ถอดรหัส ‘เมืองน่าอยู่’ สู่อนาคต ‘เมืองยั่งยืน’ ผ่านเสวนาของ One Bangkok ในงาน SX 2024

มองภาพอนาคตเมืองแห่งความยั่งยืน ผ่านวิสัยทัศน์ของผู้นำ และผู้พัฒนาโปรเจคสำคัญจาก 2 เวทีเสวนาในงาน ในงาน Sustainability Expo 2024

ถ้าพูดถึง “เมืองที่ยั่งยืน” หลายคนก็คงมีนิยามในความคิดที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green City) หรือการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งหมายถึงเมืองที่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ในงาน Sustainability Expo 2024 โครงการ One Bangkok ได้จัดเสวนาเพื่อฉายภาพความคิดการเป็นเมืองที่ยั่งยืนอีกครั้งผ่าน 2 เสวนาสำคัญ ได้แก่ Pathways to a Sustainable Urban Future เส้นทางสู่อนาคตเมืองที่ยั่งยืน และ Time to CHANGE: Shaping Bangkok’s Future เปลี่ยนวันนี้ เพื่ออนาคตกรุงเทพฯ ที่ยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมที่เกิดขึ้นในการร่วมผลักดันกรุงเทพฯ สู่การเป็นเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีคุณภาพชีวิตของผู้คนเป็นศูนย์กลาง

เริ่มที่เสวนาแรก Pathways to a Sustainable Urban Future เส้นทางสู่อนาคตเมืองที่ยั่งยืน ซึ่งหัวข้อนี้มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด และคุณเข็มอัปสร สิริสุขะ นักแสดงและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดำเนินการเสวนาโดยคุณอาลิซาเบธ แซดเลอร์ ลีนานุไชย

เวทีนี้ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อธิบายถึงแนวทางการสร้างเมืองที่ยั่งยืนว่า การสร้างความยั่งยืน มีความหมายเดียวกับการสร้าง “เมืองน่าอยู่” ซึ่งการจะไปสู่สิ่งนี้ต้องมองเมืองเหมือนร่างกายที่มีทั้งเส้นเลือดใหญ่และเส้นเลือดฝอย ซึ่งแนวทางของกรุงเทพฯ คือการใส่ใจทั้งโครงการขนาดใหญ่และเล็ก ที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตในทุกๆวัน ผ่านนโยบาย ‘กรุงเทพฯ 9 ดี’ หรือนโยบาย 9 มิติ ที่ช่วยพัฒนากรุงเทพ

นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รัฐบาล เอกชน สถานฑูต และประชาชนทั่วไป ตัวอย่าง โครงการปลูกต้นไม้ล้านต้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากหลายฝ่ายจนใกล้สำเร็จ หรือจะเป็นโครงการ BKK Food Bank เพื่อลดขยะจากอาหารในชุมชน รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ออกกำลังกายในศูนย์กีฬาของสวนเบญจกิติเองที่หน่วยงานรัฐได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน

เมืองน่าอยู่ คนต้องสุขภาพดี

นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในเรื่องเดียวกันนี้ว่า เมืองที่ดีคือเมืองที่ให้ความสำคัญกับ “คน”  ซึ่งจะทำให้คนเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี ต้องประกอบไปด้วย ร่างกายดี จิตใจดี  และการจะทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เริ่มจากการมีพื้นที่สีเขียว ลดมลพิษจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นอากาศ น้ำ เสียง สารเคมี ขยะ เพิ่มที่สาธารณะปลอดภัย กระตุ้นให้ผู้คนเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน และในอนาคตภาครัฐจะมีมาตรการเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการสร้างพฤติกรรมของประชาชนเอง เช่น อาจจะมีการออกนโยบายลดน้ำหนัก นโยบายลดการใช้รถยนต์ผ่านการลดภาษี ซึ่งทั้งหมดส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพต่อตัวเองและสังคมมากยิ่งขึ้น

นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

พัฒนาโครงการสู่เมืองยั่งยืน

คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด อธิบายแนวคิดในการพัฒนาโครงการซึ่งส่งผลถึงความยั่งยืนว่า ต้องยึดหลักใน 2 ด้านคือ ตอบสนองนโยบายภาครัฐฯ ในการพัฒนาเมืองที่สอดคล้องไปกับแผนพัฒนาในภาพใหญ่ การสร้างโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงเมืองที่ดี และด้านที่สองคือ โครงการนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนอีกด้วย เพราะมีผู้คนมาใช้ชีวิตอยู่อาศัยภายในโครงการมากขึ้น

