ปากทางเข้าสู่ถํ้า บาดาล ซึ่งเคยรู้จักกันในชื่อที่มีความหมายตรงตัวว่า “ถํ้าหนาว” ตั้งอยู่ทางใต้ของสโลวีเนีย ห่างจากเมืองหลวงลูบลิยานา 34 กิโลเมตร ปัจจุบันรู้จักกันในนาม คริชนา (Križna) ตามชื่อโบสถ์ที่อยู่ใกล้กันอันเป็นจุดหมาย ของนักจาริกแสวงบุญ ตั้งอยู่บนยอดเขา สูง 857 เมตร ในลุ่มนํ้าลูบลินิตซา ที่ซึ่งนํ้าระบายผ่าน ภูมิประเทศแบบคาสต์ (karst) ทําให้เกิดเครือข่ายหลุมยุบ เถื่อนถํ้า และทางเดินใต้ดินอันน่าพิศวง
พบหลักฐานว่าผู้คนมาเยือนถํ้าแห่งนี้มานับพันปีแล้ว เศษเครื่องปั้นดินเผาที่พบใกล้ทางเข้าถํ้ามีอายุอยู่ในยุคสําริด รายงานชิ้นแรกเกี่ยวกับถํ้าคริชนาเป็นของจอห์น เจมส์ โทบิน ชาวอังกฤษ หลังมาเยือนถํ้านี้เมื่อปี 1832 ต่อมา ในปี 1838 โยเชฟ เซเรร์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ จึงได้เขียนคําอธิบายถํ้าและสเก็ตช์ภาพถํ้าขึ้นเป็นครั้งแรก
จุดเปลี่ยนของการสํารวจถํ้าแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 1878 หลังเฟร์ดินาน ฟอน ฮอคช์เตเตอร์ นักธรณีวิทยา ผู้พํานักอยู่ในกรุงเวียนนา ขุดพบกระดูก 4,600 ชิ้นซึ่งเป็นของหมีถํ้าราว 100 ตัว ระหว่างที่ฮอคช์เตเตอร์ขุดค้น ครั้งที่สองในปีถัดมา โยเซฟ ซอมบาตี นักโบราณคดี ได้จัดทําแผนที่ถํ้าอย่างละเอียดฉบับแรกขึ้น
ในช่วงกว่า 80 ปีนับจากนั้น ก่อนการค้นพบทะเลสาบใต้ดิน ถํ้าคริชนาเป็นที่รู้จักเพราะกระดูกหมีเป็นหลัก หมีถํ้าสี่ชนิดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหมีสีนํ้าตาลในปัจจุบันมาก ท่องไปเกือบทั่วยุโรปในสมัยไพลสโตซีน กระทั่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 26,000 ปีก่อน หมีหลายชั่วรุ่นอาศัยและจําศีลอยู่ในถํ้าคาสต์แห้งๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายหลายแห่งทั่วที่ราบสูงคาสต์ของสโลวีเนีย ส่วนของถํ้าคริชนาที่รู้จักกันในชื่อทางเดินเมดเวดี (ทางเดินหมี) ซึ่งต่อมามีหินพอกขนาดใหญ่งอกขึ้นมากั้นขวาง เป็นที่อาศัยของ Ursus ingressus หมีชนิดที่อพยพจากเอเชียเมื่อราว 50,000 ปีก่อน
หลังการขุดค้นของฮอคช์เตเตอร์ ถํ้าก็เริ่มดึงดูดผู้มาเยือน แต่น่าเสียดายที่ชื่อเสียงยังนํานักลักลอบขุดค้นมาด้วย หินหยด (dripstone) ถูกหักแล้วนําไปวางขายตามแผงใกล้ถํ้าโปสโตยนาซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังกว่าและอยู่ห่างไปราว 30 กิโลเมตร
