หัวใจการพัฒนาพื้นที่รอบ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ที่ทำให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน

หัวใจสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของเมืองโดยรอบ คือการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมรวมถึงสถานีขนส่งมวลชนระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ที่หากได้รับการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้การเติบโตเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืน

หัวใจที่ 1ภารกิจพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน

บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์จำกัด (SRT ASSET CO., LTD.)คือบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง เพื่อวางแผนบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ขับเคลื่อนพัฒนาพื้นที่บริการรถไฟและอสังหาริมทรัพย์รอบสถานีรถไฟ รวมถึงร่วมลงทุนกับภาคเอกชนหลายรูปแบบ ที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าจากสินทรัพย์ในการครอบคลองของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน

จากวันนี้ไป การรถไฟแห่งประเทศไทยจะค่อย ๆ ขยับขยายการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ให้สามารถสร้างรายได้อย่างคุ้มค่า เพื่อนำมาเสริมสร้างประสิทธิภาพการให้บริการคมนาคมแก่ผู้คน ไปพร้อมกับการสร้างคุณภาพชีวิตและรายได้ให้ชุมชนโดยรอบพื้นที่สถานีรถไฟ

ภารกิจแรกของ SRT ASSET คือการดำเนินการ ‘โครงการพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่’ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะพื้นที่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ที่รัฐบาลและการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบรางแห่งใหม่ของภูมิภาคอาเซียน และเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจครบวงจร รวมถึงเป็น Smart City ที่สมบูรณแบบที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2565

ภาพจากการจัดทำแผนแม่บท ศึกษาความเหมาะสม ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุน โดย Team Group

หัวใจที่ 2 แนวคิดพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ

แนวคิดการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีขนส่งมวลชน หรือ TOD (Transit Oriented Development)ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ที่นำไปสู่การสร้างความเจริญของท้องถิ่น รวมถึงรองรับและดึงดูดการลงทุนจากภาคส่วนที่หลากหลาย

มีการคาดการณ์ว่าในปี 2593 จะมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้นถึง 2.4 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 66 ของประชากรโลก ในขณะที่ประเทศไทยจะมีประชากรเพิ่มอีกกว่า 11 ล้านคน และประชากรร้อยละ 73 ของประเทศจะอยู่ในเมือง แนวคิดในการบูรณาการการพัฒนาเมืองเข้ากับระบบคมนาคมขนส่งอย่างเหมาะสมอย่าง TOD จึงเกิดขึ้นเพื่อให้การพัฒนาเมืองเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง

การรถไฟแห่งประเทศไทยนำแนวคิด TOD มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์รอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางด้วยเช่นกัน โดยใช้ ‘สถานีรถไฟ’ เป็นศูนย์กลางควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แบบผสมผสาน (Mixed Use Development) ซึ่งมุ่งสร้างกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่

โดยจัดสรรให้มีทั้งพื้นที่อยู่อาศัย ร้านค้า สำนักงาน พื้นที่โล่งว่าง และพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งบริการพื้นฐานต่าง ๆ โดยเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งแนวตั้งและแนวนอน เน้นกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งกลางวัน-กลางคืนและเป็นการพัฒนาให้พื้นที่นั้นมีความหนาแน่นสูง กล่าวคือการใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรเพื่อประโยชน์สูงสุด

แนวคิด TOD ส่งเสริมให้ผู้อยู่ในพื้นที่เดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน จักรยาน โดยจัดให้มีทางจักรยาน จุดจอดจักรยาน และการเดินเท้าที่มีการออกแบบโครงข่ายถนนสำหรับการเดินเท้าที่เชื่อมโยงบริเวณพื้นที่โดยรอบและอาคารต่าง ๆ ในพื้นที่กับสถานีขนส่งมวลชน ภายในรัศมีการเดินเท้า 400-800 เมตรจากสถานีขนส่งมวลชน

