เทคโนโลยีใหม่ “เต็นท์” ที่ช่วยให้การตั้งแคมป์ใต้น้ำเป็นไปได้

เต็นท์” ใต้น้ำใหม่นี้ช่วยให้นักดำน้ำสามารถงีบหลับ กิน อีกทั้งยังช่วยลดความดันอากาศใต้คลื่น

ตั้งแต่รุ่งอรุณแห่งยุค SCUBA สมัยใหม่ นำโดย Jacques Cousteau ในต้นปี 1940 นักสำรวจมหาสมุทรได้แสวงหาวิธีการใหม่ในการอยู่ใต้ทะเลได้นานขึ้น เพราะเดิมทีถังออกซิเจนสามารถบรรจุก๊าซได้ในปริมาณที่จำกัด อีกทั้งในเรื่องของสรีรวิทยาของมนุษย์ภายใต้แรงดันน้ำในทะเลลึก ทำให้นักประดาน้ำจำเป็นต้องว่ายน้ำขึ้นมาหายใจบนผืนน้ำอยู่เป็นระยะ

นักสำรวจของทาง National Geographic อย่าง Michael Lombardi และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก Winslow Burleson ได้ทำการออกแบบและจดสิทธิบัตร “Ocean Space Habitant” หรือเต็นท์ใต้น้ำไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาไว้สนับสนุนและช่วยให้นักดำน้ำสามารถอยู่ในทะเลได้นานกว่าปกติ

เมื่อความลึกไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป

การใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจใต้น้ำแบบธรรมดา (SCUBA) นั้นมีข้อจำกัดหลายประการ ประการแรกถือเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่จะสูดออกซิเจนเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติเวลาอยู่ใต้ทะเลลึก เพราะฉะนั้นการดำน้ำลึกแทบจะเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้น้อยมาก ประการที่สองอาจเป็นกรณีที่ต้องพบกับปัญหา “โรคน้ำหนีบ” (The Bends) ซึ่งหากถึงตอนนั้นการรักษาอาจจะเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

“โรคน้ำหนีบ ถือเป็นอันตรายอย่างมากในความลึกของน้ำระดับนี้ นั่นหมายความว่าการเข้าถึงหน่วยฉุกเฉินใต้น้ำแทบจะกลายเป็นศูนย์เลย” เจนนิเฟอร์เฮย์ส ช่างภาพใต้น้ำกล่าว ในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกใต้น้ำไม่เอื้ออำนวยเธอและคู่หูของเธอ

ปลอดภัยไว้ก่อน

จุดประสงค์ของ Ocean Space Habitat เพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์การดำน้ำ “Uh Oh”

Lombardi และ Burleson ต้องการที่จะออกแบบห้องหายใจ ที่สามารถป้องกันทั้งความหนาวเย็นและนักล่าในมหาสมุทร  และเพื่อการคลายความดันของร่างกายหรือสมอง อีกทั้งยังนำไว้ใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ภายในเต็นท์ (Ocean Space Habitant) นั้นสามารถบรรจุนักประดาน้ำได้หลายคน โดยสามารถทำกิจกรรมในเต็นท์ได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย การกิน หรือแม้แต่การพักผ่อน

ทั้งนี้การสร้างที่พักใต้น้ำชั่วคราว ที่มีไว้สำหรับอำนวยให้นักประดาน้ำสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานขึ้น ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะยังมีวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาอย่าง “Diving Bell”

Diving Bell หรือระฆังดำน้ำ เป็นเต็นท์ที่เปิดส่วนใต้ออก มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมากและแข็งแรง ได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับใช้งานโดยการหย่อนลงในแนวดิ่งไปยังจุดที่ต้องการ ซึ่งวัตถุนี้สามารถกักเก็บอากาศสำหรับหายใจของนักประดาน้ำได้หลายชั่วโมง หลักการของระฆังดำน้ำนี้ก็เช่นเดียวกับการคว่ำแก้วลงในอ่างน้ำ โดยอากาศจะถูกอัดด้วยน้ำถึงจุดหนึ่ง แต่ยังมีอากาศพอเพียงสำหรับการหายใจ ระฆังดำน้ำผูกแขวนอยู่กับเชือกจากเรือที่อยู่เหนือน้ำ ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้โดยสะดวก นักดำน้ำก็ต้องอยู่เพียงภายในเท่านั้น จะออกมาได้ก็ต่อเมื่อกลั้นหายใจ เพื่อออกมาทำงาน และกลับเข้าไปใหม่

การใช้ Ocean Space Habitat นักดำน้ำสามารถนำ “เต็นท์” แบบพกพาราคาไม่แพงไปในที่ที่คุณต้องการ เพื่อทำให้การดำน้้ำมีความหลากหลายมากขึ้น

