GC Sustainable Living Symposium 2023 รวมมุมมองเพื่อแก้ปัญหา ‘ภาวะโลกเดือด’

PTTGC ผนึกกำลังพันธมิตร จัดงาน GC Sustainable Living Symposium 2023: We are GEN S ส่งต่อแนวคิดจาก 40 ตัวจริงด้านความยั่งยืน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจอย่างเป็นรูปธรรม สู่ชีวิตแบบ Sustainable Living

“สภาวะโลกร้อน” (Global Warming) เป็นคำคุ้นหูที่เราได้ยินมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ถึงวันนี้โลกกำลังพบกับสิ่งที่รุนแรงกว่าเก่า โดยที่เราเรียกว่า “สภาวะโลกเดือด” (Global Boiling)” ซึ่งหมายถึงการที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ร้อนขึ้นจนเป็นสถิติ และเกิดบ่อยขึ้น จนกระทบกับชีวิตในหลายเรื่อง ทั้งสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาสุขภาพ ฯลฯ

บริษัท พีพีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  หรือ GC  คืออีกหนึ่งองค์กรที่คิดค้นนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นต้นเหตุของการเกิดสภาวะเรือนกระจก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มาโดยตลอด และในปีนี้ GC ก็ได้จัดงาน งาน GC Sustainable Living Symposium 2023: We are GEN S  เมื่อวันที่ 27-28 ตุลาคม 2566 ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน เพื่อเป็นการระดมไอเดียของคน GEN S (Generation Sustainability) ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญและตระหนักถึงการใช้ชีวิตแบบ Sustainable Living เพื่อส่งต่อโลกที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อไป

ในงาน ได้รับเกียรติจากคุณยูริ ยาร์วิอะโฮ เอกอัครราชฑูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ขึ้นกล่าวเปิดงาน และได้แสดงวิสัยทัศน์ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนจากประเทศฟินแลนด์ ต้นแบบประเทศแห่งความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก และผู้คนมีความสุขมากที่สุดในโลก พร้อมกับเป็นผู้ก่อตั้ง The World Circular Economy Forum หรือ (WCEF)

ยูริ ยาร์วิอะโฮ เอกอัครราชฑูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย

GC เดินหน้าพัฒนาพลังงานสะอาด

จากนั้น ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) ของ PTTGC กล่าวว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 1% เมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลก แต่ประเทศไทยกลับเป็น 1 ใน 10 ประเทศของโลกที่ได้จะรับผลกระทบสูงสุด โดยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่โลกมาจาก 3 อุตสาหกรรมหลักได้แก่ ภาคพลังงาน, ภาคเกษตรกรรรม, ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) ของ PTTGC

PTTGC ในฐานะองค์กรที่ขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนมาอย่างยาวนาน ได้เล็งเห็น 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเป็นทางออกเร่งด่วนให้กับโลก ได้แก่ Energy Transition และ Circular and Bio-based Economy ซึ่งเป็นการปรับจากการใช้พลังงานแบบฟอสซิล ก้าวสู่การใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงาน และการใช้พลังงานสะอาดรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน

“ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ หากเราสามารถยกระดับข้อได้เปรียบนี้มาปรับใช้ อาทิ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้วยแนวทางแบบ Bio Solutions จะสามารถช่วยประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ และยังสอดคล้องกับโมเดลธุรกิจ BCG ของประเทศ หรือการนำหลัก Circular Economy ซึ่งเกี่ยวข้องกับการ Reduce, Reuse และ Recycle มาปรับใช้ในการทำการเกษตรแบบคาร์บอนต่ำ เช่น การทำนาน้ำน้อย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้ทรัพยากร ในขณะที่ปริมาณผลผลิตได้เท่าเดิมหรือมากกว่า ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นประโยชน์มากแก่ประเทศไทย ที่เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวลำดับต้นๆ ของโลก”