ตัวอย่างจากโครงการ One Bangkok ซึ่งมีการออกแบบที่มองคนเป็นศูนย์กลาง ภายในธีม “Quality of Life” ยกระดับคุณภาพชีวิต ที่มีทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า พื้นที่ศิลปะ มุ่งเป้าสร้างพื้นที่สีเขียวมากขึ้น สามารถเดินได้ด้วยเท้าตลอดโครงการภายใน 15 นาที เชื่อมต่อการเดินทางของคนเมืองให้สะดวกสบาย เพิ่มศักยภาพของพื้นที่ให้เต็มที่ มีพื้นที่ปลอดภัย 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งยังเปิดกว้างให้แก่ผู้รักสัตว์ มีพื้นที่ Art Loop เสพศิลปะ ดื่มด่ำกับวัฒนธรรม กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผู้คนเข้าถึงได้ในทุกระดับ และลดความเครียดของผู้อยู่อาศัย

ขณะที่อีกเวที คือการเสวนาในหัวข้อ Time to CHANGE: Shaping Bangkok’s Future เปลี่ยนวันนี้ เพื่ออนาคตกรุงเทพฯ ที่ยั่งยืน ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย คุณวรวรรต ศรีสอ้าน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการวัน แบงค็อก, คุณศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) และรองศาสตราจารย์ ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการเสวนาโดยมี ดร. พร้อม อุดมเดช ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหลักสูตรสถาปัตยกรรมสหวิทยาการนานาชาติ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)เป็นผู้ดำเนินเสวนา

One Bangkok โปรเจคแห่งชีวิตในอนาคต

คุณวรวรรต ศรีสอ้าน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการ วัน แบงค็อก อธิบายว่า ปัจจุบันปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาท้าทายที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของผู้คน เราจึงมุ่งมั่นสร้างมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งอนาคต “กรีนสมาร์ทซิตี้” เมืองที่เพียบพร้อมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อสุขอนามัยที่ดี ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในทุกมิติ โดยล่าสุด วัน แบงค็อก เป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองโดยมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับแพลตตินัม รวมถึง มาตรฐาน WiredScore และ SmartScore ในระดับแพลตตินัมเช่นเดียวกัน ทั้งยังมุ่งสู่การรับรองโดยมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้บริการอีกด้วย

คุณวรวรรต ศรีสอ้าน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการ One Bangkok

คุณศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) ยกตัวอย่างในด้านเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับผู้คนว่า ชีวิตประจำวันที่ตื่นมาก็มีเครื่องทำอาหารอัตโนมัติทันที ใช้รถส่วนตัวโดยที่ไม่ต้องมีคนขับ Autonomous Vehicle (AV) คือการทำให้ชีวิตดีขึ้นด้วยเทคโนโลยี เพราะการมีระบบอัตโนมัติคือการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นในโครงการ One Bangkok ด้วยการนำระบบอัตโนมัติมาบวกกับความเฉพาะบุคคลมากขึ้น

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า เมืองที่ดี คือเมืองที่ผู้คนเชื่อมต่อเข้าหากัน เป็นเมืองที่เดินได้ การเชื่อมต่อคนด้วยขาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ใช้งานพื้นที่อย่างคุ้มค่า ให้ทุกพื้นที่เดินได้ด้วยเท้าเข้าถึงทุกจุดหมาย ประโยชน์ของการเดินส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ลดโรคภัยไข้เจ็บ พัฒนาสร้างร่างกายให้เป็นคนแก่แบบที่เราอยากเป็น

รองศาสตราจารย์ ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดังนั้น คำถามต่อมาคือทำอย่างไรให้กลายเป็นเมืองเดินได้ นั่นเพราะเมืองที่ยั่งยืนต้องมีทั้งพื้นที่เดินได้ และต้องเดินดีด้วย เดินสะดวกสบายปลอดภัยบนทางเท้า เดินได้ทุกเวลาแม้ยามฝนตก ต้องมีการเชื่อมโยงทุกพื้นที่ท่องเที่ยว ที่อยู่อาศัยให้เข้าถึงกันได้ทั้งหมด

ในท้ายที่สุด งานเสวนาครั้งนี้ให้เแง่คิดเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสร้างเมืองที่ยั่งยืน แล้วยังกระตุ้นให้ผู้คนในทุกภาคส่วน อาทิ ภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไปต้องร่วมกันสร้างออกแบบช่วยบำรุงรักษาเมืองของตัวเอง เพราะเมืองที่ดีสร้างคนดี และคนที่ดีจะสร้างสังคมที่ดี และยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้เตรียมพบกับการเฉลิมฉลองแลนด์มาร์คใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ ที่วัน แบงค็อก สถานที่ที่คุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนจะกลายเป็นจริง ผ่านการออกแบบที่คำนึงถึงความสุขของทุกคนในทุกมิติ เพื่อให้เมือง ๆ นี้ ไปอยู่กลางใจของทุกคน รอติดตามการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเมืองในครั้งนี้ ได้ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2567


อ่านเพิ่มเติม : One Bangkok Experiential Pavilion โมเดลสร้างคุณภาพชีวิตเพื่อเมืองที่ยั่งยืน ในงาน SX 2024

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.