สัตว์เหล่านี้ก็มี การรักษาระยะห่างทางสังคม

สัตว์บางชนิด เช่น ชิมแปนซีและผึ้ง มีพฤติกรรมการกีดกันที่เข้มมงวด หรือที่เราเรียกว่า การรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันโรคระบาดภายในฝูง

ประชากรทั่วโลกกำลังเผชิญกับการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ จึงเกิดมาตรการ การรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อ โดยมีคำแนะนำให้อาศัยอยู่ในที่พัก และไม่ออกมาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกหากไม่จำเป็น

แต่การรักษาระยะห่างทางสังคมในธรรมชาติไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในธรรมชาติเป็นแหล่งรวมของเชื้อก่อโรคต่างๆ ในความเป็นจริง สัตว์บางชนิดที่อยู่เป็นฝูงจะขับไล่ประชากรในฝูง ถ้าสมาชิกตัวนั้นติดเชื้อโรค

มันเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะว่าการติดเชื้อในสัตว์ไม่สามารถระบุหรือสังเกตได้ง่ายเสมอไป โจเซฟ เคียเซกเกอร์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ (Nature conservancy) อธิบาย

อย่างไรก็ตาม ด้วยสัมผัสพิเศษของสัตว์ พวกมันสามารถรับรู้การติดเชื้อได้อย่างแม่นยำ บางครั้งสามารถระบุได้ก่อนอาการของโรคจะแสดงออกมา และทั้งฝูงก็จะเปลี่ยนพฤติกกรรมเป็นละเลยและเพิกเฉยต่อสมาชิกตัวนั้น

ยกตัวอย่างเช่น ชิมแปนซีและผึ้ง ที่แสดงพฤติกรรมอย่างโหดร้าย เมื่อต้องขับไล่สมาชิกที่เจ็บป่วย

เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในกลุ่มประชากรผึ้ง อย่างโรคอเมริกันฟาวล์บรูด หรือโรคเน่าอเมริกัน เป็นโรคที่สร้างความเสียหายต่อรังผึ้งอย่างมาก ซึ่งเชื้อแบคทีเรียจะเข้าโจมตีตัวอ่อนของผึ้งให้กลายเป็นของเหลวและตายในที่สุด “ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นที่มาของชื่อโรค ตัวอ่อนผึ้งที่ติดเชื้อกลายเป็นของเหลวสีน้ำตาล ข้นเหนียว และส่งกลิ่นเหม็นเน่า” แอลิสัน แม็กคาฟี นักศึกษาหลักสูตรหลังปริญญาเอก คณะกีฏวิทยาและโรคพืช มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต กล่าว

ตัวอ่อนผึ้งที่ติดเชื้อจะปล่อยสารชีวเคมีออกมา เพื่อให้ประชาผึ้งตัวอื่นรับรู้ เป็นสารที่มีกลิ่นคล้ายกรดโอเลอิก และเบตาโอซิมีน ซึ่งเป็นฟีโรโมนในผึ้ง จากการศึกษาของแม็กคาฟีพบว่า ผึ้งจะผลักดันให้ตัวอ่อนที่ติดเชื้อออกจากรัง เธอกล่าว

นับตั้งแต่มีการค้นพบเรื่องนี้ ผู้เลี้ยงผึ้งและนักวิจัยต่างทำการคัดเลือกสายพันธุ์ของผึ้งที่นำมาเลี้ยงในฟาร์ม เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ปลอดโรค และสร้างน้ำผึ้งที่มีคุณภาพ

ผึ้งเป็นสัตว์สังคมที่มีการแบ่งหน้าที่ภายในรัง ตัวอ่อนของผึ้งที่ติดเชื้อแบคทีเรียจะส่งกลิ่นเหม็น กระตุ้นให้ผึ้งตัวอื่นๆ ขับไล่ตัวอ่อนนั้นออกจากรัง

จริงๆ แล้วไม่ต่างกัน

ในปี 1966 ในขณะทำการศึกษาพฤติกรรมชิมแปนซีในอุทยานแห่งชาติกอมเบสตรีม ประเทศแทนซาเนีย เจน กูดดอลล์ สังเกตเห็นพฤติกรรมชิมแปนซีชื่อ แม็กเกรเกอร์ ที่ติดเชื้อโปลิโอ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส

สมาชิกตัวอื่นๆ ในฝูงเริ่มทำร้ายและขับไล่มันออกจากฝูง เหตุการณ์ตัวอย่างคือ เมื่อฝูงชิมแปนซีนั่งรวมกลุ่มเพื่อหาปรสิตบนตัวของกันและกันอยู่ใต้ต้นไม้ แม็กเกรเกอร์พยายามเข้าไปทักทายสมาชิกในฝูง แต่กลับได้รับการตอบรับอย่างเฉยเมย ด้วยการไม่ทักทายและเดินจากไปโดยไม่หันหลังกลับมามอง

“เป็นเวลากว่าสองนาทีที่แม็กเกรเกอร์นั่งอยู่ตรงนั้น และจ้องมองตามหลังสมาชิกทั้งฝูง” กูดดอลล์บันทึกไว้ในหนังสือเรื่อง In the Shadow of Man ปี 1971