ทุกภาคส่วนร่วมเปลี่ยนโลก

ไม่ว่าจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ หรืออาชีพอะไร ก็ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโลกที่ดีขึ้นได้ GC Sustainable Living Symposium 2023: We are GEN S จึงเป็นพื้นที่ให้กับผู้ปฏิบัติงานจริง และมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความยั่งยืนได้แสดงผลงาน และไอเดียที่จะช่วยโลก ซึ่งในเวทีแรกเป็นการอัปเดตเทรนด์ความยั่งยืน และแนวทางปฏิบัติจากหน่วยงานชั้นนำเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติโลกเดือดอย่างเร่งด่วน

ช่วงหนึ่งในวันแรก มีการเล่าประสบการณ์จากตัวแทนธุรกิจชั้นนำระดับโลก อาทิ ตัวแทนจาก Accenture ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ให้ความสำคัญด้านความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน ตัวแทนจาก Allnex ผู้นำระดับโลกด้านการผลิต Coating Resins ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวแทนจาก Econic ผู้นำนวัตกรรมเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นพลาสติก และเคมีภัณฑ์เพี่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนปัจจุบัน ทั้งยังมีตัวแทนจาก  Microsoft ผู้นำด้านดิจิทัล และเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนตอบโจทย์เทรนด์โลกที่ไม่หยุดนิ่ง

มิเกล มามันตัส ผู้บริหาร Allnex กล่าวว่า เป้าหมายสู่ความยั่งยืน ในการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  และเป็นพลังงานหมุนเวียนที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยองค์กรได้พยามทำงานร่วมกับห่วงโซ่อุปทานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาทางลดก๊าซคาร์บอน โดยใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล อย่างพลาสติกจากขวด Pet ซึ่งใช้วัสดุทดแทน และหาแนวทางใหม่ๆในการหมุนเวียนหรือการรีไซเคิลเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุก็เอาไปรีไซเคิลง่ายขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คีธ วิกกินส์ ผู้บริหาร  Econic Technologies Ltd กล่าวว่า  มุมมองเริ่มต้นในการทำงาน เริ่มจากการตั้งคำถามว่าทำอย่างไรให้ตอบโจทย์ลูกค้าใช้นวัตกรรมเน้นการใช้เทคโนโลยีใช้คาร์บอน เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ใช้วัสดุรีไซเคิล แต่ต้องดึงดูดอีกด้วยกับกลุ่มผู้ใช้อีกด้วย นำมาซึ่งการคิดคั้นในการใช้คาร์บอนที่สามารถเปลี่ยนโมเลกุนให้เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งคาร์บอนนั้นถูกกว่าน้ำมันเชื่อเพลิงช่วยลดค่าใช่จ่ายไปได้มาก และช่วยด้านความยั่งยืนได้อีกด้วย

ขณะที่ ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Microsoft Thailand กล่าวว่าการเพิ่มของอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส เกิดผลกระทบมากต่อโลก เช่น อาจจะมีคน 2.4 ล้านคนศูนย์เสียอาชีพและที่อยู่อาศัยและต้องแก้ปัญหา นั้นจึงเป็นเหตุผลให้ไมโครซอฟได้นำเรื่องความยั่งยื่นไปใช้ในวิสัยทัศน์ การดูแลการปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นและการปล่อยคาร์บอนในอากาศ และการลุงทุนใหม่ๆในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการใช้นวัตกรรมในการลดก๊าซคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Exhibition Zone ถ่ายทอดโมเดลคนเจน S

นอกจากมุมมองของผู้บริหารองค์กรที่มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์แล้ว งานนี้นี้ยังมี และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดโมเดลของการสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบคนเจน S ซึ่งเน้นหนักไปใน  4 โซนสำคัญได้แก่

 

อ่านเพิ่มเติม : พลาสติกชีวภาพ ทางเลือก หรือ ทางรอด ของปัญหาขยะพลาสติก

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.