เหยื่อจ๋าระวังให้ดี!! ปลาแลมป์เพรย์ แวมไพร์กระหายเลือดแห่งโลกใต้น้ำ

เหยื่อจ๋าระวังให้ดี!! ปลาแลมป์เพรย์  แวมไพร์กระหายเลือดแห่งโลกใต้น้ำ

คำเตือน!! โปรดระวัง ปลาแลมป์เพรย์ ให้ดี ในขณะที่คุณไปเที่ยวลำธาร หรือแหล่งน้ำต่างๆ ถ้าคุณไม่อยากเป็นเหยื่อผู้โชคร้ายของแวมไพร์กระหายเลือดแห่งโลกใต้น้ำชนิดนี้

ปลาแลมป์เพรย์ลักษณะคล้ายปลาไหล แต่ดูดเลือดเหมือนทาก

ลักษณะทั่วไป

ปลาแลมป์เพรย์ (อังกฤษ: Lamprey fish,ชื่อวิทยาศาสตร์: Petromyzon marinus) มีต้นตระกูลเดิมคือ ออสตราโคเดิร์ม ( Ostracoderm) ซึ่งเป็นปลาโบราณที่สูญพันธ์ไปแล้วในปัจจุบัน พวกจัดอยู่ในกลุ่มปลาไม่มีขากรรไกรอันดับ Petromyzontiformes ในวงศ์ Petromyzontidae มีลักษณะลำตัวยาวคล้ายปลาไหล ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้องซึ่งไม่มีขากรรไกร แต่จะมีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่ในปาก มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจน

(ทำความรู้จักซากปลาโบราณที่สูญพันธ์ไปแล้วซึ่งเป็นต้นตระกูลของปลาแลมป์เพรย์ เเละ ฉลามไวเปอร์ผู้มาพร้อมกับขากรรไกรน่าสยองไม่แพ้กันกับปลาแลมป์เพรย์)

 

การล่าเหยื่อ

มันจัดเป็นสัตว์ปรสิตประเภทหนึ่ง โดยมันจะใช้ปากเกาะเหยื่อและใช้ฟันกับลิ้นครูดเอาเนื้อออก เพื่อให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ระหว่างนั้นร่างกายของมันจะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่ปากแผลเหยื่อ เมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งตายแล้วก็จะปล่อยทิ้งแล้วหาเหยื่อใหม่ต่อไป ซึ่งเหยื่อของมันจะเป็นพวกสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาขนาดใหญ่ชนิดต่าง ๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม

(นอกจากนี้เเล้วก็ยังมี ค้างคาวแวมไพร์ ที่เป็นสัตว์กระหายเลือดรวมถึง สัตว์ร้ายชนิดอื่นๆ ที่ควรระวังตัวให้ดี)

เหยื่อของปลาแลมป์เพรย์ มีร่องรอยกัดด้วยรอยฟันอันแหลมคม และถูกดูดเลือดอย่างโหดเหี้ยม

 

ประเภทของปลาแลมป์เพรย์

แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

  1. ปลาแลมป์เพรย์น้ำจืด (แบบธรรมดา) อาศัยอยู่ตามลำธาร หรือแหล่งน้ำจืดต่างๆ ซึ่งปกติจะกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร
  2. ปลาแลมป์เพรย์ทะเล เกิดและเจริญเติบโตในแหล่งน้ำจืด แต่เมื่อโตเต็มวัยก็จะอพยพคืนถิ่นสู่ทะเล มีอายุยืนยาวกว่าชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งปกติจะดูดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่กว่าเป็นอาหาร เมื่อเข้ามาวางไข่ในน้ำจืดจะไม่กินอาหาร

 

วงจรชีวิต

ปลาแลมป์เพรย์ทะเลมีวงจรชีวิตปกติอาศัยอยู่ในทะเล แต่จะว่ายน้ำเข้าสู่เขตน้ำจืดเป็นระยะทางไกลนับเป็นพัน ๆ กว่ากิโลเมตร เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ในบริเวณตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, ชายฝั่งแปซิฟิกของอเมริกาเหนือ, โนวาสโกเทีย, ตอนใต้ของเกาะกรีนแลนด์, ไอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสแกนดิเนเวีย รวมถึงเกรตเลคส์และแม่น้ำ หรือลำธารน้ำจืดต่าง ๆ แม้กระทั้งลำธารน้ำที่ไหลเชี่ยว บางครั้งที่พบ แม้เขื่อนหรือที่กั้นที่เป็นที่สูง พวกมันก็จะพยายามคืบคลานขึ้นไป โดยในช่วงฤดูผสมพันธุ์ปลาแลมป์เพรย์ทะเลจะไม่กินอาหารทั้งตัวผู้และตัวเมีย

การผสมพันธุ์เป็นการปฏิสนธิภายนอก วางไข่ได้ครั้งละ 35,000-100,000 ฟอง โดยปลาตัวเมียจะขุดหลุมวางไข่ซึ่งมีความกว้างประมาณ 1 เมตร และลึกประมาณ 15 เซนติเมตร หลังวางไข่แล้วทั้งตัวผู้และเมียก็จะตายไป จากนั้นไข่จะฟักเป็นตัว ปลาในวัยอ่อนจะยังไม่มีฟันและตาบอด ซึ่งมีลักษณะภายนอกแตกต่างจากปลาเต็มวัยพอสมควร และต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปีก่อนที่จะเติบโตจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นปลาเต็มวัย ซึ่งในระยะนี้ปลาวัยอ่อนจะเลี้ยงตัวเองในน้ำจืดจนโตเต็มวัยโดยประมาณ 3-7 ปี  ซึ่งตัวเต็มวัยจะคงอยู่ในน้ำจืดอีกประมาณ 1 ปี แล้วก็วางไข่ จากนั้นก็จะตายไป ส่วนชนิดที่เป็นปลาแลมป์เพรย์ทะเลก็จะอพยพคืนถิ่นสู่ทะเล

 

แหล่งที่พบ

พบได้ทั้งลำธารในน้ำจืด และในทะเล พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ทั้งยุโรปตอนบน, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกาตะวันตก, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ชิลี, ออสเตรเลีย และเกาะแทสมาเนีย

(พบปลาที่มีฟันแหลมคมน้ำลึกในออสเตรเลีย)

 

เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับปลาแลมป์เพรย์

มันอยู่ในสัตว์ตระกูลเดียวกับฉลาม ซึ่งสามารถทำร้ายคนได้ แต่ไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิต นอกจากนี้ปลาแลมป์เพรย์ทะเลนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารทั้งสตูหรือพาย และมีอินเดียนแดงบางเผ่าที่นำมาย่างรมควัน รับประทานเป็นอาหารด้วย

 

อ่านเพิ่มเติม

ค้างคาว: นักล่าแห่งรัตติกาล

 

เเหล่งข้อมูล

ปลาแวมไพร์ สูบเลือดปลาอื่นตาย สหรัฐฯ เตรียมกำจัดทิ้งแล้ว

รู้จัก! ปลาแลมป์เพรย์ รูปร่างสุดสยอง ดูดเลือดจนเหยื่อตาย

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.