สิ่งมีชีวิตตัวจ้อยเหล่านี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตอยู่ใต้ดิน ภายในอาณาจักรของพวกมันที่มีสมาชิกมากถึง 280 ตัว การอาศัยอยู่ในโพรงนั่นหมายความว่าพวกมันต้องเผชิญกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากกว่าบนพื้นผิวโลก จาก 7% เป็น 10%
ทีมนักวิจัยได้ทำการทดลองและค้นพบว่าร่างกายของตุ่นหนูไร้ขนวิวัฒนาการปรับตัวให้สามารถใช้น้ำตาลฟรุกโตสในการให้พลังงานแก่หัวใจ และสมองเพื่อให้กลไกในร่างกายยังคงทำงานต่อไปได้ แม้ในพื้นที่ที่พวกมันอาศัยอยู่นั้นจะไม่มีออกซิเจนก็ตาม
กระบวนการนี้เป็นเรื่องน่าสนใจ ซึ่งทางทีมนักวิจัยคาดหวังว่าการศึกษาตุ่นหนูไร้ขนจะนำไปสู่กุญแจของการรักษาโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองในมนุษย์
อ่านเพิ่มเติม : เคยเห็นกันหรือไม่? ผีเสื้อกินน้ำตาเต่า, วงแตกกระจาย! เมื่อช้างพุ่งเข้าใส่เพราะอยากเล่นด้วย