ภายใต้ความกดดัน
นับตั้งแต่มีการทดสอบครั้งแรกในช่วงปลายทศวรรษปี 1930 “การดำน้ำลึก” (เมื่อนักดำน้ำยังคงเลือกอยู่ภายใต้ความกดอากาศเป็นเวลานานมากกว่าที่จะปรับตัวให้ชินกับความดันพื้นผิวซ้ำๆ) นั้นแหละทำให้สามารถเข้าถึงโลกของมหาสมุทรเพิ่มมากขึ้น

การสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยใต้น้ำไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่อย่างใด รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือ diving bell ที่มีมานานหลายทศวรรษที่ถูกนำมาดัดแปลงอย่างสร้างสรรค์ (นักดำน้ำในถ้ำรู้จักการพลิกตัวกลางอากาศและปกป้องการบีบอัดจากเพดานถ้ำ เพื่อจุดประสงค์นี้นักมานุษยวิทยา Kenneth Broad จากมหาวิทยาลัยไมอามีกล่าว แม้ว่าจะมีการก่อตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยปราศจากการล้างก๊าซอย่างถูกต้องก็ตาม ดังนั้นโปรดอย่าลองทำเองที่บ้าน)

ทุกวันนี้แหล่งขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งและอุตสาหกรรมการเดินทะเลเชิงพาณิชย์อื่นๆ ให้การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำน้ำรวมทั้งการจมอยู่ใต้น้ำและเรือที่มีแรงดันสูง ในขณะที่ NOAA มีฐานใต้ทะเลที่เรียกว่า Aquarius มันช่วยให้นักวิจัยสามารถทำงานใต้น้ำได้เป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ซึ่งอยู่บริเวณแนวปะการังนอก Key Largo ฟลอริดา โดยไม่ขึ้นมาจนกว่างานจะเสร็จ

คุณสามารถนำมันไปกับคุณได้

นอกจากนี้เต็นท์เหล่านี้ยังสามารถพกพาได้สะดวก โดยสามารถโหลดเป็นกระเป๋าเดินทางเวลาขึ้นเครื่องได้เช่นกัน นักประดาน้ำสามารถถอดชิ้นส่วนออกมา พร้อมติดตั้งได้ทุกที่ตามที่คุณต้องการ

อีกทั้งเต็นท์นี้ยังมีราคาไม่แพง หากใครที่ต้องการดื่มด่ำกับประสบการณ์ดำน้ำอย่างแท้จริง Ocean Space Habitant ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากเต็นท์จะช่วยนำพาพวกเราเข้าไปยังโลกใต้น้ำได้มากกว่าเทคนิคการดำน้ำแบบธรรมดา

“มันอาจเป็นทรัพยากรร่วมที่มีค่าด้วย” เขากล่าวเสริมสำหรับกลุ่มคนที่สนใจในการทัศนศึกษาทางวิทยาศาสตร์ใต้น้ำที่ยาวนานหรือแม้แต่การจัดงานเลี้ยงน้ำชาใต้น้ำและการปิกนิกทานมื้อกลางวัน

Burleson ตั้งข้อสังเกตว่าการดำน้ำใน Habitat “เปรียบเสมือนการปีนเขาระยะสั้นๆ ในป่า ซึ่งเหมือนการไปทัศนศึกษาในวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่ว่าคุณจะเป็นช่างภาพ นักวิจัยปะการังหรืออาสาสมัครนักวิทยาศาสตร์ แต่ Habitat นั้นช่วยให้คุณทำสิ่งที่คุณต้องการได้มากขึ้น”

แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ เขาพูดว่าอุปกรณ์นี้อาจหมายถึงคนปกติที่ไม่ได้ทำงานใต้ทะเล “ลองคิดดูโดยปกติแล้วนักท่องเที่ยวมักมีขีดจำกัดในเรื่องการดำน้ำเพียงหนึ่งชั่วโมงที่พวกเขาสามารถอยู่ภายใต้เวทย์มนต์จากแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบกับผืนน้ำไปจนถึงพลบค่ำ” เขากล่าว “ผู้คนสามารถสัมผัสกับประสบการณ์ของมหาสมุทรในรูปแบบใหม่ได้ทั้งหมด”

ด้วยตราประทับสิทธิบัตรที่ยังใหม่อยู่ Burleson และ Lombardi กำลังมองหาผู้ร่วมการสำรวจครั้งใหม่ “สำหรับนักดำน้ำที่พร้อมจะสำรวจความเป็นไปได้ เราหวังว่าพวกเขาจะได้รับการติดต่อ” เขากล่าว “เราพร้อมที่จะเผยแพร่สิ่งนี้ออกไป”

***แปลและเรียบเรียงโดย ปุณยวีร์ เฉลียววงศ์เจริญ
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย 


อ่านเพิ่มเติม: รีวิวเต็นท์ ที่มาพร้อมดีไซน์และการใช้งาน

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.