ภูฏาน ถูกขนานนามว่าเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นประเทศที่ร่มรื่นไปด้วยธรรมชาติที่สุดอีกด้วย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก อดีตกษัตริย์แห่งภูฏานทรงพัฒนาดัชนีความสุขมวลรวมแห่งชาติ ภายใต้หลักการ 4 หลักได้แก่ : การพัฒนาอย่างยั่งยืน, การปกป้องสิ่งแวดล้อม, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และธรรมาธิบาล ในวันนี้ภูฏานทำให้ประเทศอื่นๆ ต้องหันมาสนใจเพราะอาณาจักรแห่งหิมาลายันนี้ไม่เพียงแต่ไม่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แต่ประเทศนี้ยังมีค่าการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นค่าติดลบอีกด้วย
เรื่อง ซู ยอน
สาระสำคัญ : ทั้งหมดทั้วปวงนี้เกิดขึ้นแม้ว่าอัตราการท่องเที่ยวในภูฏานจะเพิ่มขึ้นด้วยก็ตาม ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ชาวต่างชาติจะได้เห็นว่าภูฏานอนุรักษ์ทรัพยากรในประเทศอย่างไร ก็คือการเดินทางไปเห็นเองด้วยตา ผ่านการท่องเที่ยว
ในฐานะของจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวแล้ว ภูฏานมีเอกลักษณ์โดดเด่น ประเทศเล็กๆ คั่นกลางระหว่างประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างจีนและอินเดียนี้ เป็นชนชาติที่แยกตัวอย่างสันโดษและเพิ่งจะปิดประเทศต้อนรับคนต่างชาติเมื่อปี 1974 อนุญาตให้มีโทรทัศน์ในปี 1999
ภูฏานพัฒนาความยั่งยืนจนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ “กษัตริย์ของเราทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อพัฒนาประเทศ สร้างสมดุลในการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนอนุรักษ์วัฒนธรรม ภายใต้กรอบของธรรมาภิบาล” Tshering Tobgay นายกรัฐมนตรีภูฏานกล่าวเอาไว้บนเวที TED Talk เมื่อปี 2016
ในความเป็นจริงรัฐธรรมนูญของภูฏานกำหนดไว้ว่า 60% ของแผ่นดินต้องเป็นผืนป่าที่ได้รับการปกป้อง หนึ่งในวิธีที่ประเทศนี้จะยังคงควบคุมทรัพยากรของพวกเขาไว้ได้และได้รับผลกระทบที่ต่ำจากการท่องเที่ยว
ถ้าคุณไม่ได้มาจากอินเดีย, บังกลาเทศ หรือมัลดีฟส์ คุณจำเป็นต้องมีวีซ่าสำหรับการออกผจญภัยนอกเหนือจากวีซ่า (ราคา 40 ดอลล่าร์สหรัฐ) แล้ว บรรดานักท่องเที่ยวยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมของแพคเกจรายวันซึ่งมีอัตราอยู่ที่ 200 – 250 ดอลล่าร์สหรัฐ และจองทัวร์ท่องเที่ยวผ่านบริษัท ค่าธรรมเนียมแสนแพงดังกล่าวนี้อาจก่อให้เกิดความสับสนและลดจำนวนนักท่องเที่ยว จึงจำเป็นต้องอธิบายให้กระจ่าง ค่าธรรมเนียมครอบคลุมที่พักในระดับสามดาว (หากต้องการความหรูหรากว่านี้ก็ให้จ่ายแบบพรีเมี่ยม) ครอบคลุมอาหารทุกมื้อ และไกด์พาทัวร์ที่มีใบรับรอง รวมถึงอุปกรณ์ตั้งแคมป์และเดินป่า ค่าเดินทางภายในประเทศ (ไม่รวมเครื่องบิน) ไปจนถึงค่าภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ แล้ว
ค่าธรรมเนียมสำหรับการพัฒนาอันยั่งยืนในราคา 65 ดอลล่าร์สหรัฐนี้ถูกรวมอยู่ในแพคเกจแล้ว มันจะถูกนำไปใช้สำหรับใช้จ่ายเพื่อการศึกษา, การดูแลสุขภาพ, การบรรเทาความยากจน และใช้สำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเติบโตของนักท่องเที่ยว
“ค่ารักษาพยาบาลในภูฏานนั้นฟรี การศึกษาก็ฟรีจนถึงระดับมัธยม และสำหรับใครก็ตามที่มีความเชี่ยวชาญพวกเขาจะได้รับการศึกษาฟรีไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย” ผู้แทนสภาการท่องเที่ยวของภูฏานเขียนตอบผ่านอีเมล์
มีหลายเหตุผลที่ว่าทำไมภูฏานถึงกลายมาเป็นประเทศที่มีอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนติดลบ หนึ่งในนั้นคือนโยบายการปกป้องผืนป่า ประเทศนี้ยังเป็นผู้ชนะการประกวดต้นไม้มากที่สุดเมื่อเทียบสัดส่วนเป็นชั่วโมงอีกด้วย รายงานจาก Erin Levi ผู้เขียนหนังสือทำเที่ยวในภูฏาน
“อัตราส่วนของประชากรกับดินแดนนั้นเทียบได้กับขนาดเท่าๆ กับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่มีประชากรเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น ถนนสายแรกของพวกเขาเพิ่งจะเริ่มสร้างขึ้นในปี 1960 นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความกระตือรือร้นน้อยมากที่จะใช้รถยนต์” Levi กล่าว อย่างไรก็ตามนั่นไม่ได้แปลว่าพวกเขาพอใจหยุดอยู่แค่นั้น “ปัจจุบันนับเป็นครั้งแรกที่มีชั่วโมงเร่งด่วนเกิดขึ้นในกรุงทิมพู เมืองหลวงแห่งเดียวในเอเชียที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร”
อ่านเพิ่มเติม : ท่องเที่ยวไปในย่านอันเป็นเอกลักษณ์ของนครเยรูซาเลม, โรงแรมแห่งนี้รักษาผืนป่าไว้