ส่องกลยุทธ์ต้นแบบ ‘ไทยเบฟ’ องค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนอันดับ 1 ของโลก

“ภาวะโลกเดือด” เป็นคำที่กล่าวกันในวงกว้างขึ้นนับตั้งแต่กลางปีที่แล้ว (2566) เมื่อ นายอันโต  นิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ออกมาประกาศว่า ยุคโลกร้อน (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และพวกเรากำลังเข้าสู่ยุคโลกเดือด (Global Boiling) โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero นั่นเอง

ในประเทศไทย มีหลายองค์กรที่สร้างธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความยั่งยืน ด้วยกลยุทธ์สำคัญด้าน ESG (Enabling Sustainable Growth) หรือการ “สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน”  ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาล ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยมีการตั้งเป้าด้านสิ่งแวดล้อมเป็น Net Zero หนึ่งในนั้นคือบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง “ไทยเบฟ” ที่พิสูจน์ด้วยการลงมือทำ กระทั่งได้เป็นองค์กรต้นแบบความยั่งยืนระดับโลก

ล่าสุด ไทยเบฟ คว้าคะแนนสูงสุด 91 คะแนนจาก 100 คะแนนในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มระดับโลก จากดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจน (DJSI) ประจำปี 2023 ได้เป็นปีที่ 6 ติดต่อกันซึ่ง DJSI ได้ประเมินผลดำเนินงานของกลุ่มบริษัทที่เลือกมา โดยใช้เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) 30 ข้อ โดยในปีนี้ไทยเบฟได้รับคะแนนสูงสุดในมิติการกำกับดูแลและเศรษฐกิจ รวมถึงมิติสังคม และได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับสองในมิติสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ไทยเบฟมีกลยุทธ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืน 3 ระดับ คือ ภายในองค์กร ความร่วมมือกับพันธมิตร และการสร้างแพลตฟอร์มสาธารณะและตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืน อาทิ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมภายในปี 2583 การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 50% เพิ่มสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลในขวดพลาสติก PET (rPET) เป็นต้น ด้านสังคมและธรรมาภิบาล เช่น ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มระดับความผูกพันของพนักงานให้มากกว่าหรือเท่ากับ 90% ภายในปี 2573 ทั้งยังร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรเอกชนอีก 8 องค์กร ก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (Thailand Supply Chain Network หรือ TSCN) ขึ้นในปี 2562 เป็นต้น

ด้านความร่วมมือกับชุมชน ไทยเบฟ ร่วมมือกับเทศบาลท้องถิ่นและพันธมิตร ริเริ่ม “โครงการสมุยโมเดล” ในปี 2561 โดยร่วมมือกับเทศบาลนครเกาะสมุยและร้านค้าของเก่าในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วหลังการบริโภค เพื่อลดปัญหาขยะบนเกาะ สร้างรายได้ให้กับผู้ค้าขวดเก่าในท้องถิ่นถึง 10 ล้านบาทต่อปี โดยในปี 2566 ได้ขยายผลโครงการสู่เกาะสีชัง และยังมีแผนขยายไปยังเกาะอื่นๆ เช่น เกาะล้าน และเกาะเสม็ด นอกจากนี้ ในการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ไทยเบฟได้นำขวดพลาสติก PET กลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลผลิตเป็นผ้าห่มได้แล้วทั้งสิ้น 30.40 ล้านขวด ภายใต้โครงการ“ไทยเบฟรวมใจต้านภัยหนาว” ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 24

ในด้านการสร้างแพลตฟอร์มสาธารณะ ไทยเบฟร่วมกับบริษัทชั้นนำของประเทศไทยจัดงาน Sustainability Expo (SX) ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” โดยได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 มีองค์กรด้านความยั่งยืนจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่เข้าร่วมกว่า 246 องค์กร

ที่สำคัญ ไทยเบฟยังมีโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็น โครงการพลังงานหมุนเวียน ที่ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล อาทิ โครงการเครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวลที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 48,632 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ในปี 2566 สามรถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 13,799 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า  โครงการโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biogas) ซึ่งนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 11,891 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

นอกจากนี้ ยังมีโครงงานนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ใหม่ และยังคงขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (CFP) ที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ

และเมื่อปีที่ผ่านมา ไทยเบฟยังได้เข้าร่วมการรายงานด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการบริหารจัดการน้ำ (Water Security) ของ Carbon Disclosure Project หรือ CDP Water Climate ซึ่งเป็นการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดทั่วโลก โดยได้รับคะแนนประเมินในระดับ A- ในทั้ง 2 หมวด จากผลการประเมินล่าสุด

เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของกิจกรรมและโครงการ ที่องค์กรภาคเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศไทยได้ลงมือทำ อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะลดลงได้ก็ต่อเมื่อก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจะต้องเท่ากับศูนย์ (Net Zero)

ซึ่งหมายถึงไม่ใช่แค่องค์กรที่ลงมือทำ แต่ในชีวิตประจำวันเราทุกคนก็ต้องช่วยกัน Net Zero ด้วยเช่นกัน

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.