แม้ถํ้าคริชนาจะโด่งดัง ทว่าภูมิทัศน์แหล่งนํ้าในถํ้าที่ชวนตื่นตะลึงกลับไม่มีใครค้นพบเป็นเวลานานอย่างน่าทึ่ง ในปี 1926 ครูโรงเรียนมัธยมในลูบลิยานาชื่อ มักส์ เปรเซลย์ และนักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นคนกลุ่มแรกที่สํารวจถํ้าด้วยเรือ ระหว่างการสํารวจที่ใช้เวลาหลายวัน พวกเขาใช้เส้นทางที่ตอนนี้รู้จักกันในชื่อ ทางเดินเยเซร์สกี (ทะเลสาบ) ไปยังคัลวาเรีย (แคลวารี) ที่ซึ่งลําธารใต้ดินสองสายมาบรรจบกัน ระหว่างปี 1927 ถึง 1934 สมาชิกของสมาคมถํ้าลูบลิยานายังสํารวจทางนํ้าอื่นๆอีกด้วย
สถาปนิกใหญ่ผู้รังสรรค์ถํ้าแห่งนี้คือสายนํ้าหยาดนํ้าฟ้าแทรกซึมไปทั่วภูมิทัศน์แบบคาสต์ที่อยู่รอบๆ ไหลรินลงสู่เถื่อนถํ้า และฝนหนักก็ทําให้ธารนํ้าในหลุมยุบที่เรียกว่า หลุมขอบชัน (ponor) เอ่อท้น เมื่อขึ้นชื่อว่านํ้าย่อมหล่อเลี้ยงชีวิต เพราะมีการค้นพบสัตว์นํ้าราว 36 ชนิดในถํ้า ส่วนใหญ่เป็นโทรโกลไบต์ (troglobite) ซึ่งเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบในถํ้าต่างๆ
นํ้าในถํ้ายังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดทะเลสาบใต้ดิน 45 แห่งอันเป็นจุดเด่นของถํ้าคริชนา นํ้าฝนที่มีฤทธิ์เป็นกรดละลายแร่ธาตุในหมู่คาร์บอเนตปริมาณมหาศาล เช่น หินปูนและโดโลไมต์ เมื่อนํ้าปะทะเข้ากับอากาศในถํ้าคาร์บอนไดออกไซด์จึงถูกปลดปล่อยออกมา และทําให้แร่ธาตุที่ละลายตกทับถมจนเกิดเป็นหินพอก แหล่งทับถมหินพอกซึ่งก่อตัวขึ้นในอัตราเฉลี่ยราวหนึ่งในสี่ของหนึ่งมิลลิเมตรต่อปี กลายเป็นปราการกีดขวางทางนํ้าต่างๆ และกลายเป็นทะเลสาบในที่สุดในไม่ช้า ผู้มาเยือนก็เริ่มล่องเรือในทะเลสาบนํ้าใสแจ๋ว
ท่ามกลางหมู่หินพอกและหินย้อยสีทองเปล่งปลั่ง ซึ่งในบางจุดทิ้งตัวลงสู่ผืนนํ้าจนเกิดเป็นภาพลวงตา ต่อมา นักถํ้าวิทยา (speleologist) ได้ล้อมรั้วถํ้าเพื่อปกป้องเนื่องจากหินพอกมีความเปราะบาง ปัจจุบันยังมีการจํากัดจํานวนนักท่องเที่ยวด้วย ผู้มาเยือนส่วนใหญ่ที่มีมากกว่า 10,000 คนต่อปีเที่ยวถํ้าส่วนที่แห้งโดยสวมไฟฉายติดศีรษะ และอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่สามารถเที่ยวในถํ้าด้วยเรือได้