กรณีศึกษา Tokyo Station

หัวใจที่ 3 สถานีกลางบางซื่อโมเดลแห่งอนาคต

สถานีกลางบางซื่อ นับเป็นโมเดลแห่งอนาคตของการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบในเชิงพาณิชย์ในเขตที่ดินแปลงใหญ่ศักยภาพสูง ภายใต้แนวคิด ASEAN Linkage & Business Hub ศูนย์กลางการคมนาคมและการขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดของไทยและอาเซียน

การพัฒนาโมเดลแห่งอนาคตของการรถไฟแห่งประเทศไทย สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งกระทรวงคมนาคมกำลังเดินหน้าพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง หัวใจสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ

ผ่านการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ราง น้ำ อากาศ ให้เชื่อมโยงกันอย่างครอบคลุมเป็นโครงข่าย ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการเดินทาง เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน กระจายความเจริญไปสู่ทุกพื้นที่ และนำคุณภาพชีวิตที่ดีไปสู่ประชาชน

โดยพื้นที่ขนาด 2,325 ไร่ โดยรอบสถานีกลางบางซื่อจะถูกแบ่งออกเป็นหลายโซนด้วยกันคือ

ภาพจากการจัดทำแผนแม่บท ศึกษาความเหมาะสม ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุน โดย Team Group

นอกจากสถานีกลางบางซื่อ ยังมีที่ดินแปลงใหญ่ศักยภาพสูงแห่งอื่น ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครอีก ไม่ว่าจะเป็นย่านสถานีมักกะสันขนาด 497 ไร่ หรือย่านสถานีแม่น้ำขนาด 277 ไร่ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยวางแผนที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศที่สามารถดึงดูดนักลงทุนขนาดใหญ่ได้

และการรถไฟแห่งประเทศไทยมีแผนยังมีแผนพัฒนาย่านสถานีรถไฟที่สำคัญในทุกภูมิภาค ทั้งย่านสถานีรถไฟชานเมืองและย่านสถานีรถไฟทางคู่ ให้สามารถพัฒนาเป็นที่พักอาศัย โรงแรม ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า สำนักงาน อาคารพาณิชย์ ตลาด ตลอดจนพื้นที่สาธารณะอย่างโรงเรียน โรงพยาบาล และสวนสาธารณะ ตามแต่ศักยภาพและทำเลที่ตั้งของแต่ละสถานี

หัวใจที่ 4 เมืองของผู้คนที่เติบโตอย่างยั่งยืน

ในอนาคตเมื่อสถานีกลางบางซื่อ ถูกพัฒนาด้วยแนวคิด TOD เป็น ASEAN Linkage & Business Hub ศูนย์กลางการคมนาคมและการขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดของไทยและอาเซียน

คุณภาพชีวิตของผู้คนจะดีขึ้น เพราะการพัฒนา TOD ประกอบไปด้วยย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจและพื้นที่สาธารณะ รวมถึงมีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบครันในรัศมีการเดินเท้าจากสถานีขนส่งสาธารณะ

การพัฒนา TOD ให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย อย่างทางม้าลาย สัญญาณไฟคนข้ามถนนไฟฟ้าส่องสว่าง ทางลาดสำหรับรถวีลแชร์ และลิฟต์โดยสาร พื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นย่านที่เป็นมิตรกับทุกชีวิต ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุและคนพิการ

แน่นอนว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผู้คน เปลี่ยนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นระบบขนส่งมวลชน ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาด้านจราจรแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดเวลา ในการเดินทางของผู้คน รวมทั้งยังลดมลพิษ ลดการใช้พลังงาน ต้นเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอน สาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน

ที่สำคัญคือผู้คนสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ง่ายและทั่วถึง มีพื้นที่พบปะสังสรรค์ ลานกิจกรรม ลานดนตรี สร้างสีสันให้แก่ชีวิต เพิ่มทางเลือกในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ และที่สำคัญเป็นการเพิ่มแหล่งงานให้หลากหลายขึ้นด้วย

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.