“มันแทบไม่ต่างกันเลยที่ทุกวันนี้ สังคมบางกลุ่มปฏิบัติต่อกันเช่นเดียวกับชิมแปนซี” เธอกล่าวกับหนังสือพิมพ์ Sun Sentinel ในปี 1985

กูดดอลล์บันทึกพฤติกรรมต่างๆ ของประชากรชิมแปนซีที่ติดเชื้อต่อเนื่อง และพบว่าในบางกรณี ชิมแปนซีที่ติดเชื้อโรคค่อยๆ ได้รับการต้อนรับกลับเข้าสู่ฝูง

เช่นเดียวกับในมนุษย์ ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่มีความนึกคิด งานวิจัยบางชิ้นรายงายว่า ชิมแปนซีที่ติดเชื้อโปลิโออาจสร้างความหวาดกลัวขึ้นในฝูง และกลายเป็นที่รังเกียจ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการหลีกเลี่ยงและสัมผัสกับเชื้อก่อโรค

ไม่ใช่การติดเชื้อแบบสุ่ม

ไม่ใช่สัตว์ทุกชนิดจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อสมาชิกที่เจ็บป่วย บางครั้ง การหลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับสมาชิกที่จะแพร่เชื้อก็พบได้เช่นกัน

ก่อนหน้าที่เคียเซกเกอร์จะศึกษาตัวอ่อนของกบอเมริกันบูลล์ฟอร์กช่วงปลายทษวรรต 1990 เขาได้รับข้อมูลว่า แบบจำลองแสดงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสัตว์ป่าเป็นการติดเชื้อแบบสุ่ม

เขาจึงตั้งสมมติฐานว่า ประชากรทุกตัวในฝูงมีโอกาสติดเชื้่อเป็นรายต่อไป

“แต่เป็นเรื่องที่ชัดเจนแล้วว่า สัตว์มีความฉลาดกว่าที่เราคิด” เคียเซกเกอร์ กล่าว

ในการทดลองของเขา เคียเซกเกอร์นำตัวอ่อนของกบอเมริกันบูลล์ฟอร์กที่ติดเชื้อจากยีสต์ไปเลี้ยงรวมกับสมาชิกตัวอื่นๆ ที่สุขภาพแข็งแรง ผลปรากฏว่า ตัวอ่อนที่สุขภาพดีพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับต้วอ่อนที่ติดเชื้ออย่างเห็นได้ชัด

กุ้งมังกรแคริบเบียน เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมกีดกันสมาชิกที่ติดเชื้อโรค ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มประชากร

กุ้งมังกรที่ติดเชื้ออาจตายได้ภายในแปดสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ Panulirus argus mininuceovirus เป็นเรื่องปกติของสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นสังคม กุ้งมังกรสามารถรับรู้การติดเชื้อได้ประมาณสี่สัปดาห์หลังจากที่มีสมาชิกติดเชื้อ ซึ่งรับรู้ได้โดยสารเคมีที่หลั่งออกมาจากกุ้งมังกรที่มีเชื้อ

เลือกคู่ครองที่ดีที่สุด

เมื่อการจับคู่ผสมพันธุ์คือเรื่องสำคัญ สัตว์หลายๆ ชนิดมักเลือกคู่ที่มีสุขภาพดีที่สุด

หนูบ้านตัวเมีย เป็นตัวอย่างหนึ่งเรื่องการเลือกคู่ ในช่วงการเลือกคู่ หากหนูตัวเมียได้กลิ่นปัสสาวะของตัวผู้ที่ติดปรสิต มันจะหนีไปหาตัวผู้ตัวอื่นที่มีสุขภาพแข็งแรงกว่าทันที การสำรวจนี้มาจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนตาริโอ

เช่นเดียวกับปลาหางนกยูงตัวผู้ ปลาตัวเมียมักเลือกตัวผู้ที่ไม่มีปรสิต โดยปลาตัวผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงออกทางกายภาพที่มองเห็นได้ เช่น ครีบขาดวิ่น เหงือกช้ำ และมีสารเคมีบางอย่างถูกปล่อยออกมาจากผิวหนังของปลาตัวผู้ ซึ่งทำให้ปลาตัวผู้ที่ไม่แข็งแรงถูกปฏิเสธ

โดยสรุป มันต่างกันตรงที่ว่าสัตว์ป่าไม่เหมือนกับมนุษย์อย่างเรา “ถ้าพวกมันมีบ้านให้อยู่อาศัยเหมือนเรา อัตราการแพร่ระบาดของโรคในกลุ่มประชากรคงลดลง” เคียเซกเกอร์อธิบาย “แต่มนุษย์ เรามีความสามารถในการสร้างที่พักอาศัย นั่นย่อมสร้างความแตกต่างได้มากกว่า”


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ: เจน กูดดอลล์ กับภารกิจส่งต่อความหวังสู่คนรุ่นใหม่

การค้นพบครั้งแรกๆ ที่ดึงดูดความสนใจของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เกิดขึ้นตอนไม่มีกล้องบันทึกภาพอยู่ด้วย เจน กูดดอลล์ ไม่ชอบถูกถ่ายภาพ แต่เปิดใจยอมรับในเวลาต่อมา เพราะเห็นว่าเป็นวิธีหนึ่งที่งานของเธอจะได้รับการสนับสนุน
© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.