ในคิตต์โลวาเบรซนา (บ่อนํ้าของคิตต์) ซึ่งมีทางเดินไปทางทิศตะวันตก ถูกทางนํ้าใต้ดินแบบกาลักนํ้า (siphon—โพรงใต้ดินลักษณะคล้ายอักษรยูควํ่า) ขวางกั้นไว้ นักสํารวจจึงเดินย้อนขึ้นไปทางต้นนํ้าด้านทิศตะวันออกแทน
ขนาดของถํ้าทางตะวันตกยังคงเป็นปริศนา โดยเฉพาะหลังมีการทดสอบด้วยสี (dye tracing) ซึ่งเผยให้เห็นทางนํ้าที่ไหลจากด้านในถํ้าไปยังนํ้าพุใกล้ๆ กัน นักสํารวจลงมือค้นหาปากทางเข้าจากด้านนอกไปทางทิศตะวันตก แม้ว่าจะไม่เคยพบปากทางที่ว่าสักแห่ง แต่ช่องอากาศกับรอยแตกหลายจุดให้เบาะแสว่าอาจมีถํ้าขนาดมหึมาอยู่เบื้องล่าง
ในทศวรรษ 1970 นักสํารวจถํ้าพยายามขยายรอยแยกตรงขอบหลุมยุบที่ถล่มลงหลุมหนึ่งชื่อ ดีคัลนิกที่เกรอะดีดอล ซึ่งน่าจะเผยให้เห็นถํ้าเบื้องล่างได้ จุดที่ว่าอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากทางเข้าถํ้าคริชนา แต่การขุดสํารวจนั้นซับซ้อนเกินไปจนทีมงานต้องล้มเลิกความตั้งใจในที่สุด
ราว 20 ปีต่อมา นักสํารวจถํ้าท้องถิ่นยังคงขยายรอยแยกนั้นต่อไป ในปี 1991 หลังจากใช้เวลา 200 ชั่วโมงขุดอุโมงค์แคบแห่งหนึ่ง (ยาว 26 เมตร ลึก 15 เมตร) พวกเขาพบเส้นทางที่นําไปยังคูหาทะเลสาบชื่อ ปรีโตชนีซีโฟน หรือกาลักนํ้าปรีโตชนี
เส้นทางสั้นๆ ระหว่างทะเลสาบที่เป็นกาลักนํ้าและบ่อนํ้าของคิตต์บ่งบอกว่า นักสํารวจพบส่วนขยายของถํ้าคริชนาแล้ว ชิ้นส่วนกระดูกหมีที่พบในตะกอนท้องนํ้าในถํ้าแห่งใหม่ยังเป็นเครื่องยืนยันว่า ถํ้าทั้งสองแห่งเชื่อมต่อกันจริง วันเดียวกันนั้นเอง นักสํารวจล่องเรือยางไปตามทางนํ้าเป็นระยะทางกว่ากิโลเมตร ก่อนจะไปถึงสุดถํ้าที่หลุมยุบแห่งหนึ่งซึ่งพวกเขาตั้งชื่อให้ว่า กาลักนํ้าแห่งความหวัง (ซีโฟนอุปาเนีย) และมีนํ้าพุอยู่ห่างไปเพียง 650 เมตร อีกฝั่งหนึ่งของหลุมยุบ
ถํ้าคริชนาใหม่ซึ่งเป็นชื่อส่วนขยายของถํ้าที่ค้นพบกลับกลายเป็นบางสิ่งที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง แต่ชวนค้นหาไม่ต่างจากถํ้าผู้พี่ทางตะวันออกเลย ขณะที่นํ้าไหลเข้ามาสู่ทางเดินที่จมอยู่ใต้นํ้าระหว่างกาลักนํ้าทั้งสองแห่งซึ่งได้แก่บ่อของคิตต์ในถํ้าคริชนาและปรีโตชนีในถํ้าคริชนาใหม่ มันจะผ่านการแปรรูปทางเคมีที่ไร้คําอธิบาย และสร้างบรรยากาศโดดเด่นขึ้นมาในถํ้าแห่งใหม่
