาการ ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนจะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน และลงทะเบียนผ่านไลน์หมอพร้อม เพื่อแจ้งข้อมูลการรับวัคซีน ทำแบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน และออกใบรับรองการได้รับวัคซีน เมื่อผ่านพ้นขั้นตอนนี้ และอยู่ในภาวะปกติ สามารถเดินทางกลับบ้านได้
- มีการจัดเตรียมห้องปฐมพยาบาลและอุปกรณ์ทางการแพทย์ดูแลทุกคน หากพักสังเกตอาการแล้ว ไม่มีอาการผิดปกติ จะเข้าสู่จุดตรวจสอบก่อนกลับ รับเอกสารการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน และเดินทางกลับบ้าน
04 มาตรการต้านภัยโควิด-19 ของรถไฟไทย
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงมีการกำหนดมาตรการดูแลผู้โดยสารในการให้บริการผู้ใช้บริการรถไฟ
-
- เจ้าหน้าที่สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
-
- เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดพื้นที่ให้บริการ พร้อมใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง เน้นบริเวณที่เป็นจุดสัมผัสในการให้บริการเป็นพิเศษ
-
- ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทั่วบริเวณพื้นที่ให้บริการ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
-
- จัดให้มีเจลล้างมือวางไว้ให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการ บริเวณหน้าช่องจำหน่ายตั๋วและบริเวณภายในสถานี
-
- เจ้าหน้าที่สวมหน้ากากอนามัยป้องกันตลอดเวลาในการปฏิบัติหน้าที่บนขบวนรถ
-
- ทำความสะอาดภายในรถโดยสาร เน้นรถปรับอากาศบริเวณที่เป็นจุดสัมผัสในการให้บริการเป็นพิเศษ โดยเพิ่มความถี่ในการดำเนินการมากขึ้น พร้อมใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง
-
- ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทั่วบริเวณที่ให้บริการ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
-
- จัดให้มีเจลล้างมือวางไว้ให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการในตู้โดยสารปรับอากาศทุกคัน
- มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันเป็นกรณีพิเศษ
-
- สถานีรถไฟที่มีประชาชนผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก และสถานีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น สถานีเชียงใหม่ สถานีอุบลราชธานี และสถานีกลางบางซื่อ ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด โดยให้ความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น สาธารณสุขจังหวัด กรมอนามัย ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ตั้งจุดตรวจคัดกรองผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น โดยมีแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
-
- สถานีรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศ ได้แก่ สถานีหนองคาย สถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึก สถานีอรัญประเทศ และสถานีปาดังเบซาร์ 1-2 ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด โดยให้ความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น สาธารณสุขจังหวัด ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ตั้งจุดตรวจคัดกรองผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น
© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.