ปราการหินพอกใกล้ธารนํ้าเชี่ยวกรากมีสีเหลืองทองมลังเมลือง แต่ในที่อื่นๆ ลําธารทําให้หินพอกที่ทับถมก่อนหน้านี้ละลาย และชั้นนอกของหินกะเทาะออกจนเห็นแร่แมงกานีสสีดําที่เคลือบหินชั้นใน ความต่างระหว่างหินพอกสีทองกับหินสีดํา บวกกับลําธารและทะเลสาบอันน่าอัศจรรย์ ซึ่งโอบล้อมภาพโมเสกงามแปลกตาเหล่านี้ ก่อให้เกิดความงามราวกับเทพนิยาย ทว่าแสนเปราะบางขึ้นมา
หลังค้นพบถํ้าแห่งใหม่ นักอนุรักษ์ทําการสํารวจและเห็นพ้องกันว่า ควรจํากัดการเข้าถึงถํ้านี้เทศบาลเชร์กนีกาปิดถํ้า และการเข้าถํ้าต้องได้รับใบอนุญาตเมื่อการสํารวจถํ้าอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นในปี 1991 ทางการอนุญาตให้นักสํารวจถํ้า 16 คนจากสถาบันวิจัยคาสต์ (Karst Research Institute) เข้าไปสํารวจถํ้าเป็นเวลากว่า 700 ชั่วโมง พวกเขาบันทึกว่า ถํ้ามีความยาว 1,415 เมตร
จากนั้น เกือบหนึ่งร้อยปีหลังมีการแนะนําให้ใช้มาตรการเชิงป้องกันเป็นครั้งแรกในที่สุด รัฐบาลสโลวีเนียก็ออกกฎหมายพิทักษ์ถํ้าปี 2004 ซึ่งจัดประเภทของถํ้าและการเปิดให้สาธารณชนเข้าถึง จากถํ้าจํานวนทั้งหมด 13,659 แห่งในสโลวีเนีย มีเพียงหกแห่งที่ปิดตาย รวมถึงถํ้าคริชนาใหม่ โดยถํ้าทั้งหกแห่งนั้นเปราะบางเสียจนถ้าหากอนุญาตให้คนเข้าถึงได้ อาจทําให้ถํ้าเสียหายหรือถูกทําลายลงได้ และมีเพียงนักวิจัยเท่านั้นที่สามารถไปเยือน
ถํ้าคริชนาและคริชนาใหม่มีเสน่ห์ตราตรึงนักสํารวจจนถึงตอนนี้ ถํ้าทั้งสองเชื่อมต่อกันแน่ แต่จนกว่ามนุษย์จะเดินผ่านระหว่างสองถํ้าได้ จะยังถือว่าเป็นถํ้าแยกจากกันอยู่ต่อไป ลึกลงไปในทะเลสาบกาลักนํ้าที่บ่อของคิตต์ นักดํานํ้ายังคงดํานํ้าลึก 70 เมตรเพื่อหาทางผ่านเข้าสู่หมวดหินขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นการสํารวจของพวกเขา
ขณะเดียวกัน ในกาลักนํ้าปรีโตชนีของถํ้าคริชนาใหม่ ความลึกที่ดิ่งลงไปมากกว่า 124 เมตร ซึ่งเป็นระดับที่นักดํานํ้าเคยลงไปถึง ธรรมชาติยังคงพิทักษ์ความลับของถํ้าสองพี่น้องไว้ และเป็นผู้เดียวที่รู้ว่าอัญมณีเม็ดงามทั้งสองซ่อนเร้นความงามอื่นใดไว้
เรื่อง มาร์โค ซีมิซ
ภาพถ่าย ปีเตอร์ เกเดย์
สามารถติดตามเรื่องราวฉบับสมบูรณ์ได้ที่นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนธันวาคม 2563
สามารถสั่งซื้อได้ที่ https://www.naiin.com/category?magazineHeadCode=NG&product_type_id=2